งานวิจัยของคณาจารย์
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู งานวิจัยของคณาจารย์ โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 6 ของ 6
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาเชิงเปรียบเทียบกฎหมายควบคุมสารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีในสหภาพยุโรปและประเทศไทย(2549) พลวัน, สุรีย์ฉายรายการ บทบาทของรัฐธรรมนูญเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2550) จำรัสศรี, ปรีชาการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดได้รับรองสิทธิ เสรีภาพและมีกฎหมายบัญญัติให้การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มีการปฏิรูประบบการเมืองเพื่อให้การพัฒนาประชาธิปไตยได้ยั่งยืนตลอดไป มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญญาประชาคมระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองซึ่งได้แก่ประชาชนทั้งประเทศ การพัฒนาประชาธิปไตยจะไปด้วยดี ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจและความศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีหลักการที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดให้มีรัฐธรรมนูญและการร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงแสดงประชามติรายการ ศึกษาขอบอำนาจของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) นพดล ปกรณ์นิมิตดีการศึกษาเรื่องขอบอำนาจของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสถานะความเป็นนิติบุคคล อำนาจหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ รูปแบบบทบัญญัติว่าด้วยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในฐานะนิติบุคคลที่ควรมีในกฎหมาย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องบทบาทอำนาจหน้าที่ และความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัยที่ควรมีเหมือนกันทั้งของรัฐและเอกชน อันเนื่องจากมีปัญหาข้อกฎหมายบางประการที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ชัดเจน ได้แก่ ปัญหาในเรื่องขอบอำนาจของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมาย ที่ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล แต่กลับมีบทบัญญัติในเรื่องจำกัดขอบอำนาจตามความในมาตรา 74 อันอยู่ในหมวดว่าด้วยการกำกับและควบคุม การกำหนดโทษทางอาญาในกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวนถึง 20 มาตรา ในขณะที่กฎหมายสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีเพียง 1-2 มาตรา ซึ่งหากมีการยกเลิกและบัญญัติเพิ่มเติมกฎหมายให้ชัดเจนก็จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางกฎหมายระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ปัญหาเหล่านี้จากการศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปรับปรุงดังนี้ 1. ควรยกเลิกมาตรา 74 และบทบัญญัติในหมวดการกำกับและควบคุม ให้เหลือเท่าที่จำเป็น 2. ควรยกเลิกบทบัญญัติในส่วนบทกำหนดโทษ ให้เหลือเพียง 1-2 มาตรา 3. ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในหมวด 3 การดำเนินงาน ให้มีบทบัญญัติเฉพาะว่า ด้วยอำนาจหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 4. ควรมีการแบ่งประเภทและระดับการกำกับและควบคุมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไว้ในกฎหมายรายการ ปัญหาทางกฎหมายในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) มหาแถลง, นฤพรการศึกษาเรื่องปัญหาทางกฎหมายในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัญหาในทางกฎหมาย รวมถึงปัญหาในทางปฏิบัติในการใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยศึกษาถึงลักษณะการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องของฐานความผิด บทบาทอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และในเรื่องของพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นี้ มีลักษณะที่แตกต่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่น โดยกฎหมายมุ่งคุ้มครองประโยชน์สูงสุดในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในบางกรณีจึงถูกควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจจากหน่วยงานอื่น เช่น เรื่องขอบอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องขออนุญาตศาลตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 18(1) (2) และ (3) เจ้าพนักงานสามารถใช้อำนาจในการสอบถาม เรียกบุคคล ขอข้อมูลที่ผู้ให้บริการเก็บไว้ได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากศาล ตามความในมาตรา18(3) อ้างถึง มาตรา 26 กำหนดให้ผู้บริการต้องเก็บข้อมูลย้อนหลัง 90 วัน และเจ้าพนักงานก็เรียกตรวจสอบได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ให้บริการ ซึ่งอาจจะต้องปรับกฎหมายหรือกระจายภาระในการจัดเก็บข้อมูลไปให้แก่หน่วยงานย่อยๆ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้นประสบปัญหาต่อการใช้อำนาจในกรณีที่ต้องขออนุญาตจากศาล อีกทั้งความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดแม้กระทั่งทำให้กรณีที่ทำให้ข้อมูลถูกเปิดเผยโดยประมาท และปัญหาในเรื่องการประสานงานระหว่างของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฯกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปัญหาเหล่านี้ จากการศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุง ดังนี้ 1. แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550ในกรณีของการทำสำเนาข้อมูลของคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 18(4) อาจกระทำได้สำหรับกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนหรือเกรงว่าผู้ต้องหาหรือพยานบุคคลอาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำสำเนาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตศาล 2. แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23 ในเรื่องความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อาจต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติฯแม้กระทำโดยประมาทในกรณีที่เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับตามมาตรา 18 3. สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการประสานงานระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในเรื่องของคดีการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์รายการ ผลกระทบอันเกิดจากการแก้ไขกฎหมายแรงงาน; ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) สุวรรณน้อย, เจียมจิตวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการในการคุ้มครองแรงงาน แนวคิดพื้นฐาน แนวทางและความหมายของการคุ้มครองแรงงาน รวมถึงการให้ความคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ เริ่มต้นจากสังคมในยุคโบราณจนพัฒนาความสัมพันธ์ขึ้นในลักษณะจ้างแรงงาน ต่อมาในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นศตวรรษที่ ๑๙ ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม นายจ้างส่วนใหญ่อยู่ในฐานะที่ได้เปรียบลูกจ้าง ทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทแรงงานเพิ่มขึ้น รัฐจึงเข้าแทรกแซงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมโดยวิธีตรากฎหมายคุ้มครองแรงงาน ในอดีตของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีระบบจ้างงานลักษณะคล้ายสัญญาเช่าหรือยืม บทบัญญัติกฎหมายตราสามดวงแสดงถึงการปะปนกันอยู่ของสัญญาประเภทต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเลิกทาส เริ่มมีความคิดนำกฎหมายอย่างประเทศตะวันตกมาใช้ จนกระทั่งปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงได้ยกเลิกกฎหมายตราสามดวงและนำประมวลกฎหมาย (Code Law) มาใช้แทน สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ถึงบรรพ ๔ และสมัยรัชกาลที่ ๘ ได้ประกาศใช้ บรรพ ๕ และบรรพ ๖ การยกร่างประมวลกฎหมายทั้งหกบรรพจึงเสร็จสมบูรณ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๖ ว่าด้วยจ้างแรงงาน ได้วางแนวคิดและพื้นฐานให้คู่สัญญาแสดงเจตนาทำข้อตกลงบนพื้นฐานหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนาที่เท่าเทียมกัน แต่นายจ้างส่วนใหญ่อาศัยความได้เปรียบของตนกำหนดให้ลูกจ้างเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานตามที่นายจ้างกำหนดแต่ฝ่ายเดียว ด้วยเหตุนี้รัฐในฐานะผู้ปกครองจึงเข้าแทรกแซง รวมทั้งทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งเพื่อยุติปัญหาโดยสันติวิธี เครื่องมือที่รัฐจะใช้ในการสร้างสมดุลอำนาจต่อรองของนายจ้างกับลูกจ้าง คือ การออกกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (Labour Protection Law) ขึ้นใช้บังคับเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการใช้แรงงาน โดยวางมาตรฐานขั้นต่ำ (Minimum Standard) ในการใช้แรงงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมตามสมควร ฝ่ายนายจ้างมีความมั่นคงของแรงงานไว้ใช้ในการผลิตหรือบริการที่คงสภาพในระยะยาว การศึกษาผู้วิจัยได้กำหนดหัวข้อในพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบแนวทางการให้ความคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยกำหนดหัวข้อตามลำดับที่มีการแก้ไข คือ ลูกจ้างรับเหมาค่าแรง สัญญาจ้างที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ดอกเบี้ยค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเรียกหรือรับหลักประกัน ลำดับแห่งบุริมสิทธิ การล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้าง ลูกจ้างทดลองงาน การแจ้งการดำเนินการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดเวลาทำงาน การใช้แรงงานหญิง การใช้แรงงานหญิงมีครรภ์ การใช้แรงงานเด็ก ค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุดในงานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เงินชดเชยกรณีนายจ้างจำเป็นต้องหยุดกิจการ การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การย้ายสถานประกอบกิจการ การฝ่าฝืนคำสั่งให้จ่ายเงินของพนักงานตรวจแรงงาน และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ผลการศึกษาพบว่า จากการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ มีทั้งข้อดีและข้อเสียซึ่งผู้วิจัยได้กล่าวไว้โดยละเอียดในบทที่ ๔ พร้อมสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว หวังว่างานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจกฎหมายคุ้มครองแรงงานอยู่บ้างตามสมควรรายการ ความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวกับการยอมความตามประมวลกฎหมายอาญา : ศึกษาเฉพาะความความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามมาตรา 278 (ที่เกิดต่อหน้าธารกำนัล) และความผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 310 ทวิ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) ภู่เจริญศิลป์, สุภัสสรAbstract: การศึกษาเรื่องความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครอบครัวกับการยอมความตามประมวลกฎหมายอาญา : ศึกษาเฉพาะความความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามมาตรา 278 (ที่เกิดต่อหน้าธารกำนัล) และความผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 310 ทวิ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” และ “บุคคลในครอบครัว” ว่าชัดเจน แน่นอน ปราศจากความคลุมเครือ ตามหลักแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 หรือไม่ การที่ “บุคคลในครอบครัว” หมายความรวมถึงบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน จะทำให้มีการขยายความคุ้มครองมากเกินสมควรหรือไม่ อีกทั้งศึกษาว่า หากมีการกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น และเป็นความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 (ที่เกิดต่อหน้าธารกำนัล) หรือความผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 310 ทวิ สมควรหรือไม่ที่จะให้ความผิดเหล่านี้เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่นเดียวกับหลักในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 วรรคสอง ที่ว่า “หากมีการกระทำความความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ด้วย ให้ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ให้เป็นความผิดอันยอมความได้” จากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยเห็นว่า ความหมายของคำว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” และ “บุคคลในครอบครัว” ที่พระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติไว้นั้น มิใช่เป็นกรณีที่บัญญัติไว้ไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน หรือคลุมเครือ แต่เป็นการบัญญัติไว้ในลักษณะกว้าง ๆ ซึ่งจะต้องอาศัยการตีความตามหลักการตีความแห่งกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเห็นว่า คำนิยามของคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น กว้างเกินไป ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะดังนี้ 1. ควรแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของคำว่า “บุคคลในครอบครัว” เป็นดังนี้ “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกันในลักษณะทำนองเครือญาติหรือสมาชิกในครอบครัวเช่นว่านั้น 2. ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยให้เพิ่มความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 (ที่เกิดขึ้นต่อหน้าธารกำนัล) และความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ทวิ ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่นเดียวกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295