INF-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู INF-08. ผลงานนักศึกษา โดย ผู้เขียน "สุรศักดิ์ มังสิงห์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลที่ผู้ดูแลระบบหน่วยย่อยสามารถออกแบบร่วมกันอย่างอิสระ กรณีศึกษาการจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ในพื้นที่ชนบท(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เศรษฐชัย ใจฮึก; สุรศักดิ์ มังสิงห์งานวิจัยนี้เป็นการแก้ไขปัญหาของระบบการจัดเก็บข้อมูล การให้บริการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในพื้นที่ชนบท เนื่องจาก 1) ขาดการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน 2) ผู้รับบริการเป็นบุคลไร้สัญชาติ ทำให้มีความยากการสืบค้น ประวัติและข้อมูลการรักษาที่เป็นปัจจุบัน และ 3) พื้นที่ให้บริการเป็นชุมชนชนบทไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบซอฟต์แวร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยของหน่วยงานแพทย์เคลื่อนที่ ชนบท ตามความต้องการของหน่วยงาน คือ 1) แต่ละหน่วยงานสามารถออกแบบฐานข้อมูลร่วมกันได้อย่างอิสระ และข้อมูลต้องครอบคลุมในเนื้อหาของทุกหน่วยงาน 2) ระบบฐานข้อมูลกลางต้องสามารถเชื่อมต่อและปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างอัตโนมัติ และ 3) ระบบเจ้าหน้าที่ต้องมีความง่ายในการทำความเข้าใจในการใช้งาน ผลการวิจัยระบบต้นแบบซอฟต์แวร์พบว่า ความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้งานด้านการทำงานได้ตาม ฟังก์ชันงานของระบบอยู่ในระดับดี ( X =4.28) และความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้งานด้านความง่ายต่อการใช้ งานระบบอยู่ในระดับปานกลาง คือ ( X =3.42)รายการ การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลการประกันคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคนิคออนโทโลยี กรณีศึกษา สานักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เศรษฐชัย ใจฮึก; สุรศักดิ์ มังสิงห์การประกันคุณภาพทางการศึกษาคือการดาเนินกิจกรรมและภารกิจต่างๆของการศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ซึ่งได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง สถานประกอบการ ประชาชน และสังคม ดังนั้นจึงเป็นภาระหน้าที่ของหน่วยงานบริการทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ในการรวบรวมข้อมูลกิจกรรมและจัดเก็บผลการดาเนินการต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสาหรับใช้ในการตรวจสอบประกันคุณภาพจากหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องด้วยการสืบค้นข้อมูลที่มีจานวนมากและใช้รูปแบบของคาพูดที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละคานั้นอาจเขียนต่างกัน แต่ยังคงความหมายในเนื้อหาเดียวกัน ทาให้รูปแบบการสืบค้นแบบเดิม(คีย์เวิร์ด) ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้สืบค้นข้อมูลในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้วิจัยจึงออกแบบการสืบค้นข้อมูลการประกันคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคนิคออนโทโลยี เพื่อนามาใช้เป็นดัชนีสืบค้นข้อมูล โดยใช้ภาษา SPARQL ในการสืบค้นข้อมูลเชิงความหมายในโครงสร้างข้อมูลของ OWL และใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นข้อมูลได้หลากหลายโดยครอบคลุมเนื้อหาเรื่องเดียวกันรายการ ระบบตรวจข้อสอบอัตนัยภาษาไทยอัตโนมัติด้วยการสืบค้นเชิงความหมาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เศรษฐชัย ใจฮึก; สุรศักดิ์ มังสิงห์ข้อสอบอัตนัย คือ เป็นข้อสอบที่ไม่มีตัวเลือกคำตอบ แต่ใช้วิธีตอบด้วยการเขียนบรรยาย สำหรับการตรวจให้คะแนน ผู้ตรวจอาจใช้เวลานานเพื่อพิจารณาคะแนนให้เกิดความเหมาะสม ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบการตรวจข้อสอบอัตนัยแบบออนไลน์ สำหรับทดลองใช้กับวิชา “GEN1102 ระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวัน” โดยใช้วิธีการค้นหาและเปรียบเทียบคำศัพท์ อย่างไรก็ตามนักวิจัย พบรูปแบบปัญหาที่เกิดจากคำศัพท์ที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดเกี่ยวกับออนโทโลจีมาใช้แก้ปัญหาด้วยการสร้างความสัมพันธ์เชิงความหมายแล้วส่งต่อไปยังการประมวลผลคะแนน ในการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า ค่าเฉลี่ยความถูกต้อง (precision) ที่ร้อยละ 94.42 ค่าความครบถ้วน (recall) ที่ร้อยละ 59.92 และค่าประสิทธิภาพโดยรวม (f-measure) ที่ร้อยละ 72.52 ส่วนความความแตกต่างระหว่างการให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญกับการให้คะแนนจากระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการสำรวจความพึงพอใจจากการใช้งาน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄=4.49, S.D.=0.52) และผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄=4.21, S.D.=0.70) เช่นกันรายการ ระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พันธิการ์ วัฒนกุล; สุรศักดิ์ มังสิงห์ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 มีประสิทธิภาพ ด้านเทคนิคที่แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่นำมาใช้ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดในมิติ ทางเทคนิคและระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค) โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและเทคโนโลยี สารสนเทศ 5 คน ระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค) ตั้งอยู่บน พื้นฐานของตัวชี้วัดในมิติทางเทคนิคที่ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยการทดสอบกับตัวอย่างห้องเรียนอัจฉริยะเสมือน จำนวน 5 รูปแบบ ที่มีลักษณะทางเทคนิคที่แตกต่างกัน ผลการประเมินพบว่ามีความสอดคล้องกับสมรรถนะ ตามตัวชี้วัดในมิติทางเทคนิคของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนแต่ละแบบ และคะแนนที่ได้รับเป็นตัวบ่งบอกระดับ คุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนตามความสำคัญของน้ำหนักตัวชี้วัด