EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 5
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส าหรับวิศวกร โดยใช้กระบวนการไอพีโอ(การประชุมวิชาการThe 11th PSU Education Conference“Academic Honesty in Disruptive Education: a Challenge to Global Citizens", 2566-06-15) ปรากฤต เหลี่ยงประดิษฐ์; ภรชัย จูอนุวัฒนกุล; กฤษฎา ไทยวัฒน์; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์; วนายุทธ์ แสนเงินบทความนี้ได้นำเสนอการพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรโดยใช้กระบวนการไอพีโอ และจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ ที่เน้นการออกแบบกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งผู้สอนและผู้เรียน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยกระบวนการจะถูกนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ผลที่ได้พบว่าการใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ ได้ผลการประเมินจากผู้เรียนสูงสุด และได้ผลดีกว่าการใช้กระบวนการไอพีโออย่างเดียว หรือไม่มีการใช้กระบวนการไอพีโอ ซึ่งสอดคล้องกับผลค่าเกรดเฉลี่ยของนักศึกษา นอกจากนี้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น สนใจถามตอบเพิ่มขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ ผู้เรียนจะรู้ว่าต้องปรับหรือเรียนรู้เพิ่มเติมจากคำแนะนำของผู้สอน ผู้เรียนก็จะทราบว่าจะต้องปรับหรือเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนใด และผู้เรียนยังให้ข้อเสนอแนะที่ยืนยันได้ว่าการจัดการเรียนการสอนที่ใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนได้รายการ การพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร โดยใช้กระบวนการ ไอพีโอ(มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2566-06-15) ภรชัย จูอนุวัฒนกุล; ปรากฤต เหลี่ยงประดิษฐ์; กฤษฎา ไทยวัฒน์; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์; วนายุทธ์ แสนเงินบทความนี้ได้นำเสนอการพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรโดยใช้ กระบวนการไอพีโอ และจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ ที่เน้นการ ออกแบบกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งผู้สอนและผู้เรียน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดย กระบวนการจะถูกนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ผลที่ได้พบว่าการใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวน ไอพีโอ ได้ผลการประเมินจากผู้เรียนสูงสุด และได้ผลดีกว่าการใช้กระบวนการไอพีโออย่างเดียว หรือไม่มีการใช้ กระบวนการไอพีโอ ซึ่งสอดคล้องกับผลค่าเกรดเฉลี่ยของนักศึกษา นอกจากนี้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มากขึ้น สนใจถามตอบเพิ่มขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ ผู้เรียนจะรู้ว่าต้องปรับ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมจากคำแนะนำของผู้สอน ผู้เรียนก็จะทราบว่าจะต้องปรับหรือเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนใด และผู้เรียนยังให้ข้อเสนอแนะที่ยืนยันได้ว่าการจัดการเรียนการสอนที่ใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนได้รายการ การพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร โดยใช้กระบวนการไอพีโอ(2566-06-15) ภรชัย จูอนุวัฒนกุล; ปรากฤต เหลี่ยงประดิษฐ์; กฤษฎา ไทยวัฒน์; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์; วนายุทธ์ แสนเงินบทความนี้ได้นำเสนอการพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรโดยใช้กระบวนการไอพีโอ และจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ ที่เน้นการออกแบบกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งผู้สอนและผู้เรียน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยกระบวนการจะถูกนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ผลที่ได้พบว่าการใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ ได้ผลการประเมินจากผู้เรียนสูงสุด และได้ผลดีกว่าการใช้กระบวนการไอพีโออย่างเดียว หรือไม่มีการใช้กระบวนการไอพีโอ ซึ่งสอดคล้องกับผลค่าเกรดเฉลี่ยของนักศึกษา นอกจากนี้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น สนใจถามตอบเพิ่มขึ้น และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ ผู้เรียนจะรู้ว่าต้องปรับหรือเรียนรู้เพิ่มเติมจากคำแนะนำของผู้สอน ผู้เรียนก็จะทราบว่าจะต้องปรับหรือเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนใด และผู้เรียนยังให้ข้อเสนอแนะที่ยืนยันได้ว่าการจัดการเรียนการสอนที่ใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมกระบวนไอพีโอ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนได้รายการ การศึกษาการป้องกันความเสียหายของตัวประจุกรองของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบสวิตชิ่งด้วยรีแอคเตอร์(2562-12) กฤษฎา ไทยวัฒน์; นิมิต บุญภิรมย์; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์บทความนี้เป็นการนำเสนอการศึกษาการป้องกันความเสียหายของตัวประจุกรองของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบสวิตชิ่ง วัตถุประสงค์ของบทความเป็นการวิเคราะห์สาเหตุของความเสียหายของตัวประจุที่ใช้กรองแรงดันในภาควงจรเรียงกระแสของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบสวิตชิ่งในขณะที่ใช้งาน โดยการวัดค่าแรงดัน กระแสที่บัสไฟฟ้ากระแสตรง และวัดแรงดัน และกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ พบว่าเกิดกระแสกระโชกสูงที่ไหลเข้าตัวประจุขณะที่ทำการเชื่อมและหยุดเชื่อม และเกิดผลให้เกิดแรงดันตกที่บัสไฟฟ้ากระแสตรง และแรงดันที่จ่ายเข้า การแก้ปัญหาได้ติดตั้งรีแอคเตอร์ที่สายไฟฟ้ากระแสสลับจ่ายเข้าด้วยอัตราเปอร์เซ็นต์อิมพิแดนซ์เท่า 3 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลองสามารถลดค่ากระแสกระโชกของตัวประจุได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดกระแสฮาร์มอนิกของกระแสไฟฟ้ากระแสสลับที่สายจ่ายเข้าด้วยรายการ การออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ด้วยโปรแกรมพีวีซีสโดยพิจารณาดัชนีการติดตั้ง(EECON45, 2565-11-18) ภรชัย จูอนุวัฒนกุล; สำเริง ฮินท่าไม้; กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์บทความนี้ได้นำเสนอการออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา โดยใช้โปรแกรมพีวีซีสเพื่อประเมินหาจุดคุ้มทุนในกรณีที่ติดตั้งแผงในทิศและมุมเอียงที่ให้พลังงานสูงสุด โดยการจำลองโหลดของบ้านพักอาศัยแบ่งเป็น 4 กรณีคือ กรณีที่มีความต้องการใช้พลังงานในช่วงกลางวันน้อย มีค่าโหลดรวม 30.0 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานตลอดเวลาและต่อเนื่องตลอดทั้งวัน มีค่าโหลดรวม 45.9 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานส่วนใหญ่อยู่ช่วงเย็น มีค่าโหลดรวม 51.2 หน่วยต่อวัน และกรณีที่มีการใช้พลังงานของกรณีที่ 2 และ 3 รวมกัน มีค่าโหลดรวม 97.2 หน่วยต่อวัน จากการออกแบบและวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่าระยะเวลาการคืนทุนมีความสัมพันธ์กับค่ากำลังการผลิตติดตั้ง ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายรวมในการติดตั้งระบบ และอัตราการขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า ในกรณีที่ไม่สามารถขายไฟคืน ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจะให้ระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 9.4 6.1 6.0 และ 5.3 ปี ส่วนกรณีที่สามารถขายไฟคืนค่ากำลังผลิตติดตั้งที่เพิ่มขึ้นจะมีระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 7.1 5.9 5.8 และ 5.1 ปี ดังนั้นระบบที่มีกำลังผลิตติดตั้งสูง การผลิตไฟฟ้าก็จะมากตาม เนื่องจากต้นทุนของระบบจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบเป็นต้นทุนต่อวัตต์ ส่วนการใช้ดัชนีการติดตั้งมาช่วยประเมินหาขนาดกำลังผลิตติดตั้ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการขายระบบหรือผู้สนใจติดตั้งระบบสามารถใช้ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวันในบิลค่าไฟมาคำนวณหาขนาดกำลังผลิตติดตั้งได้เบื้องต้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนติดตั้งระบบเพื่อลดค่าภาระค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี