LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ รูปแบบของการจัดการหนี้นอกระบบในสังคมไทย PATTERNS OF INFORMAL DEBT MANAGEMENT IN THAI SOCIETY(2565-10-27) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสิต อินทมาโนรายการ การอนุญาโตตุลาการกับการระงับข้อพิพาททางด้านกีฬาในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยพะเยา, 2565-01-25) ทัชชภร มหาแถลงบทความนี้เกิดจากการเห็นพัฒนาการของวงการกีฬาทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งความนิยมในงานด้านกีฬานั้นมีในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่ชอบเล่นกีฬาเพื่อการสันทนาการ ผ่อนคลาย หรือเพื่อสุขภาพ แต่อีกด้านหนึ่งยังมีธุรกิจที่เกี่ยวกับกีฬาที่ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนที่มีความน่าสนใจซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อุตสาหกรรมกีฬา” การหากำไรจากงานด้านกีฬามีวิธีการมากมายไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน การลงทุน หรือการสร้างงานโดยใช้ความเชื่อมโยงต่างๆ ในวงการกีฬา ซึ่งล้วนแล้วแต่สามารถสร้างเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในธุรกิจได้อย่างมหาศาล ทุกกระบวนการในการแข่งขันกีฬามีปัจจัยในทางธุรกิจที่สามารถทำรายได้ให้กับทั้งนักลงทุน ผู้ถูกจ้างงาน หรือแม้แต่นักกีฬาเอง ซึ่งจะมีการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวได้ว่าการแข่งขันกีฬามีหลายระดับและหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการทำสัญญา หรือข้อตกลงจะต้องมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ไว้อย่างชัดเจนเพื่อรักษาผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายพึงจะได้รับ หรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เมื่อมีนิติสัมพันธ์ที่มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบเงิน สิทธิ หรือหน้าที่แล้ว ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์อันเกิดจากสัญญา หรือข้อตกลงที่ทำร่วมกันจึงเป็นประเด็นปัญหาที่ถูกพบได้ตลอดเวลา บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทางอนุญาโตตุลาการที่ใช้ระงับข้อพาททางด้านกีฬา โดยทำการศึกษากฎหมาย กรณีศึกษา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรครวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ในการระงับข้อพิพาททางด้านกีฬา เพื่อเสนอแนะแนวทางให้อนุญาโตตุลาการทางด้านกีฬาได้รับความนิยมและมีการนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยศึกษาพบว่า การอนุญาโตตุลาการด้านกีฬาได้เริ่มมีการดำเนินการแล้วในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้งศูนย์ระงับข้อพิพาททางการกีฬาซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการกีฬาแห่งประเทศไทยและสถาบันอนุญาโตตุลาการซึ่งหากการดำเนินการสามารถระงับข้อพิพาทและแก้ไขข้อขัดแย้งได้ตามวัตถุประสงค์จะส่งผลให้การอนุญาโตตุลาการทางด้านกีฬาของประเทศไทยสามารถที่จะเป็นกลไกที่เป็นทางเลือกในการจัดการข้อพิพาททางด้านกีฬาได้อีกทางหนึ่งด้วยรายการ หลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528(โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ดร.อัตนัย สายรัตน์; ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อยสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถาบันอิสระที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทนายความทั่วประเทศ มีหน้าที่ส่งเสริมช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้การช่วยเหลือประชาชนในการเข้าว่าคดีแพ่งและทางอาญาทั้งปวง จัดให้มีทนายความอาสาประจำในส่วนราชการในการให้คำปรึกษาและแนะนำประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการต่อสู้คดีกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินคดี หรือช่วยจัดหาทนายความเพื่อไปร่วมฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา หรือประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชน ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทนายความ และควบคุมมรรยาทของทนายความให้เป็นไปตามระเบียบและเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทนายความ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความมีความเที่ยงธรรม อิสระและเป็นที่พึ่งในกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งการดำเนินการในการออกคำสั่งหรือข้อบังคับกระทำผ่านสภาทนายความที่ประกอบด้วย คณะกรรมการสภาทนายความ สมาชิกสภาทนายความ คณะกรรมการมรรยาททนายความและคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายที่กำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ให้มีอำนาจในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของทั้งประชาชนและในระดับนานาชาติ ดังนั้นการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้อำนาจของสภาทนายความในฐานะผู้มีหน้าที่และอำนาจในการควบคุม กำกับ ตรวจสอบและติดตามให้เป็นไปตามข้อบังคับของการประกอบวิชาชีพทนายความในเรื่องต่างๆ ซึ่งหากกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักธรรมาภิบาลไว้เพื่อให้สภาทนายใช้อำนาจให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นกฎหมายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติตามหลักการระหว่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในฐานะ ผู้ประกอบอาชีพทนายความและเกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในฐานะผู้รับบริการจากทนายความ และทำให้เกิดความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม และส่งผลให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศในที่สุด The Lawyers Council Under the Royal Patronage (LCURP) is an independent institution that represents Thai attorneys. It aims to support, guide, and educate the public on legal matters and laws. For instance, it provides assistance to the people in civil and criminal cases. It provides governmental employed attorneys for those who lack financial means needed to bring their claims to the court, and/or those who discern that there were errors to the outcome of their cases. The LCURP also supplies attorneys who will accompany you in interrogations in criminal cases, renders support to the people in matters regarding human rights. Additionally, the institution provides education and career guidance for attorneys, as well as oversees and enforce ethical rules of lawyers in order to maintain justice and independency in the profession. Through the Attorney Act B.E. 2528, the LCURP has the authority to issue orders and regulations, and act appropriately to ensure that attorneys’ performance is up to standard. Any action of the LCURP committee in regulating and managing matters relating attorney profession must be done in accordance with the rules of such particular matter. Should the regulations contain the rule of Good Governance and entrust the committee the power to act appropriately, such regulations are appropriate and in line with international practice. Respectively, it restores confidence in public including those who receive services from attorneys, as well as promotes peace and integration in the society.รายการ แนวทางการตีความมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ 2537 เพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ พิจารณาตามแนวทางของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา The interpretation of Section 11 of the Copyright Act 1994 to provide copyright protection to derivative works created without permission of the copyright owner in accordance with the UK and the US standard(การสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเปิดทำการครบ 25 ปี (Symposium 2022) ในหัวข้อ "IP Innovation and IT Challenges in the Transformed World", 2565-07) ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและอยู่บนโลกออนไลน์ มักจะถูกหยิบยืมไปสร้างงานดัดแปลงที่เป็นการต่อยอดสืบเนื่องไปจากงานเดิมอีกจำนวนมาก ซึ่งในส่วนของการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่ต่อยอดมาจากงานอันมีลิขสิทธิ์ที่เป็นงานต้นฉบับนั้น ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บัญญัติว่า “งานใดมีลักษณะเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ผู้ที่ได้ดัดแปลงนั้นมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัดแปลงตามพระราชบัญญัตินี้ ...” ด้วยเหตุนี้ การให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงตามที่ปรากฏในมาตรานี้ จึงอาจถูกตีความได้ว่างานดัดแปลงนั้นจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อนเท่านั้น งานดัดแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังนั้นจึงจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีงานดัดแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ ซึ่งในความเป็นจริง งานดัดแปลงเหล่านี้มักจะมีการสร้างสรรค์ต่อยอดขึ้นโดยอ้างอิงมาจากผลงานต้นฉบับ โดยอาจไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานต้นฉบับเสียก่อน จึงมีปัญหาว่า การสร้างสรรค์งานดัดแปลงขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น แต่ยังอยู่ในขอบเขตของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ อาจส่งผลให้งานดัดแปลงเหล่านี้ไม่สามารถได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ด้วยหรือไม่ ด้วยบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป ประเด็นการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์จึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้น บทความนี้จึงได้ศึกษาแนวทางการตีความและปรับใช้กฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เป็นการกระทำที่อยู่ในขอบเขตของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยศึกษาจากแนวทางของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เพื่อนำเสนอว่า การตีความกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภายใต้บริบทของแต่ละประเทศนั้นมีทิศทางอย่างไร และสามารถนำมาปรับใช้กับการตีความมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานดัดแปลงที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้บ้างหรือไม่เพียงใดรายการ การระงับข้อพิพาทออนไลน์ ทางเลือกใหม่ของการทำธุรกรรมซื้อขายออนไลน์(การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10, 2564-12-16) ผศ.ทัชชภร มหาแถลงบทคัดย่อ การทำการค้าถือเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกรรมที่มนุษย์มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ในปัจจุบัน การซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะในยุคที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เนื่องจากคนมีความจำเป็นต้องรักษาระยะห่าง ลดการปฏิสัมพันธ์กัน ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาททางอิเล็กทรอนิกส์ การระงับข้อพิพาทในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นทางเลือก ในการจัดการกับข้อพิพาทที่เกิดจากการทำการค้าในช่องทางออนไลน์ของประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษา หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค ตลอดจนถึงข้อจำกัดในการนำระบบการระงับข้อพิพาทออนไลน์มาใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำระบบการระงับข้อพิพาทออนไลน์มาใช้กับข้อพิพาทที่เกิดกับการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยการรวบรวมข้อมูลเอกสาร ผลการวิจัยศึกษาพบว่า การระงับข้อพิพาทออนไลน์ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน รวมถึงการนำมาใช้ยังไม่มีความแพร่หลาย ขาดการสนับสนุน หรือการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้ง คู่สัญญายังไม่เข้าใจข้อดีข้อเสียของการใช้ระบบดังกล่าว บทความนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดทำกฎหมายที่มีสภาพบังคับในการทำธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์โดยให้นำระบบการระงับข้อพิพาทออนไลน์มาใช้และจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก หรือเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มได้มีโอกาสนำระบบนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกรรมด้วย At the present, trade is regarded as a human activity. An online reading becomes more popular during the COVID-19 pandemic due to the need for social distancing and reducing interactions. Hence, this article aims to propose the implementation of online dispute resolution proceedings as an alternative to solve disputes arisen from online trading throughout Thailand. The guidelines and rules in both Thailand and international, problems, hindrances, including limitations in the application of online dispute resolution in Thailand, have been studied to introduce an approach for implementing the online dispute resolution proceedings with the disputes arising from online trading or E-commerce. Collection of documents and information were applied as a research approach. In consequence, it was found that online dispute resolution not only does it not have explicit rule and nor widespread application, but also lacks concrete support or promotion by the government sector. Particularly, the general public still does not have enough understanding of pros and cons of the use of the system. This article, therefore, recommends establishing mandatory regulation in online transactions by adopting online dispute resolution proceedings as well as creating a key responsible division or allowing other private sectors who own a platform to utilize this system as a part of the transaction.รายการ การเรียนการสอนกฎหมายในยุคดิจิทัล(การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 (The 7th TECHCON 2021), 2564-07-30) ช้องนาง วิพุธานุพงษ์วิกฤติโรคระบาดโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนวิชากฎหมาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างในด้านความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นต้องใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนซึ่งมีผู้เรียนจำนวนมาก ส่งผลให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องทำความตกลงร่วมกัน เพื่อพยายามจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่มีความสะดวก เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ นอกจากเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์แล้ว ผู้สอนยังต้องคำนึงถึงการปรับแผนการสอนเพื่อเปลี่ยนวิธีการให้เข้ามาสู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลในระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบสนองผู้เรียนและสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการปรับตัวของผู้สอนและผู้เรียนในการศึกษาวิชากฎหมาย ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โดยบทความจะนำเสนอถึงปัญหาและ อุปสรรค ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์และระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนตกลงเลือกใช้ร่วมกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแผนและกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนออนไลน์วิชากฎหมายในยุคดิจิทัล เพื่อให้สื่อสารไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคตรายการ ปัญหาการริบมัดจำและเงินดาวน์กรณีจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ในประเทศตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ลูกจ้างส่วนหนึ่งถูกเลิกจ้างขาดรายได้ ทำให้ความสามารถในการหารายได้ของประชาชนที่เคยมีอยู่ลดลง ปัญหาการจองซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาหนึ่งของผู้จะซื้อที่จองซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว เมื่อเกิดสถานการณ์ความสามารถในการหารายได้ของผู้จะซื้อกลับลดหรือยุติลง ทำให้เครดิตบูโรไม่น่าเชื่อถือ สถาบันการเงินจึงไม่ปล่อยสินเชื่อให้ ผลกระทบที่ตามมาคือผู้จะซื้อไม่สามารถทำสัญญาซื้อขายและรับโอนอสังหาริมทรัพย์จากผู้จะขายได้ ผู้จะขายจึงริบเงินมัดจำและเงินดาวน์ทั้งหมดของผู้จะซื้อที่ชำระไว้อันเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แก่ผู้จะซื้อ เกิดข้อพิพาทร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐและมีการนำข้อพิพาทเป็นคดีขึ้นสู่ศาลจำนวนมากในปัญหาว่า ผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำและเงินดาวน์ทั้งหมดของผู้จะซื้อได้หรือไม่ พิจารณาผลการศึกษาพบว่า เมื่อผู้จะซื้อผิดสัญญา ผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ทันทีเท่านั้น ส่วนเงินดาวน์ที่ผู้จะซื้อชำระไปนั้น แม้ในสัญญาจะซื้อจะขายจะมีข้อตกลงให้ริบได้ ผู้จะขายก็จะริบไปเสียทั้งหมดไม่ได้เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ Due to the epidemic situation of COVID-19 in the country from the end of 2019 to the present, it has severely affected the economy because some people are unable to work, some of the employees were terminated without income. The ability to earn income of the people that used to be reduced. The problem of purchasing residential real estate is one of the problems of buyers who have subscribed to real estate before the epidemic situation. When a situation arises, the ability to earn money of the buyer decreases or ceases, make credit bureaus unreliable. Therefore, financial institutions do not give credit. The consequence is that the buyer cannot enter into a contract to purchase and accept the transfer of real estate from the seller. The seller therefore forfeited all the deposit and down payment of the buyer who paid, which aggravated the problem for the buyer. A complaint has been filed with government agencies and a number of disputes have been brought to court on the issue of the seller has the right to forfeit all the deposit and down payment of the buyer or not. Considering the results of the study, it was found that when the buyer breaches the contract the seller has the right to forfeit the deposit immediately. As for the down payment that the buyer will pay for it even in the contract to buy and sell there is an agreement to forfeit. The seller will not be able to forfeit all because the agreement is in the nature of a fine penalty.รายการ การเรียนการสอนกฎหมายในยุคดิจิทัล(การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 (The 7th TECHCON 2021), 2564-07) ช้องนาง วิพุธานุพงษ์วิกฤติโรคระบาดโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนวิชากฎหมาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างในด้านความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นต้องใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนซึ่งมีผู้เรียนจำนวนมาก ส่งผลให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องทำความตกลงร่วมกัน เพื่อพยายามจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่มีความสะดวก เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ นอกจากเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์แล้ว ผู้สอนยังต้องคำนึงถึงการปรับแผนการสอนเพื่อเปลี่ยนวิธีการให้เข้ามาสู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลในระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบสนองผู้เรียนและสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการปรับตัวของผู้สอนและผู้เรียนในการศึกษาวิชากฎหมาย ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โดยบทความจะนำเสนอถึงปัญหาและ อุปสรรค ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์และระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนตกลงเลือกใช้ร่วมกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแผนและกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนออนไลน์วิชากฎหมายในยุคดิจิทัล เพื่อให้สื่อสารไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคตรายการ มาตรการในการคุ้มครองข้อมูลชีวมาตร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิตครั้งที่ 11 ประจำปี พศ.2564, 2564-04-30) ผศ.ทัชชภร มหาแถลงThailand has enacted the Personal Data Protection Act B.E. 2562 to set the criteria, mechanisms, or regulatory measures on personal data protection in order to prevent personal data breaches that cause damage to the personal data and the country as a whole, especially the biometric data. Such problem is the result from advanced technology that makes it easier to access personal information. However, this law concerning on collection, usage, processing and transmission, or transferring information abroad is still to be considered for further study by comparing the international data protection laws to improve, amend, or add to statutory provisions of such Act for the benefit and the effectivenessอof personal information protection.รายการ ปัญหาเขตอำนาจเหนือคดีของศาลอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายพิเศษซึ่งเปลี่ยนแปลงระบบการอุทธรณ์ฎีกาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้แตกต่างไปจากหลักเดิม โดยกำหนดให้นำระบบศาลสองชั้นศาลมาใช้กับคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในทุกกรณีต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เพียงแห่งเดียวและกำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นที่สุด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกา ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาในชั้นอุทธรณ์มีความเป็นเอกภาพ อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 15 และมาตรา 17 ไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ชัดเจนครอบคลุมถึงเขตอำนาจเหนือคดีของศาลอุทธรณ์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบางประเภทซึ่งมีความผิดตามกฎหมายอื่นอันมิใช่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดรวมอยู่ด้วยทั้งในกรณีความผิดกรรมเดียวและหลายกรรม ทำให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเกิดข้อขัดข้องในการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา เพราะยังมีข้อเคลือบคลุมว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดระหว่างศาลอุทธรณ์กับศาลอุทธรณ์ภาค เช่น คดีความผิดกรรมเดียวแต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท บทแรก ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน บทที่สอง ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน และบทที่สาม ฐานขับรถในขณะเมาสุรา ถ้าโจทก์อุทธรณ์เฉพาะบทความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดสองฐานแรก ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจะมีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นหรือไม่ ก็ยังมีข้อถกเถียงอยู่ ทำให้เกิดความเสียหายล่าช้า ประกอบกับพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีแก้ปัญหาในเรื่องเขตอำนาจไว้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ศาลใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ ปัญหาการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้กระทำความผิด(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๐๐/๒ เป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่วงการยุติธรรมได้ถกเถียงกันมาตลอดเนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้เพียงหลักการโดยให้ศาลยุติธรรมใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์การให้ข้อมูลว่าผู้กระทำความผิดจะต้องให้ข้อมูลอย่างไรหรือจะต้องให้เมื่อใดศาลจึงจะนำมารับฟังเพื่อกำหนดโทษเช่นว่านั้นได้ ทำให้เกิดปัญหาการตีความบทบัญญัติดังกล่าวโดยใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษของบรรดาผู้พิพากษาที่หลากหลายไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้กระทำความผิดใช้เป็นช่องทางร่วมมือกับเจ้าพนักงานที่ไม่สุจริตสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนำมาขอรับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งการตีความกฎหมายโดยใช้แนวทางตัดสินของศาลฎีกาอาจไม่สามารถใช้กันได้ทุกคดีเป็นการทั่วไปและไม่ทันต่อปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในบทบัญญัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดระยะเวลาการให้ข้อมูลของผู้กระทำความผิด ระยะเวลาในการนำเสนอข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ตามมาตรา ๑๐๐/๒ ต่อศาล และลักษณะของข้อมูลที่จะต้องใช้ขยายผลการจับกุมหรือยึดยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดวิธีการให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน การโดยผ่านการกลั่นกรองของพนักงานอัยการ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ผู้กระทำความผิดได้อย่างเท่าเทียมกันรายการ ความยุติธรรมทางเลือกกับคดีครอบครัว(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุมครั้งที่ 13, 2561-12-20) ผศ.ทัชชภร มหาแถลงในกระบวนการยุติธรรมสำหรับคดีครอบครัวมิได้มีเพียงแต่การฟ้องคดีเพื่อตัดสินข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทได้ หากแต่ยังมีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในหลายรูปแบบที่สามารถช่วยให้คู่พิพาทได้เลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาท อีกทั้งยังเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดี ตกลงกันอย่างฉันท์มิตรและสร้างความเข้าใจให้กันได้ การระงับข้อพิพาททางเลือก จะเริ่มต้นจากการเจรจาต่อรองซึ่งเป็นกระบวนการแรกสุดเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างตัวบุคคล แต่หากการพูดคุยทั้งสองฝ่ายไม่เป็นผลจึงอาจต้องมีบุคคลที่สามที่ทั้งสองฝ่ายให้การยอมรับเข้าช่วยเป็นตัวกลางประสานให้ทั้งสองฝ่ายบอกความต้องการและมุ่งหาทางออกร่วมกัน กระบวนการระงับข้อพิพาทดังกล่าวนี้เรียกว่า การไกล่เกลี่ย หรือการประนอม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในครอบครัวถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจและรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันให้ได้มากที่สุด โดยที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้กำหนดเกี่ยวกับกระบวนการประนอมไว้ในหมวด 13 การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว เพื่อให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมในข้อพิพาทโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันของครอบครัวเป็นหลักรายการ ปัญหาการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33และ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดถูกยึดเป็นของกลางในคดียาเสพติดอาจถูกริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 บ่อยครั้งที่เจ้าพนักงานยึดได้ทรัพย์สินซึ่งผู้กระทำความผิดได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือยึดได้ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดในครั้งก่อนความผิดที่ถูกฟ้อง แต่เมื่อคดีมาถึงศาล ศาลกลับใช้หลักการตีความกฎหมายที่เคร่งครัดโดยเห็นว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดในครั้งที่ถูกฟ้อง หรือมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ใช้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องโดยตรง จึงไม่ริบและยังคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่เจ้าของ ก่อให้เกิดความรู้สึกของสังคมที่ไม่ดีต่อศาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผลการศึกษาพบว่ามีทางเลือกอยู่ 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ เปลี่ยนแนวคิดการตีความว่าการริบทรัพย์สินนั้นมิใช่เป็นเรื่องโทษทางอาญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของวิธีการเพื่อความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย ส่วนแนวทางที่สอง คือ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การริบทรัพย์สินตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ให้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดในครั้งก่อนความผิดที่ถูกฟ้อง เพื่อให้ศาลใช้เป็นเครื่องมือในการริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การเรียนรู้กฎหมายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์(กรุงเทพฯ: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07-31) ช้องนาง วิพุธานุพงษ์วิกฤติโรคระบาดโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องปรับตัวโดยนำ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนวิชากฎหมาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแตกต่างในด้านความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นต้องใช้เพื่อจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนซึ่งมีผู้เรียนจำนวนมาก ส่งผลให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องทำความตกลงร่วมกัน เพื่อพยายามจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือแพล็ตฟอร์มที่มีความสะดวก เข้าใจง่ายและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ นอกจากเรื่องของเครื่องมืออุปกรณ์แล้ว ผู้สอนยังต้องคำนึงถึงการปรับแผนการสอนเพื่อเปลี่ยนวิธีการให้เข้ามาสู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลในระบบออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบสนองผู้เรียนและสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการปรับตัวของผู้สอนและผู้เรียนในการศึกษาวิชากฎหมาย รายวิชากฎหมายและจริยธรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส โดยบทความจะนำเสนอถึงปัญหาและ อุปสรรค ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์หรือแพล็ตฟอร์มที่ผู้สอนและผู้เรียนตกลงเลือกใช้ร่วมกัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนแผนและกระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนออนไลน์วิชากฎหมายผ่านแพล็ตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้สื่อสารไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคตรายการ ปัญหาการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้กระทำความผิด(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 (SPUCON2018), 2561-12-20) ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อยการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๐๐/๒ เป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่วงการยุติธรรมได้ถกเถียงกันมาตลอดเนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้เพียงหลักการโดยให้ศาลยุติธรรมใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์การให้ข้อมูลว่าผู้กระทำความผิดจะต้องให้ข้อมูลอย่างไรหรือจะต้องให้เมื่อใดศาลจึงจะนำมารับฟังเพื่อกำหนดโทษเช่นว่านั้นได้ ทำให้เกิดปัญหาการตีความบทบัญญัติดังกล่าวโดยใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษของบรรดาผู้พิพากษาที่หลากหลายไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้กระทำความผิดใช้เป็นช่องทางร่วมมือกับเจ้าพนักงานที่ไม่สุจริตสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนำมาขอรับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งการตีความกฎหมายโดยใช้แนวทางตัดสินของศาลฎีกาอาจไม่สามารถใช้กันได้ทุกคดีเป็นการทั่วไปและไม่ทันต่อปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในบทบัญญัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดระยะเวลาการให้ข้อมูลของผู้กระทำความผิด ระยะเวลาในการนำเสนอข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ตามมาตรา ๑๐๐/๒ ต่อศาล และลักษณะของข้อมูลที่จะต้องใช้ขยายผลการจับกุมหรือยึดยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดวิธีการให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน การโดยผ่านการกลั่นกรองของพนักงานอัยการ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ผู้กระทำความผิดได้อย่างเท่าเทียมกัน