INF-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ The Development of Digital Retail Store Management Model For Motorcycle Spare Part Distribution Using ODOO Framework(Sripatum University, 2561) Pollatat ChoypengThis research aimed to improve the management of retail stores for motorcycle parts distributor for the agent for traditional vendors into digital. Research tools were Odoo software application, used as a template in order to support and promoted a market overview and trend analysis. Demand and supply needed of the customers as well as conduct planning activities within the shop. The sample consisted of republics general information marketing information data warehouse and collected from 2,000 entries, between 2014 and 2018. The results of this research found that scores the assessment by experts, with the average and standard deviation in level equal to 4.15 and 0.21 respectively. Findings was that the insight information could support sale planning and vendor forecast better. In addition to create multi-dimension reports with inventory analysis, it could support executives to decide business activities and investment policy in various areas of improvement for distribution of motorcycle parts effectivelyรายการ การพัฒนารูปแบบบริหารจัดการร้านค้าปลีกดิจิทัล เพื่อจัดจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ด้วยกรอบการทำงานโอดู(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พลทัต ช้อยเพ็งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการร้านค้าปลีกสำหรับจัดจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ของบริษัทตัวแทนผู้จัดจำหน่ายจากกระบวนการทำงานแบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ซอฟท์แวร์ประยุกต์โอดูมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของตลาด ความต้องการด้านอุปสงค์และอุปทานของลูกค้า รวมทั้งการวางแผนการดำเนินกิจกรรมภายในร้าน โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการตลาดและข้อมูลจากคลังสินค้าที่เก็บรวบรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - 2561 จำนวน 2,000 รายการ ผลการวิจัย พบว่า ผลคะแนนการประเมินคุณภาพด้วยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในระดับดี เท่ากับ 4.15 และ 0.21 ตามลำดับ เนื่องจากผลลัพธ์หลังการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัลช่วยให้การวางแผนการขายสินค้าสำหรับบริษัทผู้จัดจำหน่ายดีขึ้น นอกจากนี้การสร้างรายงานมีมิติการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของคลังสินค้า ยอดขาย ค่าใช้จ่าย และ อื่นๆ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจและกำหนดนโยบายด้านการลงทุนต่างๆ ในกิจการร้านค้าปลีกสำหรับการจัดจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การพัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลที่ผู้ดูแลระบบหน่วยย่อยสามารถออกแบบร่วมกันอย่างอิสระ กรณีศึกษาการจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ในพื้นที่ชนบท(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เศรษฐชัย ใจฮึก; สุรศักดิ์ มังสิงห์งานวิจัยนี้เป็นการแก้ไขปัญหาของระบบการจัดเก็บข้อมูล การให้บริการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยในพื้นที่ชนบท เนื่องจาก 1) ขาดการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน 2) ผู้รับบริการเป็นบุคลไร้สัญชาติ ทำให้มีความยากการสืบค้น ประวัติและข้อมูลการรักษาที่เป็นปัจจุบัน และ 3) พื้นที่ให้บริการเป็นชุมชนชนบทไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้วิจัยได้พัฒนาต้นแบบซอฟต์แวร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยของหน่วยงานแพทย์เคลื่อนที่ ชนบท ตามความต้องการของหน่วยงาน คือ 1) แต่ละหน่วยงานสามารถออกแบบฐานข้อมูลร่วมกันได้อย่างอิสระ และข้อมูลต้องครอบคลุมในเนื้อหาของทุกหน่วยงาน 2) ระบบฐานข้อมูลกลางต้องสามารถเชื่อมต่อและปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างอัตโนมัติ และ 3) ระบบเจ้าหน้าที่ต้องมีความง่ายในการทำความเข้าใจในการใช้งาน ผลการวิจัยระบบต้นแบบซอฟต์แวร์พบว่า ความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้งานด้านการทำงานได้ตาม ฟังก์ชันงานของระบบอยู่ในระดับดี ( X =4.28) และความพึงพอใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้งานด้านความง่ายต่อการใช้ งานระบบอยู่ในระดับปานกลาง คือ ( X =3.42)รายการ การพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลการประกันคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคนิคออนโทโลยี กรณีศึกษา สานักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เศรษฐชัย ใจฮึก; สุรศักดิ์ มังสิงห์การประกันคุณภาพทางการศึกษาคือการดาเนินกิจกรรมและภารกิจต่างๆของการศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ซึ่งได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง สถานประกอบการ ประชาชน และสังคม ดังนั้นจึงเป็นภาระหน้าที่ของหน่วยงานบริการทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ในการรวบรวมข้อมูลกิจกรรมและจัดเก็บผลการดาเนินการต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสาหรับใช้ในการตรวจสอบประกันคุณภาพจากหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องด้วยการสืบค้นข้อมูลที่มีจานวนมากและใช้รูปแบบของคาพูดที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละคานั้นอาจเขียนต่างกัน แต่ยังคงความหมายในเนื้อหาเดียวกัน ทาให้รูปแบบการสืบค้นแบบเดิม(คีย์เวิร์ด) ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้สืบค้นข้อมูลในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ทั้งหมด ดังนั้นผู้วิจัยจึงออกแบบการสืบค้นข้อมูลการประกันคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคนิคออนโทโลยี เพื่อนามาใช้เป็นดัชนีสืบค้นข้อมูล โดยใช้ภาษา SPARQL ในการสืบค้นข้อมูลเชิงความหมายในโครงสร้างข้อมูลของ OWL และใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นข้อมูลได้หลากหลายโดยครอบคลุมเนื้อหาเรื่องเดียวกันรายการ ระบบตรวจข้อสอบอัตนัยภาษาไทยอัตโนมัติด้วยการสืบค้นเชิงความหมาย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เศรษฐชัย ใจฮึก; สุรศักดิ์ มังสิงห์ข้อสอบอัตนัย คือ เป็นข้อสอบที่ไม่มีตัวเลือกคำตอบ แต่ใช้วิธีตอบด้วยการเขียนบรรยาย สำหรับการตรวจให้คะแนน ผู้ตรวจอาจใช้เวลานานเพื่อพิจารณาคะแนนให้เกิดความเหมาะสม ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบการตรวจข้อสอบอัตนัยแบบออนไลน์ สำหรับทดลองใช้กับวิชา “GEN1102 ระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวัน” โดยใช้วิธีการค้นหาและเปรียบเทียบคำศัพท์ อย่างไรก็ตามนักวิจัย พบรูปแบบปัญหาที่เกิดจากคำศัพท์ที่เขียนต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดเกี่ยวกับออนโทโลจีมาใช้แก้ปัญหาด้วยการสร้างความสัมพันธ์เชิงความหมายแล้วส่งต่อไปยังการประมวลผลคะแนน ในการทดสอบประสิทธิภาพ พบว่า ค่าเฉลี่ยความถูกต้อง (precision) ที่ร้อยละ 94.42 ค่าความครบถ้วน (recall) ที่ร้อยละ 59.92 และค่าประสิทธิภาพโดยรวม (f-measure) ที่ร้อยละ 72.52 ส่วนความความแตกต่างระหว่างการให้คะแนนจากผู้เชี่ยวชาญกับการให้คะแนนจากระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการสำรวจความพึงพอใจจากการใช้งาน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄=4.49, S.D.=0.52) และผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับมาก (x̄=4.21, S.D.=0.70) เช่นกันรายการ การพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศสามมิติเชิงแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์ ฟาร์มเกษตร ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) จินตนา ดาวใส; สุขสวัสดี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนมาประยุกต์ใช้แนะนำผลิตภัณฑ์ฟาร์มเกษตรในรูปแบบจำลองสามมิติเชิงโต้ตอบ กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เพื่อทำการทดสอบและประเมินผลงานวิจัย โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เครื่องมือทางสถิติ และ ซอฟท์แวร์ประยุกต์ เอ อาร์ ยูนิตี้ ซึ่งผลการทดสอบโดยใช้เกณฑ์การทดสอบและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า (1) ผลการทำงานของมาร์คเกอร์แบบจำลองอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.53 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 (2) ผลการทำงานของการสร้างโมเดล ฟาร์มเกษตร อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.31 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 และ (3) ผลการทำงานของแอพพลิเคชั่น AR Unity สามารถมองเห็นโมเดลฟาร์มเกษตร ในรูปแบบโมเดล 3 มิติ อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.50 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่าการนำเอาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนมาประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่เจ้าของธุรกิจและผู้ใช้งานทั่วไปเป็นอย่างดี โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.51 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ขยายผลองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสื่อสารสนเทศที่ทันสมัยต่อไปในอนาคตรายการ ระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พันธิการ์ วัฒนกุล; สุรศักดิ์ มังสิงห์ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 มีประสิทธิภาพ ด้านเทคนิคที่แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่นำมาใช้ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดในมิติ ทางเทคนิคและระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค) โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและเทคโนโลยี สารสนเทศ 5 คน ระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษายุค 4.0 (มิติทางเทคนิค) ตั้งอยู่บน พื้นฐานของตัวชี้วัดในมิติทางเทคนิคที่ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยการทดสอบกับตัวอย่างห้องเรียนอัจฉริยะเสมือน จำนวน 5 รูปแบบ ที่มีลักษณะทางเทคนิคที่แตกต่างกัน ผลการประเมินพบว่ามีความสอดคล้องกับสมรรถนะ ตามตัวชี้วัดในมิติทางเทคนิคของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนแต่ละแบบ และคะแนนที่ได้รับเป็นตัวบ่งบอกระดับ คุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนตามความสำคัญของน้ำหนักตัวชี้วัดรายการ การพัฒนาดิจิทัลคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มบนพื้นฐานโครงสร้างบูรณาการของสถาปัตยกรรมองค์กรรูปแบบมาตรฐานโทกาฟ 9.1 กรณีศึกษา ธุรกิจฟาร์มเกษตร อัจฉริยะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วรพจน์ องค์วิมลการงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการวางแผนความต้องการองค์กรกรณีศึกษา ธุรกิจฟาร์มอัฉริยะ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารและสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้ ด้วยระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้ ช่วยลดการทำงานที่ไม่จำเป็น ประหยัดเวลา ลดระยะเวลา และช่วยในการวางแผนต่างๆ โดยใช้แอพพลิเคชั่น โปรแกรมมิ่ง อินเตอร์เฟส (API) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแพลตฟอร์ม โดยแต่ละแพลตฟอร์มส่งข้อมูลเข้าหากันโดยใช้ ไฟล์ข้อมูล (Text File) ในการเชื่อมโยงเข้าหากัน และใช้โอดูเป็นแอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์มในการคัดกรองและจัดรูปแบบข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลที่มีระเบียบ เพื่อง่ายต่อการเรียกใช้งาน จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้ใช้งานพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวางแผนการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยให้องค์กรบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในทุก ๆ กระบวนการขององค์กรได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ดำเนินงานเป็นระบบ ระเบียบตามมาตรฐานสากลและช่วยสะท้อนปัญญาขององค์กร ให้สามารถปรับปรุงหรือควบคุมความเสี่ยงได้รายการ การวิเคราะห์และออกแบบระบบการบริหารงานด้านกำลังพลกองทัพอากาศด้วยหลักการ การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อโณทัย มีสุวรรณระบบการบริหารงานด้านกำลังพลกองทัพอากาศ ทำการบันทึกประวัติของข้าราชการตั้งแต่เริ่มรับราชการจนเกษียณอายุราชการ ลงในสมุดประวัติรับราชการ หรือเรียกว่า สมุดประวัติรับราชการ ของข้าราชการกองทัพอากาศ โดยสมุดประวัติรับราชการจัดทำ จำนวน 2 เล่ม ประกอบด้วย สมุดประวัติ รับราชการฉบับหน่วยต้นสังกัด และสมุดประวัติรับราชการฉบับกรมกำลังทหารอากาศ เมื่อมีการแก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อมูลข้าราชการจะต้องทำการบันทึกในสมุดประวัติรับราชการทั้ง 2 เล่ม ให้ถูกต้องตรงกัน และนำข้อมูลไปบันทึกในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านกำลังพลกองทัพอากาศ จากระบบงานทำให้เกิดปัญหาข้อมูลในสมุดประวัติรับราชการไม่ถูกต้องตรงกัน และระบบงานยังขาดการออกแบบและวิเคราะห์กระบวนงานจัดการเอกสารการบันทึกประวัติข้าราชการอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยจึงนำเสนอการวิเคราะห์และออกแบบระบบการบริหารงานด้านกำลังพลกองทัพอากาศ ด้วยวิธีการ BPM (Business Process Management) แสดงการออกแบบกระบวนงาน (Business Process) ต่าง ๆ ในระบบการบริหารงานด้านกำลังพลกองทัพอากาศ เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมกระแสงาน ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมด จะช่วยทำให้ระบบการบริหารงานด้านกำลังพลกองทัพอากาศ มีกระบวนการที่เป็นมาตรฐานและมีประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชาในการดูแลบริหารจัดการระบบงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรายการ การพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศเชิงกระบวนงานสำหรับติดตามผลดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการกรมที่ดินมาตรฐาน บี พี เอ็ม เอ็น 2.0(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สาวิตรี จันทร์ฮวบงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการทำงานของแบบจำลองระบบสารสนเทศเชิงกระบวนงานสำหรับติดตามผลดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการกรมที่ดิน ผู้วิจัยพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศเชิงกระบวนงานภายใต้มาตรฐาน บี พี เอ็ม เอ็น 2.0 โดยใช้ซอฟต์แวร์บิซากี เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ลดการกระจายตัวของข้อมูลที่จัดเก็บ ลดโอกาสผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนภายใต้กระบวนการทำงาน และช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ตัดสินใจในการบริหารงานกรมที่ดิน กลุ่มงานตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ (1) กองแผนงานบุคลากร (2) สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (3) กลุ่มงานแผนปฏิบัติการกรมที่ดินหน่วยงานส่วนกลาง งานวิจัยนี้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศกรมที่ดิน, ด้านวิเคราะห์นโยบายและด้านแผนการปฏิบัติงานของกรมที่ดิน ซึ่งผลจากการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า (1) ด้านความถูกต้องของกระบวนงานอยู่ในระดับดี ( xˉ = 4 .00, S.D = 1.00), (2) ด้านความถูกต้องของการวิเคราะห์เวลาอยู่ในระดับดี ( xˉ = 4.40 , S.D = 0.89), (3) ด้านความถูกต้องของการวิเคราะห์คนกับงานอยู่ในระดับดี ( xˉ = 3.80 , S.D = 0.84) และ (4) ด้านความสะดวกต่อการวิเคราะห์/วางแผนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดี (xˉ = 4.40 , S.D = 0.89 ) นอกจากนี้ผลจากการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังจากการปรับปรุงอยู่ในระดับดี (xˉ = 4.15 และค่า S.D = 0.90) เนื่องจากระบบมีการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ข้อมูลปลอดภัย ใช้งานง่ายตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ดังนั้นงานวิจัยนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนงานของกรมที่ดินให้เกิดความถูกต้องทันสมัยกว่าเดิม และองค์ความรู้นี้ยังสามารถนำไปใช้ขยายผลด้านวิชาการในอนาคตต่อไปรายการ การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) จุฑามาศ เพิ่มพูนเจริญยศการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบเดิมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค พบว่า คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะ ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีความเหมาะสมมากและมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ที่ระดับคะแนน 4.02 ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบเดิมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะ พบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ภายหลังการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะที่ระดับค่าเฉลี่ย 7.24 ดีกว่าการจัดการเรียนรู้แบบเดิม ที่ระดับค่าเฉลี่ย 5.13 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านผู้สอนและปัจจัยด้านอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยทางสถิติ .05 สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ร้อยละ 70.10 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจมาก โดยพบว่ามีระดับค่าเฉลี่ยที่ 4.14รายการ การวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาโดยใช้หลักการ BUSINESS PROCESS MANAGEMENT(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) แพรวพรรณริณ์ ด้วงเจริญปัจจุบันในสถาบันศึกษามีผู้กู้ยืมเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวนมากขึ้น มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ในรูปแบบเอกสาร ในแต่ละปีการศึกษาก็จะมีผู้กู้รายใหม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีผู้กู้รายเก่าที่ยังต้องทำสัญญาต่อในปีการศึกษาใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่ารูปแบบเอกสารจะมีเพิ่มขึ้นในทุกปีการศึกษา ทำให้ยุ่งยากในการค้นหาและจัดการเอกสาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์และออกแบบระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยใช้หลักการจัดการกระบวนการธุรกิจ (Business Process Management (BPM)) งานวิจัยนี้ใช้ซอฟต์แวร์ Bizagiในการออกแบบแบบจำลองและแผนภาพ BPMN โดยแสดงแต่ละขั้นตอนการทำงานของกระบวนการเงินกู้ยืม แบบระบบการจัดเก็บเอกสารเพื่อประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานและผู้บริหารในการนำกระบวนการที่ออกแบบใหม่ของระบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาไปใช้อย่างมีประสิทธิผล การทำงานกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจากการทดสอบและใช้งานจริงพบว่าระบบงานที่ได้ออกแบบขึ้นมานั้นได้ช่วยในการจัดเก็บเอกสารข้อมูลของนักศึกษาเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานรายการ การพัฒนาแบบจำลองอัจฉริยะด้านสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของงบการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พรทิพย์ ผดุงพจน์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองธุรกิจอัจฉริยะเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงของงบการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยเทคนิคมาร์คอฟ เชน มอนติคาร์โล เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบจำลองเชิงสถิติด้วยเทคนิคมาร์คอฟ เชน มอนติคาร์โล และไมโครซอฟต์พาวเวอร์ บีไอ กลุ่มตัวอย่างจากข้อมูลงบการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ตัว (อ้างอิงจากเกณฑ์การตรวจสอบเงื่อนไขการปล่อยกู้ยืมเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กำหนดอ้างอิงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย) ได้แก่ หนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน, เงินลงทุนและ สภาพคล่องทางการเงิน ผลจากการทดสอบและประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านงบการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์พบว่าแบบจำลองนี้สามารถพยากรณ์ความความเสี่ยงจากงบการเงินได้ถูกต้องระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยความถูกต้องของผลลัพธ์การพยากรณ์ ที่ 4.54 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.34) และผลการประเมินในภาพรวมระดับมาก (มีค่าเฉลี่ย 4.03 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.15) ดังนั้นผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้จะช่วยให้การปรับปรุงการบริหารงบการเงินสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ในอนาคตรายการ การจัดทำแนวทางการตรวจสอบภายในตามมาตรฐาน ISO 27001 : 2013 กรณีศึกษาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ภัทราพร โชติมหาานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษามาตรฐาน ISO 27001 เพื่อจัดทำแนวทางการตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้ตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับแนวทางตามมาตรฐาน ISO 27001 และสอดคล้องกับการดำเนินงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทำให้ผู้ตรวจสอบภายในมีแนวทางการตรวจสอบที่เป็นมาตรฐานสากล และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น และทำให้มั่นใจได้ยิ่งขึ้นว่าการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรมีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศตามมาตรฐานสากล โดยการประเมินความพึงพอใจแนวทางการตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ตรวจสอบภายใน มีผลความพึงพอใจโดยรวมด้านรูปแบบ เนื้อหา และการนำไปประยุกต์ใช้งาน เท่ากับ 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.33 ซึ่งอยู่ในระดับมากรายการ การพัฒนาแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มข้อมูลเค-มีน.(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ฐิตาภรณ์ เดชวิริยะวงศ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวิเคราะห์ความเสี่ยงแบบอัจฉริยะของผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นด้วยไมโครซอฟท์ พาวเวอร์ บีไอ ซึ่งโรคนี้ปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทของโรคที่พบบ่อยทางสาธารณสุขประเทศไทย โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ (1) ไมโครซอฟท์เพาเวอร์ บีไอ และ (2) ข้อมูลสถิติจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น งานวิจัยครั้งนี้มีการทดสอบและประเมินผลโดย (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, โสต ศอ นาสิกแพทย์, (2) สมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย และ (3) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลสารสนเทศ ผลจากงานวิจัยพบว่า ค่าระดับของความเสี่ยงขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายรวมถึงประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมกรรมการดำรงชีวิต และโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มเค-มีนสามารถจำแนกผู้ป่วยที่มีค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่มีอาการของโรคในระดับรุนแรง มีจำนวน 48.7 % คิดเป็นร้อยละ 48.7 (2) กลุ่มที่มีอาการของโรคระดับปานกลาง มีจำนวน 27.4 % คิดเป็นร้อยละ 27.4 (3) กลุ่มที่มีอาการของโรคระดับตํ่า มีจำนวน 18.0 % คิดเป็นร้อยละ 18 และ (4) กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เข้าข่ายในตัวชี้วัดทั้งหมด หรือไม่มีภาวะโรคดังกล่าว จำนวน 5.9 % คิดเป็นร้อยละ 5.9 ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยครั้งนี้สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจ และวิเคราะห์สถานการณ์ทางการแพทย์เพื่อสร้างโอกาสความสำเร็จของการรักษา และพัฒนาแนวทางการวินิจฉัยรักษาด้านการแพทย์ในอนาคตต่อไปรายการ การพัฒนาระบบการจัดการนัดหมายของงาน ATF 2018(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วิริยะ รอดโพธิ์ทองสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จัดงานสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างสมาชิกในประเทศภูมิภาคอาเซียน โดยมีกิจกรรมการจัดงานทุกๆปี ทำให้เกิดปัญหาการนัดหมายระหว่างนักธุรกิจกับโรงแรม ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดจัดการบูธของกิจกรรมภายในงานอย่างเป็นระบบ ผ่านเว็บแอพพลิเคชัน โดยใช้โปรแกรม ลาราเวล เฟรมเวิร์ค (Laravel Framework) ของพีเอสพี(PHP) วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษา การทำงานการประยุกต์ใช้ตารางนัดหมายการประชุม(Agenda) สำหรับกลุ่มลุกค้าที่มางานATF2018 2) เพื่อวิเคราะห์ และออกแบบระบบการสร้างตารางนัดหมายระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อในงาน ATF2018 และ 3) เพื่อพัฒนา ระบบนัดหมาย(Appointment) บน (เว็บแอพพลิเคชั่น)Web Application ในงาน ATF 2018 ขอบเขตงานวิจัยทำการพัฒนาระบบงานนัดหมายการประชุมระหว่าง ธุรกิจ กับ ธุรกิจ (Business to Business (B2B)) เพื่อจัดการตารางการนัดหมายระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย ผลงานวิจัยผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบงานในระดับมาก ทั้งนี้ยังสามารถช่วยผู้บริหารและนักธุรกิจสามารถจองกิจกรรมภายในงานเพื่อเป็นไปได้อย่างลุล่วงสมบูรณ์เพื่อไม่ให้เกิดการติดขัดแต่อย่างใดรายการ พัฒนาระบบการจองเวลาออกรอบสนามกอล์ฟบนเว็บ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) มนัสนนท์ โสรัตน์ปัจจุบันความนิยมกีฬา กอล์ฟ ในประเทศไทยได้ขยายวงกว้างจากสังคมระดับสูง มาสู่สังคม ระดับกลาง ส่งผลให้มีกลุ่มลูกค้าและสมาชิก(Membership) ที่มีความต้องการที่จะใช้สนามกอล์ฟ และต้องการทราบถึงรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น กรีนฟี(Green Fee) , แคดดี้(Caddy) และ โปรโมชั่น (Promotion) ซึ่งลูกค้าต้องใช้วิธีการโทรศัพท์ติดต่อ แต่การใช้โทรศัพท์นั้นอาจจะโทรไม่ติด หรือสายไม่ว่าง ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจและอาจจะนำไปสู่การสูญเสียโอกาสทางการค้า ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดนำเอาอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนช่วยในการจัดการระบบการจองเวลาออกรอบสนามกอล์ฟ (Tee – Time Booking) แบบ เรียลไทม์ (Real - time) ผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้โปรแกรม ใช้ วิกส์ บุคกิ้ง (WIX Booking) ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมจากเว็บไซต์ wix.com ในรูปแบบภาษา HTML ซึ่งมีคุณสมบัติในการสร้างแบบฟอร์มการจองได้ดีกว่าการเขียนโค้ดเอง วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระบบการจองเวลาออกรอบ (Tee – Time Booking) ในรูปแบบดั้งเดิมของสนามเบสท์ โอเชี่ยน กอล์ฟ (Best Ocean Golf Club) เพื่อนำไปปรับปรุง และแก้ไข 2) เพื่อวิเคราะห์ และออกแบบระบบการสร้างตารางนัดหมาย (Schedule) ระหว่าง ลูกค้า (Customer) และพนักงาน(Officer) 3) เพื่อพัฒนาระบบTee-Time Booking ของสนามกอล์ฟ เบสท์ โอเชี่ยน ขอบเขตงานวิจัยทำการพัฒนาระบบงานนัดหมายระหว่าง ธุรกิจ กับ ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป (Business to Consumer (B2C)) เพื่อจัดการตารางการนัดหมายระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย ผลงานวิจัยผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบงานในระดับมาก ทั้งนี้ยังสามารถช่วยผู้บริหารพนักงานและลูกค้าได้ช่องทางในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างลุล่วงสมบูรณ์ และไม่เกิดการติดขัดแต่อย่างใดรายการ ะบบอำนวยความสะดวกในการกำหนดค่าและคำนวณที่อยู่ ไอพี ให้กับอุปกรณ์เราเตอร์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) คมชัย ปวโรภาสการกำหนดค่าอุปกรณ์เราเตอร์กระทำโดยใช้อินเทอร์เฟซคำสั่งแบบบรรทัดต่อบรรทัดซึ่งส่งผลให้ต้องใช้เวลานานสำหรับการกำหนดค่าเราเตอร์แบบเดียวกันหลายตัว การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีอำนวยความสะดวกและลดเวลาการการกำหนดค่าให้เราเตอร์ บทความนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการกำหนดค่าและคำนวณที่อยู่ ไอพี กับอุปกรณ์เราเตอร์ โดยการกรอกข้อมูลการกำหนดค่าที่ต้องการผ่านเว็บอินเตอร์เฟสและประมวลผลให้เป็นคำสั่งใช้พร้อมใช้งาน การศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบกับอุปกรณ์เราเตอร์ซิสโก้ ผลการทดสอบพบว่าการกำหนดค่าเราเตอร์ด้วยวิธีการที่เสนอสามารถลดเวลาที่ใช้ในการกำหนดค่าเราเตอร์ได้โดยเฉลี่ย 83.59%รายการ การพัฒนาระบบโฆษณาสื่อนอกบ้านโดยใช้เทคโนโลยีบีคอน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ทวนฤทธิ์ สหแพทย์นับตั้งแต่เราก้าวเท้าออกจากบ้านเราจะพบสื่อโฆษณาต่างๆให้เราเห็นอยู่ตลอดผู้บริโภคมองเห็นโฆษณาผ่านตา เราไม่รู้ว่ามันสร้างการจดจำให้ผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ผู้บริโภคมีฟีดแบคกับมันหรือไม่ ซึ่งท้ายสุดแล้วมันตอบในสิ่งที่แบรนด์ตั้งโจทย์ไว้หรือเปล่า? เมื่อความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น รูปแบบการสื่อสารกับผู้บริโภคจะถูกขับเคลื่อนโดยอุปกรณ์และเทคโนโลยี บทความนี้นำเสนอการออกแบบระบบโฆษณาสื่อนอกบ้านสำหรับนำเสนอข้อมูลข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกต่อผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายบนแนวคิดที่ว่า หากบริการด้วยเนื้อหาข้อมูลได้ตรงใจและเหมาะสมกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สื่อนอกบ้านมีผลกระทบต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าวต้องสามารถเข้าถึงได้ในเวลาที่เหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยีการให้บริการตามตำแหน่งประกอบด้วยแอปพลิเคชันและอุปกรณ์ที่เรียกว่าบีคอน ระบบนี้ได้รับการออกแบบในลักษณะที่เมื่อผู้ใช้เข้าสู่รัศมีพื้นที่ของสัญญาณบีคอนก็จะได้รับเนื้อหาจากจุดกระจายข้อมูลข่าวสารในพื้นที่ที่ผู้ใช้อยู่ซึ่งจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและเพิ่มประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นให้กับผู้ใช้รายการ ระบบธุรกิจอัจฉจริยะเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุบนทางพิเศษ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สุรชาติ วรกุลรังสรรค์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อมุ่งเน้น ไปที่องค์ประกอบของระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารโดยพัฒนาขึ้น ในลักษณะการใช้โปรแกรมระบบธุรกิจอัจฉริยะมาใช้ช่วยในการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุบนทางพิเศษออกแบบระบบการจัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft SQL Server 2017 จากผลการศึกษาและ การประเมินผลความพึงพอใจจากผู้บริหารและพนักงานจำนวน 10 คน พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจ ในการวิเคราะห์ข้อมูลของโปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 4.10 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.08 ซึ่งอยู่ในระดับดี จึงสรุปได้ว่าระบบงานนี้สามารถวิเคราะห์เพื่อประกอบการตัดสินใจ และปรับปรุงแก้ไข เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการช่วยเหลือกรณีเกิดอุบัติเหตุ บนทางพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ