LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33และ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดถูกยึดเป็นของกลางในคดียาเสพติดอาจถูกริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32, 33 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 บ่อยครั้งที่เจ้าพนักงานยึดได้ทรัพย์สินซึ่งผู้กระทำความผิดได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือยึดได้ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดในครั้งก่อนความผิดที่ถูกฟ้อง แต่เมื่อคดีมาถึงศาล ศาลกลับใช้หลักการตีความกฎหมายที่เคร่งครัดโดยเห็นว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดในครั้งที่ถูกฟ้อง หรือมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ใช้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องโดยตรง จึงไม่ริบและยังคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่เจ้าของ ก่อให้เกิดความรู้สึกของสังคมที่ไม่ดีต่อศาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผลการศึกษาพบว่ามีทางเลือกอยู่ 2 แนวทาง แนวทางแรก คือ เปลี่ยนแนวคิดการตีความว่าการริบทรัพย์สินนั้นมิใช่เป็นเรื่องโทษทางอาญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเรื่องของวิธีการเพื่อความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย ส่วนแนวทางที่สอง คือ แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การริบทรัพย์สินตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ให้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดในครั้งก่อนความผิดที่ถูกฟ้อง เพื่อให้ศาลใช้เป็นเครื่องมือในการริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ ปัญหาการริบมัดจำและเงินดาวน์กรณีจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด ๑๙ ในประเทศตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเนื่องจากประชาชนส่วนหนึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ลูกจ้างส่วนหนึ่งถูกเลิกจ้างขาดรายได้ ทำให้ความสามารถในการหารายได้ของประชาชนที่เคยมีอยู่ลดลง ปัญหาการจองซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาหนึ่งของผู้จะซื้อที่จองซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว เมื่อเกิดสถานการณ์ความสามารถในการหารายได้ของผู้จะซื้อกลับลดหรือยุติลง ทำให้เครดิตบูโรไม่น่าเชื่อถือ สถาบันการเงินจึงไม่ปล่อยสินเชื่อให้ ผลกระทบที่ตามมาคือผู้จะซื้อไม่สามารถทำสัญญาซื้อขายและรับโอนอสังหาริมทรัพย์จากผู้จะขายได้ ผู้จะขายจึงริบเงินมัดจำและเงินดาวน์ทั้งหมดของผู้จะซื้อที่ชำระไว้อันเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แก่ผู้จะซื้อ เกิดข้อพิพาทร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐและมีการนำข้อพิพาทเป็นคดีขึ้นสู่ศาลจำนวนมากในปัญหาว่า ผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำและเงินดาวน์ทั้งหมดของผู้จะซื้อได้หรือไม่ พิจารณาผลการศึกษาพบว่า เมื่อผู้จะซื้อผิดสัญญา ผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำได้ทันทีเท่านั้น ส่วนเงินดาวน์ที่ผู้จะซื้อชำระไปนั้น แม้ในสัญญาจะซื้อจะขายจะมีข้อตกลงให้ริบได้ ผู้จะขายก็จะริบไปเสียทั้งหมดไม่ได้เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ Due to the epidemic situation of COVID-19 in the country from the end of 2019 to the present, it has severely affected the economy because some people are unable to work, some of the employees were terminated without income. The ability to earn income of the people that used to be reduced. The problem of purchasing residential real estate is one of the problems of buyers who have subscribed to real estate before the epidemic situation. When a situation arises, the ability to earn money of the buyer decreases or ceases, make credit bureaus unreliable. Therefore, financial institutions do not give credit. The consequence is that the buyer cannot enter into a contract to purchase and accept the transfer of real estate from the seller. The seller therefore forfeited all the deposit and down payment of the buyer who paid, which aggravated the problem for the buyer. A complaint has been filed with government agencies and a number of disputes have been brought to court on the issue of the seller has the right to forfeit all the deposit and down payment of the buyer or not. Considering the results of the study, it was found that when the buyer breaches the contract the seller has the right to forfeit the deposit immediately. As for the down payment that the buyer will pay for it even in the contract to buy and sell there is an agreement to forfeit. The seller will not be able to forfeit all because the agreement is in the nature of a fine penalty.รายการ ปัญหาการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้กระทำความผิด(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๐๐/๒ เป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่วงการยุติธรรมได้ถกเถียงกันมาตลอดเนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้เพียงหลักการโดยให้ศาลยุติธรรมใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์การให้ข้อมูลว่าผู้กระทำความผิดจะต้องให้ข้อมูลอย่างไรหรือจะต้องให้เมื่อใดศาลจึงจะนำมารับฟังเพื่อกำหนดโทษเช่นว่านั้นได้ ทำให้เกิดปัญหาการตีความบทบัญญัติดังกล่าวโดยใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษของบรรดาผู้พิพากษาที่หลากหลายไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้กระทำความผิดใช้เป็นช่องทางร่วมมือกับเจ้าพนักงานที่ไม่สุจริตสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนำมาขอรับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งการตีความกฎหมายโดยใช้แนวทางตัดสินของศาลฎีกาอาจไม่สามารถใช้กันได้ทุกคดีเป็นการทั่วไปและไม่ทันต่อปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในบทบัญญัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดระยะเวลาการให้ข้อมูลของผู้กระทำความผิด ระยะเวลาในการนำเสนอข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ตามมาตรา ๑๐๐/๒ ต่อศาล และลักษณะของข้อมูลที่จะต้องใช้ขยายผลการจับกุมหรือยึดยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดวิธีการให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน การโดยผ่านการกลั่นกรองของพนักงานอัยการ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ผู้กระทำความผิดได้อย่างเท่าเทียมกันรายการ ปัญหาเขตอำนาจเหนือคดีของศาลอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ผศ.เจียมจิต สุวรรณน้อยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายพิเศษซึ่งเปลี่ยนแปลงระบบการอุทธรณ์ฎีกาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้แตกต่างไปจากหลักเดิม โดยกำหนดให้นำระบบศาลสองชั้นศาลมาใช้กับคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในทุกกรณีต้องอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เพียงแห่งเดียวและกำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นที่สุด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ฎีกา ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาในชั้นอุทธรณ์มีความเป็นเอกภาพ อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 15 และมาตรา 17 ไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ชัดเจนครอบคลุมถึงเขตอำนาจเหนือคดีของศาลอุทธรณ์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบางประเภทซึ่งมีความผิดตามกฎหมายอื่นอันมิใช่กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดรวมอยู่ด้วยทั้งในกรณีความผิดกรรมเดียวและหลายกรรม ทำให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเกิดข้อขัดข้องในการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา เพราะยังมีข้อเคลือบคลุมว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดระหว่างศาลอุทธรณ์กับศาลอุทธรณ์ภาค เช่น คดีความผิดกรรมเดียวแต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท บทแรก ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน บทที่สอง ฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน และบทที่สาม ฐานขับรถในขณะเมาสุรา ถ้าโจทก์อุทธรณ์เฉพาะบทความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เป็นกรรมเดียวกับความผิดสองฐานแรก ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจะมีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นหรือไม่ ก็ยังมีข้อถกเถียงอยู่ ทำให้เกิดความเสียหายล่าช้า ประกอบกับพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีแก้ปัญหาในเรื่องเขตอำนาจไว้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ศาลใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ