LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ผศ.ทัชชภร มหาแถลง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การระงับข้อพิพาทออนไลน์ ทางเลือกใหม่ของการทำธุรกรรมซื้อขายออนไลน์(การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10, 2564-12-16) ผศ.ทัชชภร มหาแถลงบทคัดย่อ การทำการค้าถือเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกรรมที่มนุษย์มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ในปัจจุบัน การซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมโดยเฉพาะในยุคที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เนื่องจากคนมีความจำเป็นต้องรักษาระยะห่าง ลดการปฏิสัมพันธ์กัน ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาททางอิเล็กทรอนิกส์ การระงับข้อพิพาทในการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นทางเลือก ในการจัดการกับข้อพิพาทที่เกิดจากการทำการค้าในช่องทางออนไลน์ของประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษา หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค ตลอดจนถึงข้อจำกัดในการนำระบบการระงับข้อพิพาทออนไลน์มาใช้ในประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำระบบการระงับข้อพิพาทออนไลน์มาใช้กับข้อพิพาทที่เกิดกับการซื้อขายสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยการรวบรวมข้อมูลเอกสาร ผลการวิจัยศึกษาพบว่า การระงับข้อพิพาทออนไลน์ยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน รวมถึงการนำมาใช้ยังไม่มีความแพร่หลาย ขาดการสนับสนุน หรือการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้ง คู่สัญญายังไม่เข้าใจข้อดีข้อเสียของการใช้ระบบดังกล่าว บทความนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดทำกฎหมายที่มีสภาพบังคับในการทำธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์โดยให้นำระบบการระงับข้อพิพาทออนไลน์มาใช้และจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก หรือเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มได้มีโอกาสนำระบบนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกรรมด้วย At the present, trade is regarded as a human activity. An online reading becomes more popular during the COVID-19 pandemic due to the need for social distancing and reducing interactions. Hence, this article aims to propose the implementation of online dispute resolution proceedings as an alternative to solve disputes arisen from online trading throughout Thailand. The guidelines and rules in both Thailand and international, problems, hindrances, including limitations in the application of online dispute resolution in Thailand, have been studied to introduce an approach for implementing the online dispute resolution proceedings with the disputes arising from online trading or E-commerce. Collection of documents and information were applied as a research approach. In consequence, it was found that online dispute resolution not only does it not have explicit rule and nor widespread application, but also lacks concrete support or promotion by the government sector. Particularly, the general public still does not have enough understanding of pros and cons of the use of the system. This article, therefore, recommends establishing mandatory regulation in online transactions by adopting online dispute resolution proceedings as well as creating a key responsible division or allowing other private sectors who own a platform to utilize this system as a part of the transaction.รายการ ความยุติธรรมทางเลือกกับคดีครอบครัว(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุมครั้งที่ 13, 2561-12-20) ผศ.ทัชชภร มหาแถลงในกระบวนการยุติธรรมสำหรับคดีครอบครัวมิได้มีเพียงแต่การฟ้องคดีเพื่อตัดสินข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทได้ หากแต่ยังมีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในหลายรูปแบบที่สามารถช่วยให้คู่พิพาทได้เลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาท อีกทั้งยังเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดี ตกลงกันอย่างฉันท์มิตรและสร้างความเข้าใจให้กันได้ การระงับข้อพิพาททางเลือก จะเริ่มต้นจากการเจรจาต่อรองซึ่งเป็นกระบวนการแรกสุดเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างตัวบุคคล แต่หากการพูดคุยทั้งสองฝ่ายไม่เป็นผลจึงอาจต้องมีบุคคลที่สามที่ทั้งสองฝ่ายให้การยอมรับเข้าช่วยเป็นตัวกลางประสานให้ทั้งสองฝ่ายบอกความต้องการและมุ่งหาทางออกร่วมกัน กระบวนการระงับข้อพิพาทดังกล่าวนี้เรียกว่า การไกล่เกลี่ย หรือการประนอม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในครอบครัวถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจและรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันให้ได้มากที่สุด โดยที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้กำหนดเกี่ยวกับกระบวนการประนอมไว้ในหมวด 13 การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว เพื่อให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมในข้อพิพาทโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันของครอบครัวเป็นหลักรายการ มาตรการในการคุ้มครองข้อมูลชีวมาตร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิตครั้งที่ 11 ประจำปี พศ.2564, 2564-04-30) ผศ.ทัชชภร มหาแถลงThailand has enacted the Personal Data Protection Act B.E. 2562 to set the criteria, mechanisms, or regulatory measures on personal data protection in order to prevent personal data breaches that cause damage to the personal data and the country as a whole, especially the biometric data. Such problem is the result from advanced technology that makes it easier to access personal information. However, this law concerning on collection, usage, processing and transmission, or transferring information abroad is still to be considered for further study by comparing the international data protection laws to improve, amend, or add to statutory provisions of such Act for the benefit and the effectivenessอof personal information protection.