SITI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 17 ของ 17
  • รายการ
    การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
    (วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 4, 2564-07) สมจิตต์ ศรีสมพันธุ์; เกรียงไกร สัจจะหฤทัย; ชัยวิชิต เชียรชนะ
    การวิจัยแบบผสมผสานนี้เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิดการเสริมพลังอำนาจและวงจรการบริหารงานคุณภาพ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย จากผู้เกี่ยวข้องจำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์องค์ป ระกอบ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 975 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริ แมกซ์ จากนั้นนำผลวิจัยมายกร่างเป็นรูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไท ยโดยผู้เชี่ยวชาญ 13 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศ พบว่า สถานศึกษามีนโยบายที่ชัดเจนที่จะมีกิจกรรมในการที่จะพัฒนาให้นักเรียน ให้มีประสบการณ์ทั้งในด้านสาขาวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะการเป็นผู้นำ และมีความเป็นประชาธิปไตย โดยผ่านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับระบบการเรียน แต่ยังขาดการเตรียมงานและวางแผนการดำเนินงาน และการกำกับติดตามที่เป็นรูปธรรม ครูยังขาดความเข้าใจวิธีในการดำเนินงาน รวมถึงโครงสร้างรูปแบบของการบริหารจัดการที่ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน 2) รูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า มี 5 องค์ประกอบ และ 63 ตัวแปร มีค่านำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.533 ถึง 0.745. ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วม 2) การสร้างแรงจูงใจ 3) การสนับสนุนทางสังคม 4) การทำงานเป็นทีม 5) เสริมสร้างภาวะผู้นำ และได้รูปแบบ “PMSTL Model” 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในทางเทคนิคการดำเนินงานและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้เรียนที่จะส่งผลให้องค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศ สามารถพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะวิชาชีพ อีกทั้งยังก่อให้เกิด คนเก่ง ดีและมีความสุข
  • รายการ
    กลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
    (วารสารพุทธมัคค์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2, 2564-07) ณิชชา สิทธิมาลิก; เกรียงไกร สัจจะหฤทัย; ชารี มณีศรี
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการพัฒนาจิต สาธารณะ 2) สร้างกลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะ และ 3) ประเมินผลกลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะ ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในเขตพื้นที่พัฒนา พิเศษภาคตะวันออก จำนวน 331 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 111 คน หัวหน้ากลุ่ม งานวิชาการ จำนวน 110 คน หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 110 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่ง ชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ SWOT Analysis และการทำ SWOT Matrix ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสร้างเสริมจิตสาธารณะของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในพื้นที่เขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก และกลยุทธ์รอง มี 4 กลยุทธ์ ภายใต้กล ยุทธ์หลักแต่ละกลยุทธ์หลัก ดังนี้ 1) กลยุทธ์หลัก บริหารเข้มแข็ง เพื่อจิตสาธารณะนักเรียนเพิ่มพูน กลยุทธ์รอง คือ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะและ คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) กล ยุทธ์หลัก สร้างเครือข่ายจิตสาธารณะ กลยุทธ์รองคือ ขยายโอกาสการเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักเรียน และ สร้างเครือข่ายชุมชนแห่งการมีจิตสาธารณะ
  • รายการ
    การพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
    (วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 2565-08) ธนกรณ์ ชัยธวัช; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรีตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2) เพื่อออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ 3) เพื่อเปรียบเทียบจรณทักษะ (Soft Skills) ใน ก าร ท ำง า นสำ หรับ นัก ศึก ษา ร ะ ดับ ปริญ ญา ต รี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ใช้บัณฑิตในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 5 คน และตัวแทนนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 จำนวน 156 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงสาหรับการทดสอบสมติฐาน ใช้ค่า Paired – Samplet-test ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานของนักศึกษาโดยจัดลำดับความสำคัญ 3 ลำดับแรก ดังนี้ ความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน ทักษะการสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ 2) การออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นักศึกษาทั้ง 5 คณะ จัดรูปแบบของหลักสูตรแบ่งเป็น 2ส่วน คือ การบรรยาย เชิงปฏิบัติการ และการจัดกิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ แผนการจัดกิจกรรมกำหนด 7 ขั้นตอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) 3) การ เปรียบเทียบจรณทักษะ (Soft Skills) ในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตก่อน และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะ การประเมินการวัด Soft Skills (ก่อนการพัฒนา-หลังการพัฒนา) ในภาพรวม จำแนกเป็นรายด้าน โดยรวมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.63 และโดยรวมหลังการพัฒนา อยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.76 ผลการเปรียบเทียบSoft Skillsในการทำงานหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • รายการ
    ภาวะผู้นาทางด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิโรฒ ที่มีผลต่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล
    (วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2565-08) ณัฐสุดา เกษา; กิตติ์ธเนศ เกษา; เบญจพร บรรพสาร; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหาร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครู จานวน 214 คน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิโรฒ จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับค่า IOC ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับร้อยละ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหาร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยภาวะผู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านสามารถทานายผลการบริหารศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สหวิทยาเขตเบญจวิโรฒ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 32.7
  • รายการ
    การจัดการเผยแพร่ภูมิปัญญาของผู้สูงวัย ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์
    (Interdisciplinary Sripatum Chonburi Journal, 2565-08) สิรินธร สินจินดาวงศ์; รณิดา นุชนิยม; กรกฎ ผกาแก้ว
    This research is a compilation of wisdom of the aging in Pathum Thani province through social media platforms to transfer knowledge and wisdom for the youth and those interested and be easily accessed to learn and further develop the knowledge. The purposes of this research were to 1) study the wisdom of the aging in Pathum Thani province from the exchange of knowledge, and 2) publish the wisdom of the aging in Pathum Thani province through social media platforms. The 8 key informants were aging people with potential in Pathum Thani province selected by Snowball Sampling technique and lessons learned from the interview content was then published through social media platforms. Research tool applied in this study was an experience interview and a method to pass on the wisdom of the aging on 4 issues. The data was analyzed by using content analysis and analyzing percentage statistics from social media platforms. The results of the research were as follows: 1) the study of the wisdom of the aging in Pathum Thani province from the exchange of knowledge. 1.1) experience in knowledge transfer as a lecturer at the Ministry of Labour in the short term career in the aging club and those who were interested, 1.2) seeking new technological knowledge, online courses and hands-on trials, 1.3) old wisdom linked to new knowledge by joining the club, continuing to earn extra income and registration for OTOP products, to gather together for the community to take care of themselves, 1.4) guidelines for the delivery of knowledge and wisdom to the youth, there are learning centers provided all over the country to create networks and cooperation with local agencies through educational institutions with the aging as speakers. In addition, the wisdom of the aging has been collected. The articles were narrated about the aging wisdom for topics such as Thai food and desserts, Thai medicine, arts and culture, handicrafts, and agriculture, and including some 7 articles. 2) The results of disseminating wisdom of the aging in Pathum Thani province through social media platforms: 1) Web Blog with 2,797 views 2) Facebook Fan Page with 185 followers and 3) YouTube clip with 183 views
  • รายการ
    การศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสา สำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา
    (วารสารการวัดผลการศึกษา, 2565-06) ชัยฤทธิ์ อิ่มเจริญ; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา 2) ทดลองใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา 3) เพื่อประเมินผลการศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจิตอาสาสำหรับสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลา กลุ่มประชากรเป็นสมาชิกผู้สูงอายุในธนาคารเวลาพื้นที่กรุงเทพฯ และนนทบุรีจำนวน 6 พื้นที่ รวม 300 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 169 คน สุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามพัฒนาแผนการจัดกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) แผนการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 3) แบบสอบถามความพอใจในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนา ภาพรวมเห็นด้วยมาก ลักษณะกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มี 4 ขั้นตอน ๆ ละ 2 ชุดกิจกรรม 2) ผลการทดลองใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพรวมภูมิใจ/พอใจตนเอง พูดถึงตนในแง่ดี และ มีส่วนร่วม มากที่สุด 3) ผลการศึกษาความพอใจในชีวิตจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพรวมความพอใจในชีวิตอยู่ในระดับมาก โดยหัวข้อที่พอใจสูงสุด และต่ำสุดคือ ฉันน่าจะรู้สึกพอใจ ถ้าชีวิตของฉันดำเนินต่อไปอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และ มีหลายเรื่องในชีวิตที่ฉันอยากแก้ไข ตามลำดับ
  • รายการ
    การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุชุมชนหมู่บ้านเลิศอุบล เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
    (วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2564-12) อัมพร พริกนุช; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความต้องการของโปรแกรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ 2) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อโปรแกรมการออกกำลังกาย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามประวัติสุขภาพทั่วไป แผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย โปรแกรมการออกกำลังกาย และแบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุชุมชนหมู่บ้านเลิศอุบล กรุงเทพมหานคร เพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการโปรแกรมการออกกำลังกายที่เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้านระบบหายใจ ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ 2) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมและตรงตามความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง คือ โปรแกรมการออกกำลังกายแอโรบิคยางยืด สำหรับผู้สูงอายุ และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างมีความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวลดลง มีสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวของเอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ ด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขา ด้านการทรงตัว และด้านความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด เพิ่มขึ้นหลังการออกกำลังกายด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายแอโรบิคยางยืด สำหรับผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) หลังจากการออกกำลังกาย พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมการออกกำลังกายแอโรบิคยางยืด สำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
  • รายการ
    การพัฒนาผลงานการออกแบบด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย
    (Journal of Modern Learning Development, 2564-12) ชลัคร์กมล ภวภัชชกุล; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการจัดการเรียนรู้ของนักออกแบบ ด้วย หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย 2) จัดทำหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยสำหรับนักออกแบบ และ 3) ประเมินผลงานการออกโลโก้ของนักออกแบบตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบด้วยศาสตร์ของฮวงจุ้ย จำนวน 4 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักออกแบบอิสระ จำนวน 45 คน การวิจัยครั้งนี้มีแบบแผนการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้มือวิจัย คือ 1) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย 3) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม และ 4) แบบประเมินการออกแบบโลโก้สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการการจัดการเรียนรู้ของนักออกแบบด้วยหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ ของฮวงจุ้ย ปัจจัยด้านการพัฒนาหลักสูตร ปัจจัยด้านหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ย และปัจจัยด้าน ผลงานการออกแบบของนักออกแบบเป็นไปตามความต้องการของนักออกแบบ ทั้ง 3 ด้าน 2) ผลการตรวจสอบหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยสำหรับนักออกแบบ ประกอบด้วย การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร การเลือกประสบการณ์การฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก (x̅ = 4.41, S.D.= 0.47) 3) นักออกแบบที่เข้าร่วมหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยมีผลประเมินความรู้ความเข้าใจ แสดง ให้เห็นว่าผู้เข้ารับการอบรมการออกแบบด้วยศาสตร์ของฮวงจุ้ยมีพัฒนาการและทักษะเพิ่มขึ้น และ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก (x̅= 4.46, S.D.= 0.49) และ 4) นักออกแบบ จำนวน 45 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินมีจำนวน 41 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 74.55 จากเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
  • รายการ
    School Administrators and the Disruptive Innovations
    (ASEAN Journal of Education, 2564-12) Thitaporn Tharnpanya; Sirinthorn Sinjindawong; Waraporn Thaima
    This paper presents the challenges and understanding of educational management during disruption faced by school administrators. Disruptions occur consistently and how the school faces the challenges of disruptions depends on the school administrators. The school administrators need to manage the challenges in different ways in the 21st century, the time of hyper-change. Therefore, school administrators should prepare the technology into the disruptive leadership. The involvement of digital transformation and the future of education are the components that lead the school administrator to overcome the disruption and achieve recovery. Therefore, the school administrators should be more aware about the effects of the disruption that could create changes in the school’s management and the need to balance the whole wellness of the school community.
  • รายการ
    การพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก.
    (2565-01) นรเชษฐ์ กระดังงา และผุสดี กลิ่นเกษร
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนออนไลน์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบน าตนเอง และ 3) เพื่อ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการใช้รูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบน าตนเอง เรื่อง การออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการน าเสนอ ตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ของแต่ละภาควิชา จ านวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จ านวน 266 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามรูปแบบการสอนออนไลน์ ของผู้บริหาร และคณาจารย์ 2) แบบสอบถามความสามารถในการน าตนเองของนักศึกษา 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการน าเสนอ 4) แบบประเมินผลการเรียนรู้ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตามแนวคิดการพัฒนา ADDIE Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยส่วนมากใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์คือ Google Meet, Line Application, Google Classroom, Google Forms รวมถึงการสืบค้นข้อมูลในการศึกษาหาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมจาก Google และในภาพรวมของความสามารถ ในการเรียนรู้แบบน าตนเองของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก 2. ผลประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จากการใช้รูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้ แบบน าตนเอง มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ และสูงกว่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว
  • รายการ
    การพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
    (2565-01) นรเชษฐ์ กระดังงา และผุสดี กลิ่นเกษร
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการสอนออนไลน์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนาตนเอง และ 3) เพื่อ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการใช้รูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบนาตนเอง เรื่อง การออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการนาเสนอ ตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ของแต่ละภาควิชา จานวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จานวน 266 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามรูปแบบการสอนออนไลน์ ของผู้บริหาร และคณาจารย์ 2) แบบสอบถามความสามารถในการนาตนเองของนักศึกษา 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการนาเสนอ 4) แบบประเมินผลการเรียนรู้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตามแนวคิดการพัฒนา ADDIE Model ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยส่วนมากใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์ คือ Google Meet, Line Application, Google Classroom, Google Forms รวมถึงการสืบค้นข้อมูลในการศึกษาหาแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมจาก Google และในภาพรวมของความสามารถ ในการเรียนรู้แบบนาตนเองของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก 2. ผลประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จากการใช้รูปแบบการสอนออนไลน์ด้วยการเรียนรู้ แบบนาตนเอง มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ และสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้
  • รายการ
    ตัวแบบการพัฒนาคุณลักษณะด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    (วารสารศิลปการจัดการ, 2564-09) ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, สุบิน ยุระรัช และ เกรียงไกร สัจจะหฤทัย
    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับ 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบของ คุณลักษณะด้านดิจิทัลฯ 2) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะด้านดิจิทัลฯ และ 3) เสนอแนวทาง การพัฒนาคุณลักษณะด้านดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยที่การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิง ปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา จำนวน 338 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ส่วนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 11 คน ใช้วิธีการ เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยวิธีการทางสถิติทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิงรวมทั้งการวิเคราะห์สมการเชิง โครงสร้าง ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การรู้เท่าทันดิจิทัล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.70 ทักษะด้านดิจิทัล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.67 ทัศนคติด้าน ดิจิทัล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.68 และภาวะผู้นำด้านดิจิทัลมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.82 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะด้านดิจิทัล มี 3 ปัจจัย ได้แก่ บริบททางสังคม วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 3) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะด้านดิจิทัลสามารถดำเนินการได้ 4 วิธีการ ได้แก่ การฝึกอบรม การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจากกรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการใช้เครื่องมือทางการบริหารจัดการ
  • รายการ
    ตัวแบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข
    (วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 2563-09) สุวิทย์ ฝ่ายสงค์; สิรินธร สินจินดาวงศ์; พระมหาสหัส ฐิตสาโร (ดำคุ้ม)
    บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของบุคลากรใน การทำงาน การบริหารเชิงพุทธ และองค์กรแห่งความสุข และ3) เพื่อพัฒนาตัวแบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข ออกแบบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 310 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) ใช้วิธีการส่งและรับกลับมาด้วยตัวเอง 2) การใช้แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลแบบมีตัวแปรส่งผ่านและการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมด้วยสถิติ SEM ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุข แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) ความสุขของบุคลากรในการทำงาน มีจำนวน 5 ตัวแปร 1.2) การบริหารเชิงพุทธ มีจำนวน 4 ตัวแปร 1.3) องค์กรแห่งความสุข มีจำนวน 4 ตัวแปร รวมตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมด 13 ตัวแปร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรแฝงในโมเดลพบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ความสุขของบุคลากรในการทำงานกับองค์กรแห่งความสุข โดยมีขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .825 สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) ผลการวิเคราะห์โมเดลที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ คือ Chi-Square =49.80, df = 37, P = 0.077, GFI = 0.97, AGFI 0.94, และ RMSEA = 0.03
  • รายการ
    เรื่องการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาตามแนว OBJECTIVES & KEY RESULTS (OKRS)
    (วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 2562-09) ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, สวพร บุญญผลานันท์ และเกรียงไกร สัจจะหฤทัย
    การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา หากน า OKRs มาใช้ในการบริหารงานด้านวิชาการจะช่วย ให้การบริหารงานนั้นส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีมากยิ่งขึ้นเพราะ OKRs เป็นการตั้งวัตถุประสงค์ตามที่ ผู้อ านวยการโรงเรียนต้องการแก้ไขหรือพัฒนาคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนของครู รวมถึงการพัฒนา คุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนในแต่ละด้าน โดยหาวิธีการพัฒนา แก้ไขให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ หากท าส าเร็จย่อมจะสามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนเรียนรู้ตลอดจนการวัดผล ประเมินผล รวมทั้งการวัด ปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยจะ ส่งผลดีโดยตรงต่อตัวผู้เรียนที่จะได้พัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น รวมถึงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู และ สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้อ านวยการโรงเรียนอีกด้วย
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งกับประสิทธิผลของสถานศึกษา เครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต2
    (วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด., 2563-08) ปนัดดา จันตุ่ย; สิรินธร สินจินดาวงศ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารความขัดแย้งของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้ง กับประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา เครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จ านวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้ง ในสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( ค่าเฉลี่ย=3.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ,= 0.88) 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา เครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย=4.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.52) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งกับประสิทธิผลของสถานศึกษาเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
  • รายการ
    ระบบการบริหารจัดการการผลิตครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
    (วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด., 2562-08) ขอบฟ้า จันทร์เจริญ; สิรินธร สินจินดาวงศ์.
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ประจำสูตร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาวิชาชีพครูต่อระบบการบริหารจัดการการผลิตครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 978 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการบริหารจัดการผลิตครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่าอาจารย์ประจำหลักสูตร ครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาวิชาชีพครู มีความคิดเห็นต่อระบบการบริหาร จัดการการผลิตครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.24, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการบริหารจัดการการผลิตครูทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านผลผลิต มีความคิดเห็นสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.28, S.D. = 0.61) รองลงมา คือ ด้านปัจจัย (ค่าเฉลี่ย= 4.25, S.D. = 0.42) และด้านกระบวนการ (ค่าเฉลี่ย= 4.18, S.D. = 0.45) และพบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาวิชาชีพครูต่อระบบการบริหารจัดการการผลิตครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยครูพี่เลี้ยง กับนักศึกษาวิชาชีพครู มีความคิดเห็นต่อระบบการบริหารจัดการการผลิตครูแตกต่างกัน
  • รายการ
    การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสาหรับนักสื่อมวลชน
    (2562-07-01) ผุสดี กลิ่นเกษร
    การวิจัยเรื่อง “การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสำหรับนักสื่อมวลชน” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสำหรับนักสื่อมวลชน โดยมีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการเรียนรู้สำหรับนักสื่อมวลชนเพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม และขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสำหรับนักสื่อมวลชน ผลการวิจัยพบว่าการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมสำหรับนักสื่อมวลชนมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นนำก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) ขั้นการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 การพัฒนาความรู้จริยธรรมสำหรับนักสื่อมวลชน กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมเพื่อคนรอบข้าง กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมเพื่อสังคม และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 การสรุปสะท้อนคิด (3) ขั้นการประเมินหลังการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้