SITI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SITI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ชัยวิชิต เชียรชนะ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 4, 2564-07) สมจิตต์ ศรีสมพันธุ์; เกรียงไกร สัจจะหฤทัย; ชัยวิชิต เชียรชนะการวิจัยแบบผสมผสานนี้เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิดการเสริมพลังอำนาจและวงจรการบริหารงานคุณภาพ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย จากผู้เกี่ยวข้องจำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์องค์ป ระกอบ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 975 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริ แมกซ์ จากนั้นนำผลวิจัยมายกร่างเป็นรูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไท ยโดยผู้เชี่ยวชาญ 13 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศ พบว่า สถานศึกษามีนโยบายที่ชัดเจนที่จะมีกิจกรรมในการที่จะพัฒนาให้นักเรียน ให้มีประสบการณ์ทั้งในด้านสาขาวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะการเป็นผู้นำ และมีความเป็นประชาธิปไตย โดยผ่านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับระบบการเรียน แต่ยังขาดการเตรียมงานและวางแผนการดำเนินงาน และการกำกับติดตามที่เป็นรูปธรรม ครูยังขาดความเข้าใจวิธีในการดำเนินงาน รวมถึงโครงสร้างรูปแบบของการบริหารจัดการที่ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน 2) รูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า มี 5 องค์ประกอบ และ 63 ตัวแปร มีค่านำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.533 ถึง 0.745. ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วม 2) การสร้างแรงจูงใจ 3) การสนับสนุนทางสังคม 4) การทำงานเป็นทีม 5) เสริมสร้างภาวะผู้นำ และได้รูปแบบ “PMSTL Model” 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในทางเทคนิคการดำเนินงานและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้เรียนที่จะส่งผลให้องค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศ สามารถพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะวิชาชีพ อีกทั้งยังก่อให้เกิด คนเก่ง ดีและมีความสุข