LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ช้องนาง วิพุธานุพงษ์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การเรียนการสอนกฎหมายในยุคดิจิทัล(การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 (The 7th TECHCON 2021), 2564-07) ช้องนาง วิพุธานุพงษ์วิกฤติโรคระบาดโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนวิชากฎหมาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างในด้านความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นต้องใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนซึ่งมีผู้เรียนจำนวนมาก ส่งผลให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องทำความตกลงร่วมกัน เพื่อพยายามจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่มีความสะดวก เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ นอกจากเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์แล้ว ผู้สอนยังต้องคำนึงถึงการปรับแผนการสอนเพื่อเปลี่ยนวิธีการให้เข้ามาสู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลในระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบสนองผู้เรียนและสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการปรับตัวของผู้สอนและผู้เรียนในการศึกษาวิชากฎหมาย ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โดยบทความจะนำเสนอถึงปัญหาและ อุปสรรค ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์และระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนตกลงเลือกใช้ร่วมกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแผนและกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนออนไลน์วิชากฎหมายในยุคดิจิทัล เพื่อให้สื่อสารไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคตรายการ การเรียนการสอนกฎหมายในยุคดิจิทัล(การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 (The 7th TECHCON 2021), 2564-07-30) ช้องนาง วิพุธานุพงษ์วิกฤติโรคระบาดโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนวิชากฎหมาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างในด้านความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นต้องใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนซึ่งมีผู้เรียนจำนวนมาก ส่งผลให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องทำความตกลงร่วมกัน เพื่อพยายามจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่มีความสะดวก เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ นอกจากเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์แล้ว ผู้สอนยังต้องคำนึงถึงการปรับแผนการสอนเพื่อเปลี่ยนวิธีการให้เข้ามาสู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลในระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบสนองผู้เรียนและสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการปรับตัวของผู้สอนและผู้เรียนในการศึกษาวิชากฎหมาย ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โดยบทความจะนำเสนอถึงปัญหาและ อุปสรรค ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์และระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนตกลงเลือกใช้ร่วมกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแผนและกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนออนไลน์วิชากฎหมายในยุคดิจิทัล เพื่อให้สื่อสารไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคตรายการ แนวทางการตีความมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 2537 เพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ พิจารณาตามแนวทางของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา The interpretation of Section 11 of the Copyright Act 1994 to provide copyright protection to derivative works created without permission of the copyright owner in accordance with the UK and the US standard(การสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเปิดทำการครบ 25 ปี (Symposium 2022) ในหัวข้อ "IP Innovation and IT Challenges in the Transformed World", 2565-07) ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและอยู่บนโลกออนไลน์ มักจะถูกหยิบยืมไปสร้างงานดัดแปลงที่เป็นการต่อยอดสืบเนื่องไปจากงานเดิมอีกจำนวนมาก ซึ่งในส่วนของการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่ต่อยอดมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์ที่เป็นงานต้นฉบับนั้น ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บัญญัติว่า “งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้ ...” ด้วยเหตุนี้ การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงตามที่ปรากฏในมาตรานี้ จึงอาจถูกตีความได้ว่างานดัดแปลงนั้นจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อนเท่านั้น งานดัดแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นจึงจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีงานดัดแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ ซึ่งในความเป็นจริง งานดัดแปลงเหล่านี้มักจะมีการสร้างสรรค์ต่อยอดขึ้นโดยอ้างอิงมาจากผลงานต้นฉบับ โดยอาจไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานต้นฉบับเสียก่อน จึงมีปัญหาว่า การสร้างสรรค์งานดัดแปลงขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น แต่ยังอยู่ในขอบเขตของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ อาจส่งผลให้งานดัดแปลงเหล่านี้ไม่สามารถได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ด้วยหรือไม่ ด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ประเด็นการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้น บทความนี้จึงได้ศึกษาแนวทางการตีความและปรับใช้กฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยศึกษาจากแนวทางของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เพื่อนำเสนอว่า การตีความกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภายใต้บริบทของแต่ละประเทศนั้นมีทิศทางอย่างไร และสามารถนำมาปรับใช้กับการตีความมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้บ้างหรือไม่เพียงใด