EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 216
  • รายการ
    การประยุกต์ระบบนิวโร-ฟัซซีแบบปรับตัวได้เพื่อพัฒนาแบบจําลองความดันตกในระบบท่อประปาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองสีเขียว
    (สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย, 2567-05) ไพจิตร ผาวัน; วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์
    การคำนวณค่าความดันตกเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ออกแบบระบบท่อประปา แม้ว่าจะมีสมการและกราฟสำหรับใช้ในการคำนวณ เช่น สมการความดันตกของ Hazen-Williams แต่วิธีเหล่านี้ก็เป็นการคำนวณทางทฤษฎีที่อาจยังไม่เหมาะสมกับสภาพใช้งานจริง งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้ระบบนิวโร-ฟัซซี่แบบปรับตัวได้ ในการพัฒนาแบบจำลองความดันตก โดยใช้ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของน้ำในเส้นท่อ ขนาดท่อ อัตราการไหล และความดันตกจำนวน 36 ตัวอย่าง จากนั้นนำ 32 ตัวอย่างไปฝึกสร้างแบบจำลอง และใช้ 4 ตัวอย่างที่เหลือทดสอบ ผลการทดสอบพบว่า แบบจำลองความดันตกที่สร้างขึ้นมีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) เพียง 0.138% แสดงถึงความแม่นยำสูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบท่อประปาในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • รายการ
    การประยุกต์ระบบนิวโร-ฟัซซีแบบปรับตัวได้เพื่อพัฒนาแบบจําลองความดันตกในระบบท่อประปาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองสีเขียว
    (สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย, 2567-05) ไพจิตร ผาวัน; วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์
    การคำนวณค่าความดันตกเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ออกแบบระบบท่อประปา แม้ว่าจะมีสมการและกราฟสำหรับใช้ในการคำนวณ เช่น สมการความดันตกของ Hazen-Williams แต่วิธีเหล่านี้ก็เป็นการคำนวณทางทฤษฎีที่อาจยังไม่เหมาะสมกับสภาพใช้งานจริง งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้ระบบนิวโร-ฟัซซี่แบบปรับตัวได้ ในการพัฒนาแบบจำลองความดันตก โดยใช้ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของน้ำในเส้นท่อ ขนาดท่อ อัตราการไหล และความดันตกจำนวน 36 ตัวอย่าง จากนั้นนำ 32 ตัวอย่างไปฝึกสร้างแบบจำลอง และใช้ 4 ตัวอย่างที่เหลือทดสอบ ผลการทดสอบพบว่า แบบจำลองความดันตกที่สร้างขึ้นมีค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) เพียง 0.138% แสดงถึงความแม่นยำสูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบท่อประปาในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • รายการ
    การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดเส้นด้ายไนลอนฟิลาเม้นท์
    (2567-05-01) บัณฑิตา เลิศแก้ว และ สุพัฒตรา ศรีญาณลักษณ์*
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness; OEE) ในกระบวนการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดไนลอนฟิลาเม้นท์ ขั้นตอนวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษากระบวนการผลิต (2) เก็บข้อมูลของการสูญเสียที่ส่งผลต่อค่า OEE (3) จัดลำดับความสำคัญของปัญหา (4) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และ (5) ปรับปรุงกระบวนการ งานวิจัยนี้เลือกผลิตภัณฑ์ A ที่ผลิตที่เครื่องจักร A20 เพื่อวิเคราะห์ค่า OEE จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ค่า OEE ต่ำเกิดจากประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Efficiency; PE) จากปัญหาการขาดของเส้นด้าย (Yarn Break) และอัตราคุณภาพ (Quality Rate; QR) จากการเรียงตัวของเส้นด้ายที่ผิดปกติทำให้เกิดการเสียรูป การปรับปรุงทำโดยจัดทำระเบียบปฏิบัติงาน จัดทำแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance; PM) ในการตรวจสอบชิ้นส่วนทางผ่าน และการเข้าตรวจชิ้นส่วนที่มีผลต่อการเกิดการเสียรูป ผลลัพธ์หลังปรับปรุง พบว่าค่า OEE ในการปรับปรุงรอบแรกเพิ่มขึ้นจาก 66.36% เป็น 75.23% และเพิ่มขึ้นเป็น 79.71% ในการปรับปรุงรอบที่ 2 ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ A ที่เป็นระดับเกรด A เพิ่มขึ้น เกิดรายรับจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 68,011 บาทต่อปี
  • รายการ
    การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับรายวิชาแนะนำระบบรางในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
    (สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 2567-03-21) ชวลิต มณีศรี; วรพจน์ พันธุ์คง
    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางเป็นจุดเน้นหนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับการพัฒนาคนจากเดิมที่มีเฉพาะระดับอาชีวศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี บทความนี้นำเสนองานวิจัยการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับรายวิชาแนะนำระบบรางในหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยจับคู่องค์ประกอบหลักของการเรียนรู้เชิงรุกกับหัวข้อการเรียนรู้เพื่อกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม ซึ่งช่วยให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเองได้ โดยเปรียบเทียบการเรียนระหว่างนักศึกษา 2 รุ่น ซึ่งผลการประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงรุกทำให้นักศึกษามีผลการเรียนเฉลี่ยของห้องเรียนสูงขึ้นและมีระดับความพึงพอใจในกิจกรรมที่กำหนดขึ้นในระดับ 4.64
  • รายการ
    การประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 2566-09-08) ชิษณุ อัมพรายน์และ สุรพันธ์ สันติยานนท์
    การวิจัยนี้มีจุดมุŠงหมายหลักในการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยสร้างแบบสอบถามจาก Google form และกระจายแบบสอบถามผ่านช่องทางกลุ่ม Line Official Account (Line OA) เพื่อให้นักศึกษาให้ความเห็นได้อย่างอิสระ ผลการประเมินพบว่าจำนวนนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามมี104 คน จากประชากรนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 1,922 คน คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.22 เท่านั้น กิจกรรมเสริมทักษะทางวิชาชีพวิศวกรรม (Hard skill) เป็นประเภทกิจกรรมที่นักศึกษาต้องการมากที่สุด กิจกรรมด้านการเรียนการสอน เป็นประเภทกจิกรรมที่นักศึกษาเห็นว่าจัดในรูปแบบออนไลน์ได้มากที่สุด นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าควรจัดกิจกรรมประชุมเชียร์มากถึงร้อยละ 71 และ นักศึกษาต้องการการสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดคือเรื่องงบประมาณ เรื่องสถานที่และ เรื่องเวลาในการจัดกิจกรรม
  • รายการ
    ผลการสอนแบบออนไลน์ปฏิบัติการดิจิตอลและระบบสมองกลฝังตัวสำหรับอุตสาหกรรม
    (งานประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) ครั้งที่ 19 ประจำปี 2567, 2567-03-22) เติมพงษ์ ศรีเทศ; พศวีร์ ศรีโหมด
    บทความนี้นำเสนอผลการประเมินและพัฒนาประสิทธิภาพการสอนในวิชาปฏิบัติการดิจิตอลและระบบสมองกลฝังตัวสำหรับอุตสาหกรรม โดยใช้การสนับสนุนกระบวนการการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับการเรียนรู้แบบทางไกลภายใต้ความจำเป็นจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยกระบวนการที่พัฒนาขึ้นนี้จะสร้างประสบการณ์การเรียนที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพในยุคดิจิตอลที่สามารถพัฒนาการศึกษาออนไลน์ในอนาคตได้ ในการประเมินผลการเรียนรู้ของวิธีการที่นำเสนอนี้จะใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาจำนวน 33 คน ที่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการ โดยผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบการใช้โปรแกรมจำลองการทำงานตามขอบเขตการทดลอง และแก้ปัญหาโดยใช้โครงงาน มีการประเมินผลลัพธ์ผ่านการนำเสนอ ตอบข้อซักถาม รวมถึงการตอบแบบสอบถามเมื่อจบภาคการเรียน โดยใช้วิธีการประเมินแบบสอบถามหลังเสร็จสิ้นกระบวนการการเรียนการสอน ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าผลลัพธ์การเรียนรู้จากกระบวนการที่ใช้นี้ทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ของรายวิชาได้อย่างมีนัยยะสำคัญ มีผลการประเมินในรายด้านต่อรายวิชาอยู่ในระดับที่สูง("x" ̅ = 4.77) และผลการประเมินในรายด้านต่อผู้สอนอยู่ในระดับที่สูง("x" ̅ = 4.77)
  • รายการ
    การศึกษาประสิทธิภาพการสอนของรายวิชา วิชาปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกแบบออนไลน์
    (งานประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) ครั้งที่ 19 ประจำปี 2567, 2567-03-22) เติมพงษ์ ศรีเทศ; เอกชัย ดีศิริ
    บทความนี้นำเสนอผลลัพธ์การสอนแบบออนไลน์ สำหรับวิชาปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ ในสภาวะการณ์ไม่ปกติ กลุ่มข้อมูลได้แก่ นักศึกษาจำนวน 54 คน การได้มาของกลุ่มข้อมูลคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการอิเฃ็กทรอนิกส์ โดยผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบการแก้ปัญหาผ่านโครงงาน ผ่านการใช้โปรแกรมจำลองการทำงานตามขอบเขตการทดลอง โดยมีการประเมินผลลัพธ์ผ่านการนำเสนอ ตอบข้อซักถามเป็นลำดับรายบุคคล รวมถึงการตอบแบบสอบถามเมื่อจบภาคการเรียน ผลการศึกษาในการสอนแบบออนไลน์ พบว่าการได้นำเครื่องมือช่วยสอนต่างๆ มาช่วยสอนทำให้ประสิทธิภาพการสอนในด้านต่างๆ ของผู้เรียนยังคงได้รับความรู้และทักษะด้านต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ผู้เข้าเรียน 7-15 ครั้ง รวม 98.76 เปอร์เซ็นต์ ความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย Mean=4.81, ค่า S.D.=0.34 ผลลัพธ์ด้านความรู้ มีการทำแบบทดสอบ 100 เปอร์เซ็นต์ งานที่หมอบหมายให้ทำ Mean=4.81, ค่า S.D.=0.34 ผู้เรียนส่วนมากสามารถทำงานที่มอบหมายให้ ได้ตามวัตถุประสงค์ในเวลาที่กำหนด ผลลัพธ์ด้านทักษะทางปัญญา ผู้เรียนมีขบวนการทางความคิด ในการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้ผ่านการนำเสนอ ผลด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การทำงานเป็นกลุ่มตามงานที่ได้รับหมอบหมาย รวมทั้งทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านโปรแกรมจำลองการทำงาน โปรแกรมการประชุมออนไลน์ การติดต่อสื่อสารผ่านไลน์ โดยผ่านการประเมินด้วยการสังเกตจากผู้สอน และผลลัพธ์ด้านทักษะในการปฏิบัติทางวิชาชีพ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม ประเมินจากหลายด้านประกอบกัน คะแนนจากการทดสอบ การถาม-ตอบระหว่างเรียน งานที่หมอบหมายให้ทำ การสรุปผลของแต่ละครั้งที่ทดลอง แบบทดสอบความรู้ โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
  • รายการ
    กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงผนังก่อแบบช่องเปิดหน้าต่างสมมาตร
    (สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2567-01-25) ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
    ความเสียหายของโครงสร้างอาคารที่มีผนังก่ออิฐในเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะเป็นผลกระทบเนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงข้อแข็งและผนังก่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงผนังก่อที่มีช่องเปิด รูปแบบความเสียหายค่อนข้างซับซ้อน และทำนายพฤติกรรมได้ยาก บทความนี้ เป็นการนำเสนอแบบจำลองการวิเคราะห์โครงผนังก่อที่มีช่องเปิด เพื่อการทำนายกำลังต้านทานแรงกระทำด้านข้างของโครงผนังก่อด้วยวิธีแบบจำลองค้ำยันเทียบเท่า โดยมีการทดสอบโครงผนังก่อต้นแบบเพื่อการเปรียบเทียบผลกับแบบจำลองที่นำเสนอ ได้จัดทำตัวอย่างทดสอบจำนวน 2 ชุด คือ โครงข้อแข็งและโครงผนังก่อที่มีช่องเปิดหน้าต่างแบบสมมาตรขนาดเต็มมาตราส่วน โดยการทดสอบแรงกระทำด้านข้างแบบไป-กลับจนกระทั่งวิบัติ ผลการคำนวณกำลังต้านทานของโครงผนังก่อด้วยแบบจำลองเท่ากับ 108.13 kN เปรียบเทียบกับผลการทดสอบเท่ากับ 107.25 kN ค่ากำลังต้านทานที่ได้จากการคำนวณมีค่าใกล้เคียงกับค่าผลการทดสอบ ซึ่งแตกต่างกันเพียง 0.82% แบบจำลองที่นำเสนอจึงใช้ทำนายกำลังต้านทานของโครงผนังก่อได้อย่างดี
  • รายการ
    การเสริมกำลังต้านทานแผ่นดินไหวโครงข้อแข็งด้วยเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก
    (สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2567-01-25) ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
    งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองเพื่อประเมินกำลังต้านทานของโครงข้อแข็งเสริมกำลังเสาและคานด้วยเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก โดยมีการทดสอบโครงข้อแข็งเพื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองที่นำเสนอ ตัวอย่างโครงข้อแข็งมีขนาดกว้างและสูง 3.75x3.00 เมตร ขนาดเสา 0.25x0.25 เมตร และขนาดคาน 0.20x0.40 เมตร ตะแกรงเหล็กฉีกขนาด XS-63 และเหล็กฉากขนาด 25×25×3 มม. ได้ทำการทดสอบโครงตัวอย่างด้วยแรงกระทำด้านข้างจนกระทั่งวิบัติ ผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองที่นำเสนอ โครงข้อแข็งเดิมและโครงเสริมกำลังมีค่ากำลังต้านทาน 65.27 kN และ 101.77 kN ตามลำดับ ผลการทดสอบพบว่า โครงข้อแข็งเดิมและโครงเสริมกำลังมีค่ากำลังต้านทาน 70.25 kN และ 100.00 kN ตามลำดับ ผลการทดสอบแตกต่างจากการวิเคราะห์สำหรับโครงข้อแข็งเดิม 7.09% และโครงเสริมกำลัง1.77% แสดงให้เห็นว่า แบบจำลองที่เสนอมานี้ สามารถใช้ในการออกแบบและประเมินกำลังต้านทานของโครงข้อแข็งที่เสริมกำลังได้
  • รายการ
    การเสริมกำลังต้านทานแรงเฉือนของผนังก่อคอนกรีตมวลเบาด้วยตะแกรงเหล็กฉีก
    (สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2567-01-25) ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
    ผนังก่ออิฐในโครงอาคารภายใต้แรงกระทำแผ่นดินไหว มักจะเกิดการแตกร้าวในลักษณะแรงเฉือนได้ง่าย ดังนั้นการเสริมกำลังเฉือนของผนังก่ออิฐจะทำให้เพิ่มกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารได้ บทความนี้นำเสนอกำลังต้านทานแรงเฉือนของผนังก่อคอนกรีตมวลเบาที่เสริมกำลังด้วยตะแกรงเหล็กฉีก เพื่อปรับปรุงกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหว โดยใช้ตะแกรงเหล็กฉีกที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะแตกต่างกัน 4 ขนาด และตะแกรงลวดตาข่ายสี่เหลี่ยม 1 ขนาด และใช้วิธีการยึดตะแกรงเหล็กกับแผ่นผนังเปรียบเทียบระหว่างวิธีที่ 1 การยึดด้วยสกรูและวิธีที่ 2 การยึดด้วยสลักขันเกลียว โดยได้เตรียมผนังก่อตัวอย่างควบคุม 1 ตัวอย่าง และผนังก่อเสริมกำลัง 10 ตัวอย่าง และทดสอบกำลังเฉือนตามมาตรฐานการทดสอบกำลังดึงแนวทแยง (แรงเฉือน)ของผนังก่อ ผลการทดสอบพบว่ากำลังเฉือนของผนังก่อเสริมกำลังมีกำลังเพิ่มขึ้น 1.13-2.14 เท่าสำหรับการยึดด้วยสกรู และ 1.17-2.17 เท่าสำหรับการยึดด้วยสลักขันเกลียว ตะแกรงเหล็กฉีกที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะสูงทำให้กำลังเฉือนของผนังก่อสูงเพิ่มขึ้นด้วย และวิธีการยึดด้วยสลักขันเกลียวช่วยทำให้มีการพัฒนาค่ากำลังเฉือนของผนังก่อให้สูงเพิ่มขึ้นกว่าวิธีการใช้สกรู โดยเฉพาะตะแกรงเหล็กฉีกที่มีขนาดขาและช่องเปิดขนาดใหญ่
  • รายการ
    การพัฒนาชุดปฏิบัติการทำงานรีเลย์กระแสเกินประวิงเวลา
    (2566-11-15) ผศ.พศวีร์ ศรีโหมด; ผศ.เอกชัย ดีศิริ
    บทความนี้นำเสนอการพัฒนาชุดปฏิบัติการทำงานรีเลย์กระแสเกิน ประวิงเวลาตามมาตรฐานIEC60255 เพื่อเป็นชุดทดลองและเรียนรู้ คุณลักษณะการทำงานของรีเลย์กระแสเกิน ผู้เรียนสามารถปรับตั้งและ ทดสอบรีเลย์กระแสเกิน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ถึงคุณลักษณะการทำงาน ของรีเลย์กระแสเกินตามมาตรฐานIEC และทดลองปรับตั้งค่าการทำงาน ของรีเลย์กระแสเกินให้ทำงานประสานกันกับรีเลย์ตัวอื่นๆ ในระบบได้ จากการประเมินผลกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนสามารถทำคะแนน แบบทดสอบได้ถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 76.54 ของคะแนนรวมทั้งหมด และ ด้านความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดปฏิบัติการฯ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.15 สามารถแปลผลได้ว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมา
  • รายการ
    การศึกษาประสิทธิภาพการสอนแบบออนไลน์ วิชาการออกแบบระบบโดยใช้พีแอลซี ภาคปฏิบัติการ
    (วิศวศึกษา ครั้งที่ 19, 2566-09-06) ผศ.เอกชัย ดีศิริ; ผศ.กฤษฎา ไทยวัฒน์
    บทความนี้นำเสนอผลประสิทธิภาพการสอนแบบออนไลน์ สำหรับวิชาการออกแบบระบบโดยใช้พีแอลซี ภาคปฏิบัติการ เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มข้อมูลได้แก่ นักศึกษาจำนวน 56 คน การได้มาของกลุ่มข้อมูลคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการ และทำแบบประเมิน ภาคการศึกษาที่ 2/2563 ข้อมูลที่ศึกษาคือผลการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ผลการศึกษาการประเมินประสิทธิภาพการสอนแบบออนไลน์ ส่วนภาคปฏิบัติการ พบว่าการได้นำเครื่องมือช่วยสอนต่างๆ มาช่วยสอนทำให้ประสิทธิภาพการสอนในด้านต่างๆ ของผู้เรียนยังคงได้รับความรู้และทักษะด้านต่างๆได้
  • รายการ
    ระบบจัดการแบตเตอรี่สําหรับเครื่องมือสื่อสารทางทหาร
    (2566-11-15) ผศ.เอกชัย ดีศิริ; ผศ.พศวัร์ ศรีโหมด
    บทความนี้นำเสนอการจัดการแบตเตอรี่ในขณะจ่ายโหลด สำหรับเครื่องมือสื่อสารทางทหารโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และการรับส่งข้อมูลไร้สาย การออกแบบเครื่องมือวัดและบันทึกค่า ประกอบด้วยไมโครคอนโทลเลอร์ที่ รับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายไร้สาย เซ็นเซอร์วัดแรงดันไฟฟ้า วัดกระแสไฟฟ้า เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ และโมดูลบันทึกค่าในไมโครเอสดีการ์ด ผลการทดสอบเครื่องมือวัดและบันทึกค่า โดยแบตเตอรี่จะเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ให้กับเครื่องมือสื่อสาร โดยขณะใช้งาน เปอร์เซ็นต์ของการลดลงของแรงดันแบตเตอรี่จะต้องไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ และจะมีการแจ้งเตือนเมื่อแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 20 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ของช่วงแรงดันที่ลดลงจาก 13 ถึง 9 โวลต์ ผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์
  • รายการ
    ระบบจัดการแบตเตอรี่ สําหรับเครื่องมือสื่อสารทางทหาร
    (The 46th Electrical Engineering Conference(EECON 46), 2566-11-15) เอกชัย ดีศิริ; พศวีร์ ศรีโหมด
    บทความนี้นําเสนอการจัดการแบตเตอรี่ในขณะจ่ายโหลด สําหรับเครื่องมือสื่อสารทางทหารโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และการรับส่ง ข้อมูลไร้สาย การออกแบบเครื่องมือวัดและบันทึกค่า ประกอบด้วย ไมโครคอนโทลเลอร์ที่ รับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายไร้สาย เซ็นเซอร์วัด แรงดันไฟฟ้า วัดกระแสไฟฟ้า เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ และโมดูลบันทึกค่า ในไมโครเอสดีการ์ด ผลการทดสอบเครื่องมือวัดและบันทึกค่า โดย แบตเตอรี่จะเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้า จากแบตเตอรี่ให้กับเครื่องมือสื่อสาร โดยขณะใช้งาน เปอร์เซ็นต์ของการลดลงของแรงดันแบตเตอรี่จะต้องไม่ ตํ่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ และจะมีการแจ้งเตือนเมื่อแบตเตอรี่ตํ่า กว่า 50, 20 และ 10 เปอร์เซ็นต์ ของช่วงแรงดันที่ลดลงจาก 13 ถึง 9 โวลต์ ผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์
  • รายการ
    การพัฒนาชุดปฏิบัติการทำงานรีเลย์กระแสเกินประวิงเวลา
    (The 46th Electrical Engineering Conference(EECON 46), 2565-11-15) พศวีร์ ศรีโหมด; เอกชัย ดีศิริ
    บทความนี้นำเสนอการพัฒนาชุดปฏิบัติการทำงานรีเลย์กระแสเกินประวิงเวลาตามมาตรฐานIEC60255 เพื่อเป็นชุดทดลองและเรียนรู้คุณลักษณะการทำงานของรีเลย์กระแสเกิน ผู้เรียนสามารถปรับตั้งและทดสอบรีเลย์กระแสเกิน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ถึงคุณลักษณะการทำงานของรีเลย์กระแสเกินตามมาตรฐานIEC และทดลองปรับตั้งค่าการทำงานของรีเลย์กระแสเกินให้ทำงานประสานกันกับรีเลย์ตัวอื่นๆ ในระบบได้ จากการประเมินผลกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนสามารถทำคะแนนแบบทดสอบได้ถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 76.54 ของคะแนนรวมทั้งหมด และด้านความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดปฏิบัติการฯ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.15 สามารถแปลผลได้ว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก
  • รายการ
    การพัฒนารูปแบบคำสั่งเสียงสำหรับควบคุมการเคลื่อนที่ของรถเข็นอัตโนมัติ
    (2566-11-17) วนายุทธ์ แสนเงิน, พลกฤษ แก้วสวี และ อาทิตย์ แสนโคก
    บทความนี้นำเสนอระบบรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติใช้ในการควบคุมและสั่งการ การทำงานของมอเตอร์ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นส่วนของการเคลื่อนที่รถเข็นคนพิการอัตโนมัติ โดยมีการทดสอบการแปลงชุดคำสั่งเสียง ซึ่งมีคำว่า เดินหน้า, ถอยหลัง, เลี้ยวซ้าย, เลี้ยวขวา, หยุด และฉุกเฉินเป็นข้อความ จากกลุ่มผู้ทดสอบ 40 คน ที่เป็นกลุ่มคนอายุน้อยและกลุ่มผู้สูงวัยทั้งเพศชายและหญิง บันทึกเสียงกลุ่มตัวอย่างคนอายุน้อยในช่วงอายุ 15 – 25 ปี และผู้สูงวัยในช่วงอายุ 45 – 60 ปี ทั้งเพศชายและหญิงจำนวนกลุ่มตัวอย่างละ 10 คน รวม 40 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยของร้อยละความแม่นยำในอายุ 15 – 25 ปี เพศชาย 95%, เพศหญิง 94% และค่าเฉลี่ยของร้อยละความแม่นยำในอายุ 45 – 60 ปี เพศชาย 93%, เพศหญิง 90% เพื่อแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ นำไปควบคุมการทำงานของมอเตอร์ 4 ตัว ซึ่งเป็นส่วนของระบบขับเคลื่อนรถเข็นคนพิการสำหรับการสั่งการเคลื่อนที่ด้วยคำสั่งเสียง
  • รายการ
    การพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสำหรับการเพาะปลูกต้นอ่อนพืชด้วยแผ่นเพลเทียร์
    (2566-11-17) วนายุทธ์ แสนเงิน, กฤติยา เริงเกตกิจ และพิชา สมวงศ์
    บทความนี้นำเสนอการพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ด้วยแผ่นเพลเทียร์ สำหรับการเพาะปลูกต้นอ่อนข้าวสาลี และต้นอ่อนทานตะวัน ในสภาพแวดล้อมแบบปิด ด้วยสมองกลฝั่งตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ จากการทดลองเพาะปลูก 5 วัน โดยกำหนดค่าความชื้นสัมพัทธ์ 80±2 %RH และค่าอุณหภูมิ 28±2 องศาเซลเซียล จากผลการทดลองเพาะปลูก ต้นอ่อนข้าวสาลี มีค่าอุณหภูมิเฉลี่ย 29.23 ± 0.06 °C ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79.28 ±0.79 % RH ค่าความคลาดเคลื่อนของความชื้นสัมพัทธ์ 0.90 % และต้นอ่อนทานตะวัน มีค่าอุณหภูมิเฉลี่ย 29.24 ±0.06 °C ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79.15 ±0.75 % RH ค่าความคลาดเคลื่อนของความชื้นสัมพัทธ์ เท่ากับ 1.06 % ของช่วงเวลาการเจริญเติบโตของพืช
  • รายการ
    การออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ด้วยโปรแกรมพีวีซีสโดยพิจารณาดัชนีการติดตั้ง
    (การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 45 EECON-45, 2565-11-18) ภรชัย จูอนุวัฒนกุล , สำเริง ฮินท่าไม้ , กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์
    บทความนี้ได้นำเสนอการออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา โดยใช้โปรแกรมพีวีซีสเพื่อประเมินหาจุดคุ้มทุนในกรณีที่ติดตั้งแผงในทิศและมุมเอียงที่ให้พลังงานสูงสุด โดยการจำลองโหลดของบ้านพักอาศัยแบ่งเป็น 4 กรณีคือ กรณีที่มีความต้องการใช้พลังงานในช่วงกลางวันน้อย มีค่าโหลดรวม 30.0 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานตลอดเวลาและต่อเนื่องตลอดทั้งวัน มีค่าโหลดรวม 45.9 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานส่วนใหญ่อยู่ช่วงเย็น มีค่าโหลดรวม 51.2 หน่วยต่อวัน และกรณีที่มีการใช้พลังงานของกรณีที่ 2 และ 3 รวมกัน มีค่าโหลดรวม 97.2 หน่วยต่อวัน จากการออกแบบและวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่าระยะเวลาการคืนทุนมีความสัมพันธ์กับค่ากำลังการผลิตติดตั้ง ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายรวมในการติดตั้งระบบ และอัตราการขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า ในกรณีที่ไม่สามารถขายไฟคืน ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจะให้ระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 9.4 6.1 6.0 และ 5.3 ปี ส่วนกรณีที่สามารถขายไฟคืนค่ากำลังผลิตติดตั้งที่เพิ่มขึ้นจะมีระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 7.1 5.9 5.8 และ 5.1 ปี ดังนั้นระบบที่มีกำลังผลิตติดตั้งสูง การผลิตไฟฟ้าก็จะมากตาม เนื่องจากต้นทุนของระบบจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบเป็นต้นทุนต่อวัตต์ ส่วนการใช้ดัชนีการติดตั้งมาช่วยประเมินหาขนาดกำลังผลิตติดตั้ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการขายระบบหรือผู้สนใจติดตั้งระบบสามารถใช้ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวันในบิลค่าไฟมาคำนวณหาขนาดกำลังผลิตติดตั้งได้เบื้องต้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนติดตั้งระบบเพื่อลดค่าภาระค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
  • รายการ
    การออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา ด้วยโปรแกรมพีวีซีสโดยพิจารณาดัชนีการติดตั้ง
    (การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 45 EECON-45, 2565-11-18) ภรชัย จูอนุวัฒนกุล , สำเริง ฮินท่าไม้ , กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์
    บทความนี้ได้นำเสนอการออกแบบและวิเคราะห์ความคุ้มทุนของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา โดยใช้โปรแกรมพีวีซีสเพื่อประเมินหาจุดคุ้มทุนในกรณีที่ติดตั้งแผงในทิศและมุมเอียงที่ให้พลังงานสูงสุด โดยการจำลองโหลดของบ้านพักอาศัยแบ่งเป็น 4 กรณีคือ กรณีที่มีความต้องการใช้พลังงานในช่วงกลางวันน้อย มีค่าโหลดรวม 30.0 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานตลอดเวลาและต่อเนื่องตลอดทั้งวัน มีค่าโหลดรวม 45.9 หน่วยต่อวัน กรณีที่มีการใช้พลังงานส่วนใหญ่อยู่ช่วงเย็น มีค่าโหลดรวม 51.2 หน่วยต่อวัน และกรณีที่มีการใช้พลังงานของกรณีที่ 2 และ 3 รวมกัน มีค่าโหลดรวม 97.2 หน่วยต่อวัน จากการออกแบบและวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่าระยะเวลาการคืนทุนมีความสัมพันธ์กับค่ากำลังการผลิตติดตั้ง ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายรวมในการติดตั้งระบบ และอัตราการขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า ในกรณีที่ไม่สามารถขายไฟคืน ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจะให้ระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 9.4 6.1 6.0 และ 5.3 ปี ส่วนกรณีที่สามารถขายไฟคืนค่ากำลังผลิตติดตั้งที่เพิ่มขึ้นจะมีระยะเวลาในการคืนทุนลดลงจาก 7.1 5.9 5.8 และ 5.1 ปี ดังนั้นระบบที่มีกำลังผลิตติดตั้งสูง การผลิตไฟฟ้าก็จะมากตาม เนื่องจากต้นทุนของระบบจะมีราคาถูกลงเมื่อเทียบเป็นต้นทุนต่อวัตต์ ส่วนการใช้ดัชนีการติดตั้งมาช่วยประเมินหาขนาดกำลังผลิตติดตั้ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการขายระบบหรือผู้สนใจติดตั้งระบบสามารถใช้ค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวันในบิลค่าไฟมาคำนวณหาขนาดกำลังผลิตติดตั้งได้เบื้องต้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนติดตั้งระบบเพื่อลดค่าภาระค่าไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
  • รายการ
    การประเมินระยะโก่งตัวของคานคอนกรีตช่วงเดียวเสริมแท่งพอลิเมอร์เสริมเส้นใยแก้ว
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566-06-13) ชัชวาลย์ พูนลาภพานิช; ณัฐวัฒน์ จุฑารัตน์
    งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบค่าประเมินระยะโก่งตัวของคานคอนกรีตเสริมแท่ง GFRP ช่วงเดียวซึ่งคำนวณด้วยค่าโมเมนต์อินเนอร์เชียประสิทธิผลต่างกัน 6 สมการ กับผลตรวจวัดพฤติกรรมโก่งตัวของคานทดสอบขนาดเท่าจริงที่ทดสอบด้วยน้ำหนักบรรทุกแบบ third point loading จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลวิจัยพบว่าสมการ Bischoff and Gross (2011) ประเมินค่าการโก่งตัวได้แม่นตรงที่สุด มีค่าความเคลื่อนเฉลี่ย (avg. error) เท่ากับ 3.7% ส่วนสมการ ACI 440.1R-06 และ Yost et al. (2003) ให้แนวโน้มค่าผลคำนวณระยะโก่งตัวที่มากกว่าผลวัดเล็กน้อยเหมาะสำหรับใช้เป็นค่าประเมินกรณีเผื่อความปลอดภัย (conservative)