SPU Payathai Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Payathai Campus โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 435
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติ: ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551-05) พระมหาสุดใจ คุนาพันธ์,; KUNAPAN, PHRAMAHA SUDJAIวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติ” : ศึกษาเฉพาะ กรณีบทบาทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการนำนโยบายการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติและปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การศึกษาศึกษาครั้งนี้ เป็น การศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจำนวน ๑๕๙ รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม สำเร็จรูป จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย ด้านเพศ ส่วนใหญ่มีเพศเป็นบรรพชิต คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๕๕ มีอายุระหว่าง ๓๑-๔๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๓๘ มีอายุพรรษาระหว่าง ๑๑-๑๕ พรรษา มีระดับการศึกษาสายสามัญสูงกว่า ปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๙๔ มีระดับการศึกษาทางบาลี ไม่ได้เปรียญธรรม คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๗๐ และมีตำแหน่งการทำงาน ระดับเจ้าหน้าที่ คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๖ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีการการนำ นโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๓.๖๖ ด้านกระบวนการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติในประเทศไทย อยู่ใน ระดับ “มาก” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๓ ด้านความคิดเห็นในเรื่องของการนำนโยบายการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ในระดับ “ปานกลาง” มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๑ และด้านปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปปฏิบัติ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาคารพญาไท มหาวิทยาลัยศรีปทุม II ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ในระดับ “น้อย” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๖ เป็นข้อ คำถามเชิงลบ จากทดสอบสมมติฐานเพื่อค่าความแปรปรวน ในการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรอิสระ กับตัว แปรตาม พบว่า ผู้ริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้านอายุพรรษา และด้านวุฒิการศึกษาสายสามัญ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551-09-25) Jamsat Duangkamonการศึกษาเรื่อง “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายอังกฤษ” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาอันเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้า เพื่อหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆและหามาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการลวงขาย ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอกับสถานการณใ์นปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงเสนอ มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องการละเมิดและค่าเสียหาย และประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องการละเมิดเครื่องหมายการค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษ โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ถึงการลวงขาย การเรียกค่าเสียหายและโทษจากการลวงขายเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียง การบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้าอันเกี่ยวกับการลวงขาย ซึ่งจาก การศึกษาทำให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหาอันเกี่ยวกับการลวงขายว่าเกิดจากการที่บทบัญญัติของกฎหมายยังไม่ชัดเจนในหลายประเด็น กล่าวคือ ปัญหาเกี่ยวกับการลวงขายที่ยังไม่มีคำนิยามเฉพาะ ปัญหาเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหาย ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษในการที่จะป้องกันมิให้มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าอันเกิดจากการลวงขาย ซึ่งปัญหาของการลวงขายเครื่องหมายการค้านั้นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบแก่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากการลวงขายนั้นเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจ โดยผลกระทบที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับเป็นต้นว่า ผลกำไรจากการจำหน่ายสินค้าลดลง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือค่านิยมทางการค้า ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องดำเนินคดีจากการศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้า ทำให้ได้ ข้อสรุปว่ากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้านั้นยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคดีลวงขายต่าง ๆ ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลวงขายโดยกำหนดเป็นคำนิยามเฉพาะเพื่อให้การวินิจฉัยคดีนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนเรื่องการเรียกค่าเสียหายและบทกำหนดโทษก็ให้มีการบัญญัติขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะโดยไม่จำต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดคดีเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้า และเมื่อมีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะแล้วก็จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความคุ้มครองจากการลวงขายเครื่องหมายการค้าได้อย่างเต็มที่การศึกษาในครั้งนี้จึงมีประโยชน์และนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้าจากผู้กระทำความผิดได้ โดยจะได้มีการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับการลวงขาย และการให้ความคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจการค้า และผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางใน การนำไปพิจารณาและหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปในทางที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายในการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย(บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาคารพญาไท มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551-10-07) SANGPRADUP, SUPAT; แสงประดับ, สุภัทรการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภคเพื่อรักษาสิทธิของตน (Access to Justice ) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights,1966) ซึ่งนับว่าเป็นตราสารที่สำคัญที่สุดและมีสถานะเป็นสนธิสัญญาที่ประมวลสิทธิต่างๆ ที่เป็นสากลไว้ ดังนั้น หลักการต่างๆ ในกติกาฯ จึงเป็นพันธกรณีที่รัฐภาคีทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทยที่เข้าเป็นภาคีแล้วนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลัก Pacta Sunt Servanda คือ สนธิสัญญาที่มีผลใช้บังคับแล้วย่อมผูกพันภาคีของสนธิสัญญานั้น ให้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาโดยหลักสุจริต ดังนั้น การบัญญัติกฎหมายภายในของไทยเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว จะต้องกระทำตั้งแต่กฎหมายสูงสุด คือ “รัฐธรรมนูญ” และกฎหมายระดับรองลงมา อันได้แก่ กฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ “พระราชบัญญัติ” วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งที่จะศึกษาวิจัยระบบการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งจะเป็นการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภคเพื่อรักษาสิทธิของตนได้อย่างแท้จริงแล้วหรือไม่ โดยศึกษาวิจัยตั้งแต่กระบวนการก่อนนำคดีผู้บริโภคขึ้นสู่ศาลยุติธรรม โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งกระบวนการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม โดยเฉพาะระบบการฟ้องและการพิจารณาคดีผู้บริโภค การอุทธรณ์และฎีกา วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล และการได้รับชดใช้เยียวยาในคดีผู้บริโภค จากการวิจัยพบว่า ระบบองค์กรที่จะดำเนินคดีแทนผู้บริโภคซึ่งเป็นกระบวนการก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาลในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภคนั้น ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มิใช่องค์กรอิสระ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้ง กระบวนการได้มาซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อมาเป็นกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 8 คน มาจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารแต่งตั้งก็ด้วยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง และไม่มีกฎหมายกำหนดกระบวนการได้มาผู้ทรงคุณวุฒิไว้แต่อย่างใด จึงสามารถแต่งตั้งและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล นั่นหมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฝ่ายการเมืองสามารถแทรกแซงได้ตลอดเวลา ยังผลให้คดีที่ผู้บริโภคร้องเรียนดำเนินคดีผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเหตุแห่งการมีส่วนได้เสียหรือการมีผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีดังกล่าวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่กำหนดให้มีองค์กรเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ และขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญและหลักสิทธิมนุษยชนหรือกติการะหว่างประเทศ ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภค สำหรับสมาคมที่จะดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ตามกฎหมายกำหนดให้เฉพาะแต่สมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองเท่านั้น ซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนจดทะเบียนรับรองที่ยุ่งยาก ทำให้นับแต่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน มีสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองเพียง 4 สมาคมเท่านั้น นอกจากนี้ สมาคมดังกล่าวยังขาดซึ่งเงินทุนในการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรับรองให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย ในกรณีการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ การไกล่เกลี่ยของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมักจะไม่ประสบผลสำเร็จเป็นเหตุให้การดำเนินคดีผู้ประกอบธุรกิจต้องล่าช้าออกไป และจากสถิติ ผู้ประกอบธุรกิจมักจะไม่เชื่อฟังหรือขัดคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้ดำเนินคดี ผู้ประกอบธุรกิจรายใดแล้ว เมื่อคดีนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยรวม มักจะให้มตินั้น มีผลต่อผู้บริโภครายอื่นที่ได้ร้องเรียนลักษณะเดียวกัน หรือที่จะมาร้องเรียนในภายหน้าด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ไม่ได้กำหนดให้อำนาจเรื่องนี้ไว้ สำหรับกระบวนการพิจารณาคดีผู้บริโภค พบว่า องค์กรที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายวิธี สบัญญัติ กับ พระราชบัญญัติความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินคาที่ไมปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ยังเกิดความ ลักลั่นกันอยู่ กล่าวคือ องค์กรที่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 นั้น มีได้เฉพาะคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองเท่านั้น แต่พระราชบัญญัติความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินคาที่ไมปลอดภัย พ.ศ. 2551 องค์กรที่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม และมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค แสดงให้เห็นว่า กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวมีปัญหาขัดหรือแย้งทางข้อกฎหมายอย่างชัดเจน ในกรณีที่มูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองจะมีสิทธิดำเนินคดีแทนผู้บริโภคหรือไม่ เพราะกฎหมายวิธีสบัญญัติไม่ได้รองรับไว้แต่อย่างใด นอกจากนี้ การไกล่เกลี่ยคดีและการระงับข้อพิพาทคดีผู้บริโภคในบางคดีที่เป็นคดีเล็กๆ น้อยๆ กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคยังไม่มีกระบวนการหรือวิธีการไกล่เกลี่ยโดยคู่ความหรือการดำเนินคดีโดยประชาชน (Citizen Suit) ที่คู่ความเข้ามาในคดีนี้จะต้องสละสิทธิการมีทนายความในการดำเนินคดี ดังเช่น ประเทศสิงค์โปร์ ที่มี Small Claims Tribunal หรือประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ที่มี Small Claims Courts เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยสามารถกระทำได้ในคดีผู้บริโภค แต่ต้องไม่นำมาใช้ในคดีอาญาเพราะจะขัดต่อสิทธิของจำเลยในคดีอาญาตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กระบวนการนำสืบตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดภาระการพิสูจน์ว่าใคร มีหน้าที่สืบก่อนก็ได้ เพียงแต่ว่าถ้าศาลเห็นวา ขอเท็จจริงดังกลาว อยูในความรูเห็นโดยเฉพาะของคูความฝายที่เปนผูประกอบธุรกิจ ใหภาระการพิสูจนในประเด็น ดังกลาวตกอยูแกคูความฝายที่เปนผูประกอบธุรกิจเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงความเสียหายในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนในกระบวนการผลิต เห็นว่า ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายไม่อาจพิสูจน์ถึงเหตุแห่งความเสียได้ว่าเป็นความผิดพลาดของผู้ใดได้ กฎหมายดังกล่าวจึงมิได้มีการนำหลักความรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict Liability) มาใช้ในคดีผู้บริโภคของไทย ที่กฎหมายสันนิษฐานว่า ผู้ประกอบธุรกิจมีความผิดแม้มิได้มีการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่ผู้ผลิตหรือผู้ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องรับผิดนี้ อาจพิสูจน์เพื่อพ้นความรับผิดได้ ในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหายจำนวนมาก การฟ้องคดีผู้บริโภคของไทยยังอยู่ในลักษณะคดีที่ผู้เสียหายต่างคนต่างฟ้อง แม้ได้รับความเสียหายจากเหตุเดียวกันก็ตาม ซึ่งไม่สอดคล้องแนวความคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีจำนวนจำกัด ที่คำพิพากษาของศาลในแต่ละคดีอาจจะทำให้ผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มที่ยังไม่ได้ฟ้องคดีลดลงหรืออาจทำให้ทรัพย์สินของจำเลยลดลงเรื่อยๆ และไม่เพียงพอต่อการชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายที่ฟ้องคดีในภายหลัง หรือผู้บริโภคที่ฟ้องมาภายหลังไม่ได้รับการชดใช้เยียวยาเพราะ เหตุแห่งการที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดีหรือล้มละลายไปแล้ว ดังนั้น จึงพบว่า การฟ้องคดีผู้บริโภคของไทยมิได้นำหลักการดำเนินคดีกลุ่ม (Class Action) มาใช้นั่นเอง กล่าวคือ เมื่อมีการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ที่มีข้อเรียกร้องหรือส่วนได้เสียร่วมกัน (Common Interest) และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการที่ตนถูกโต้แย้งสิทธิในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำเดียวกันของจำเลย ก็ควรที่จะฟ้องคดีเข้ามาด้วยกันเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาและตัดสินเสียไปในคราวเดียวกัน กรณีการฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถือเป็นที่สุดนั้น กฎหมายกำหนดจะฎีกาได้เฉพาะเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ต้องตีความและเป็นดุลพินิจของศาล บทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่ถือว่าเป็นการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลสูงที่มีจำนวนผู้พิพากษาอยู่อย่างจำกัด ซึ่งในระบบการฎีกาในคดีแพ่งของต่างประเทศนั้น จะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น และปัญหาข้อกฎหมายที่ยื่นมานั้น ศาลฎีกาอาจปฏิเสธได้ หากเป็นการฎีกาในข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระสำคัญและเป็นฎีกาที่ไม่มีโอกาสที่จะชนะคดี ในส่วนของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จะพบว่า ผู้บริโภคจะต้องดำเนินการบังคับคดีด้วยตนเองซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยาก จากบทบัญญัติของกฎหมายทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการชดใช้เยียวยาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ทั้งที่ ในกระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภค กฎหมายกลับกำหนดให้มีองค์กรดำเนินคดีแทนผู้บริโภคได้ จึงเห็นควรกำหนดให้มีระบบองค์กรที่จะบังคับคดีให้ผู้บริโภคด้วยรายการ แม่ .. กับการให้ และความรักที่ไม่สิ้นสุด(2553-08-30T04:30:36Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจแม่ .. กับการให้ และความรักที่ไม่สิ้นสุดรายการ คุณลักษณะผู้นำในแบบฉบับสตีฟ จ็อบส์(2553-09-24T03:47:56Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจคุณลักษณะผู้นำในแบบฉบับสตีฟ จ็อบส์รายการ ผลสำรวจค่าจ้าง ปี 2553-2554 (เฉพาะจบใหม่ ไม่เคยมีประสบการณ์)(2553-10-28T02:51:36Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจผลสำรวจค่าจ้าง ปี 2553-2554 (เฉพาะจบใหม่ ไม่เคยมีประสบการณ์)รายการ สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่เลือกได้และพอเพียง(eEnterprise, 2553-12) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจรายการ ผลสำรวจค่าจ้าง ปี 2553-2554 (เฉพาะผู้มีประสบการณ์)(2553-12-07T04:46:12Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจผลสำรวจค่าจ้าง ปี 2553-2554 (เฉพาะผู้มีประสบการณ์)" ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจรายการ ทำอย่างไรให้มองเห็นความสุข(2554-01-20T03:52:36Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจรายการ ทำอย่างไรให้เกิดความสุขในที่ทำงาน(2554-03-03T09:28:05Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจทำอย่างไรให้เกิดความสุขในที่ทำงานรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการปฎิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาเครือโรงพยาบาลพญาไท(2554-03-23T10:44:38Z) วีรวรรณ สิงหสุริยะรายการ ความหลากหลาย generations ของคนในองค์กร(2554-03-31T09:02:20Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจความหลากหลาย generations ของคนในองค์กรรายการ อาเซียนบังเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน(2554-05-13T09:47:26Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจอาเซียนบังเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานรายการ CSR แท้จริง แล้วทำกันอย่างไร?(2554-06-13T12:59:10Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจรายการ CSR แท้จริงแล้ว ทำกันอย่างไร(2554-06-15T08:17:40Z) ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจCSR แท้จริงแล้ว ทำกันอย่างไรรายการ ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีต่อรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล(2554-07-13T07:52:43Z) ภัทร บัวแย้มการศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาระดับของปัญหาและความต้องการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายผลการศึกษา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์การผันแปรหรือการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) และการวิเคราะห์การจำแนกแบบพหุ (Multiple Classification Analysis: MCA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษามีดังนี้ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี เป็นโสด จบการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ส่วนบุคคลโดยเฉลี่ยต่อเดือน อยู่ระหว่าง 15,000 – 30,000 บาท ประสบการณ์การใช้บริการรถไฟฟ้า สายเฉลิมรัชมงคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ใช้บริการน้อยกว่า 6 ครั้ง / เดือน นิยมใช้ตั๋วเดินทางเที่ยวเดียว มีระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า น้อยกว่า 15 นาที สถานีต้นทางที่ใช้เป็นประจำ คือ สถานีสวนจตุจักร สถานีปลายทางที่ใช้เป็นประจำ สถานีสุขุมวิท และวิธีการเดินทางเพื่อมาขึ้นรถไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้รถโดยสารสาธารณะ เหตุผลของการใช้หรือไม่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พบว่า ส่วนใหญ่มีเหตุผลในการใช้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ใช้บริการ คือ สามารถประหยัดเวลาในการเดินทาง ปัญหาของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พบว่า ในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีปัญหาด้านราคามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความปลอดภัย ด้านบริการ และด้านสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า ลำดับ และความต้องการให้ปรับปรุงการให้บริการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พบว่า ในภาพรวมต้องการให้ปรับปรุงในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า อาชีพของผู้ใช้บริการมีอิทธิพลต่อระดับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร้อยละ 60.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่เหลืออีก ร้อยละ 40.40 เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ และพบว่าระยะเวลาในการใช้บริการของผู้ใช้บริการ และปัจจัยประสบการณ์การใช้บริการและเหตุผลของการใช้บริการร่วมกัน มีอิทธิพลต่อระดับปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร้อยละ 41.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่เหลืออีก ร้อยละ 58.20 เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางตามการรับรู้ของพนักงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน กรณีศึกษา:โรงงานยาสูบ ส่วนกลาง(2554-09-09T09:09:07Z) เรย์ณุวรรษ ทัศมาลัยการวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางตามการรับรู้ของพนักงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน กรณีศึกษาโรงงานยาสูบ ส่วนกลาง" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางตามการรับรู้ของพนักงาน ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการบริหารผลปฎิบัติงานและผลการปฎิบัติงานของพนักงานปฎิบัติการของโรงพยาบาลเอกชน(2554-09-09T10:11:06Z) พิจิตรา ใช้เอกปัญญาการวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการของโรงพยาบาลเอกชน" โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อศึกษาถึงระดับความคิดเห็นเรื่องระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล 2.เพื่อศึกษาถึงระดับผลการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการ 3.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเรื่องผลการปฏิบัติงานรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการปฎิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาเครือโรงพยาบาลพญาไท(2554-09-09T10:34:45Z) วีรวรรณ สิงหสุริยะการวิจัยเรื่อง "ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษา : เครือโรงพยายบาลพญาไท" มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ เครือโรงพยาบาลพญาไทรายการ ความผูกพันต่อองค์การและผลที่ตามมาของความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงงานแปรรูปอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี(2554-09-09T10:48:23Z) ปัทมา อ่อนคำการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานมีความสัมพันธ์