LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้กระทำความผิด(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 (SPUCON2018), 2561-12-20) ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อยการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๐๐/๒ เป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่วงการยุติธรรมได้ถกเถียงกันมาตลอดเนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้เพียงหลักการโดยให้ศาลยุติธรรมใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์การให้ข้อมูลว่าผู้กระทำความผิดจะต้องให้ข้อมูลอย่างไรหรือจะต้องให้เมื่อใดศาลจึงจะนำมารับฟังเพื่อกำหนดโทษเช่นว่านั้นได้ ทำให้เกิดปัญหาการตีความบทบัญญัติดังกล่าวโดยใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษของบรรดาผู้พิพากษาที่หลากหลายไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้กระทำความผิดใช้เป็นช่องทางร่วมมือกับเจ้าพนักงานที่ไม่สุจริตสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนำมาขอรับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งการตีความกฎหมายโดยใช้แนวทางตัดสินของศาลฎีกาอาจไม่สามารถใช้กันได้ทุกคดีเป็นการทั่วไปและไม่ทันต่อปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในบทบัญญัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดระยะเวลาการให้ข้อมูลของผู้กระทำความผิด ระยะเวลาในการนำเสนอข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ตามมาตรา ๑๐๐/๒ ต่อศาล และลักษณะของข้อมูลที่จะต้องใช้ขยายผลการจับกุมหรือยึดยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดวิธีการให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน การโดยผ่านการกลั่นกรองของพนักงานอัยการ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ผู้กระทำความผิดได้อย่างเท่าเทียมกันรายการ หลักธรรมาภิบาลสำหรับการใช้อำนาจของสภาทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528(โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-10-27) ดร.อัตนัย สายรัตน์; ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อยสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถาบันอิสระที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทนายความทั่วประเทศ มีหน้าที่ส่งเสริมช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้การช่วยเหลือประชาชนในการเข้าว่าคดีแพ่งและทางอาญาทั้งปวง จัดให้มีทนายความอาสาประจำในส่วนราชการในการให้คำปรึกษาและแนะนำประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการต่อสู้คดีกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินคดี หรือช่วยจัดหาทนายความเพื่อไปร่วมฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา หรือประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชน ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทนายความ และควบคุมมรรยาทของทนายความให้เป็นไปตามระเบียบและเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทนายความ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความมีความเที่ยงธรรม อิสระและเป็นที่พึ่งในกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งการดำเนินการในการออกคำสั่งหรือข้อบังคับกระทำผ่านสภาทนายความที่ประกอบด้วย คณะกรรมการสภาทนายความ สมาชิกสภาทนายความ คณะกรรมการมรรยาททนายความและคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายที่กำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ให้มีอำนาจในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของทั้งประชาชนและในระดับนานาชาติ ดังนั้นการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้อำนาจของสภาทนายความในฐานะผู้มีหน้าที่และอำนาจในการควบคุม กำกับ ตรวจสอบและติดตามให้เป็นไปตามข้อบังคับของการประกอบวิชาชีพทนายความในเรื่องต่างๆ ซึ่งหากกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดหลักธรรมาภิบาลไว้เพื่อให้สภาทนายใช้อำนาจให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นกฎหมายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติตามหลักการระหว่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความในฐานะ ผู้ประกอบอาชีพทนายความและเกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในฐานะผู้รับบริการจากทนายความ และทำให้เกิดความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม และส่งผลให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศในที่สุด The Lawyers Council Under the Royal Patronage (LCURP) is an independent institution that represents Thai attorneys. It aims to support, guide, and educate the public on legal matters and laws. For instance, it provides assistance to the people in civil and criminal cases. It provides governmental employed attorneys for those who lack financial means needed to bring their claims to the court, and/or those who discern that there were errors to the outcome of their cases. The LCURP also supplies attorneys who will accompany you in interrogations in criminal cases, renders support to the people in matters regarding human rights. Additionally, the institution provides education and career guidance for attorneys, as well as oversees and enforce ethical rules of lawyers in order to maintain justice and independency in the profession. Through the Attorney Act B.E. 2528, the LCURP has the authority to issue orders and regulations, and act appropriately to ensure that attorneys’ performance is up to standard. Any action of the LCURP committee in regulating and managing matters relating attorney profession must be done in accordance with the rules of such particular matter. Should the regulations contain the rule of Good Governance and entrust the committee the power to act appropriately, such regulations are appropriate and in line with international practice. Respectively, it restores confidence in public including those who receive services from attorneys, as well as promotes peace and integration in the society.