Graduate College of Management
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู Graduate College of Management โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 643
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Sports Competition Management Models Affecting Value-added Creation of Businesses in the Thai Sports Industry(Sripatum University, 2024) Niwat Chantharat and Sumana ChantharatThis academic article focuses on studying the format of organizing a sport competition that affects the value-added creation of businesses in the Thai sports industry. This aims to develop a conceptual framework from a review of literature and related documents that can explain the impact of organizing a sport competition that will increase the value-added of the sports industry. The study found that the format of organizing a sport competition emphasizes the approach to organizing a sport competition that uses the evaluation form as a process with a decision-making characteristic that requires information from the evaluation to help in making decisions in 4 aspects: decisions about planning to have guidelines for organizing and assessing risks in the future, decisions about the structure of responsible persons and management structures, decisions about operations, and decisions about reviewing the implementation of the competition at the end of the project to use the results of the operation to plan for the future. Models that focused on this decision-making process contribute to the aim of adding value to sports competition management businesses, which were a significant sector driving the sports industry. This, in turn, would lead to a higher value-added in the sports industry, including innovations in competition management, sports market growth, and increasing popularity.รายการ กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย(2024-12) ปิยากร หวังมหาพร; Whangmahaporn, Piyakornงานวิจัยเรื่องกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยและศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับการ เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพโดยวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายนอก ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศส่งออกแนวคิดการจัดการที่พักอาศัยมายังประเทศไทย ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ จำนวนผู้สูงอายุ นโยบายของรัฐบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นแรงหนุนเสริม กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่ พักอาศัยของประเทศไทยจึงแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1) กระบวนทัศน์ก่อน พ.ศ. 2525: ยุคกำเนิดสถาน สงเคราะห์ผู้สูงอายุ 2) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2525-2539: ยุคสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุเบ่งบาน 3) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2540-2554: ยุคก่อเกิดการสร้างสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนหลักสูงวัยในที่เดิม และ 4) กระบวนทัศน์ พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน: ยุคการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทุกกลุ่มตามหลักสูงวัยในที่เดิม จากกระบวนทัศน์ทั้ง 4 ช่วง ส่งผลให้นโยบายของรัฐบาลไทยแตกต่างกันออกไปจากเดิมมุ่งสร้างสถานสงเคราะห์เฉพาะผู้ยากไร้มาสู่การ จัดที่พักอาศัยภายใต้แนวคิดสูงวัยในที่เดิมโดยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุทุกกลุ่มมากขึ้นรายการ การพัฒนานโยบายผู้สูงอายุตามแนวทางสหวิทยาการ(2024-12) ปิยากร หวังมหาพร; Whangmahaporn, Piyakornบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เข้าใจการศึกษานโยบายผู้สูงอายุตามแนวทางสหสาขาวิชา 2) สำรวจมุมมองสาขาต่าง ๆ ต่อการศึกษานโยบายสาธารณะ เช่น สาขาวิชาวิทยาการว่าด้วย ผู้สูงอายุสาธารณสุข สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา และรัฐประศาสนศาสตร์ 3) ปัญหาอุปสรรค การศึกษานโยบายผู้สูงอายุตามแนวทางสหวิทยาการ และ 4) แนวทางในการส่งเสริมการศึกษาเรื่องผู้สูงอายุ ตามแนวทางสหวิทยาการ การศึกษาพบว่า 1) การทำงานร่วมกันข้ามสาขาวิชาและการบูรณาการมุมมองจาก หลายสาขานั้นเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครอบคลุมและเป็นรากฐานที่แข็งแรงสำหรับการพัฒนานโยบายที่ มีประสิทธิผลและมีคุณภาพสำหรับผู้สูงอายุในสังคมในระยะยาว 2) สาขาที่ศึกษานโยบายสาธารณะ เช่น สาขาพฤฒาวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสูงอายุที่ให้ข้อมูลที่ลึกซึ้งในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับผลกระทบของการสูงอายุต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม 3) ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การศึกษาตามแนวทาง สหวิทยาการไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรในการพัฒนาและการดำเนินนโยบายผู้สูงอายุ อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวาง การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น ความแตกต่างในมุมมอง อุปสรรคในการสื่อสาร ข้อจำกัดด้านทรัพยากร และ 4) การใช้แนวทางสหวิทยาการในการพัฒนานโยบายผู้สู งอายุนี้ยังเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับความซับซ้อนและความหลากหลายของผู้สูงอายุ และนำไปสู่พัฒนานโยบายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในอนาคตรายการ แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับครู(สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สสอท.) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, 2025-02-22) สิรินธร สินจินดาวงศ์; ผุสดี กลิ่นเกษร; พรฟ้า ทองสุขการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของครู 2) เสนอแนะแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของครู กลุ่มเป้าหมายเป็น ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 105 คน และผู้บริหาร นักวิชาการจำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัยคือ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) แบบสัมภาษณ์แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ PNIModifiled และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของครู ด้านการเรียนรู้ที่ใช้ชีวิตในโลกร่วมกัน มีค่าสูงสุด เท่ากับ 0.13 ส่วนด้านอื่นๆ มีค่า PNIModifiled เท่ากับ 0.11, 2) แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตฯ ประกอบด้วย 2.1) ด้านเรียนรู้ ค้นหาและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ได้แก่ การจัดการความรู้ เพื่อแบ่งปันความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง, แหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน, ส่งเสริมให้ครูจัดการให้ผู้เรียนที่สนใจร่วมกัน และเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยความสมัครใจ, ส่งเสริมให้ครูเรียนรู้ด้วยตนเอง ค้นหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ใหม่ๆ, และแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอน แก่ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน 2.2) ด้านการเรียนรู้ที่จะรวบรวมระดมทรัพยากร ได้แก่ สนับสนุนให้ใช้ภาษาต่างประเทศในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ, ส่งเสริมให้ครูมีคุณลักษณะในการพิจารณาข้อมูลเชิงลึก รวบรวมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ก่อนตัดสินใจ, 2.3) ด้านการเรียนรู้ที่ใช้ชีวิตในโลกร่วมกัน ได้แก่ การแชร์ผลงานการสอน หรือผลงานของผู้เรียนเชิงบวกผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์, ครูออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์ ที่เปิดให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงแหล่งความรู้, นโยบายในการส่งเสริมให้ครู ทำงานร่วมกับเพื่อนครู และนำปัญญาประดิษฐ์ AI มาช่วยในการออกแบบบทเรียน, และ 2.4) ด้านการเรียนรู้ที่จะเข้าร่วมและดูแลกัน ได้แก่ สนับสนุนครูให้สามารถสื่อสารกับผู้เรียนอย่างเข้าใจที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน, นโยบายหรือแนวทาง ในการให้ข้อมูลป้อนกลับสู่ผู้เรียนด้วยคำพูดหรือข้อความเชิงบวก, การเขียนสะท้อนผลการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้เรียนรายการ การวางแผนการใช้งานระบบปรับอากาศสำหรับห้องบรรยายของมหาวิทยาลัยศรีปทุม กรณีศึกษา : อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์(2551) ธิติวัฒน์ ศรุติรัตน์วรากุลรายการ รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) ชิตภณ ศานติสุขการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการตัดสินใจในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา รูปแบบการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาครอบคลุม งานบริหารสถานศึกษาทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารวิชาการ 2) ด้านการบริหารงบประมาณ 3) ด้านการบริหารบุคคล 4) ด้านการบริหารทั่วไป ส่วนรูปแบบการตัดสินใจใช้แนวความคิดของวรูมและเยตตัน (Vroom and Yetton) มี 5 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 ผู้บริหารใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และตัดสินใจเอง แบบที่ 2 ผู้บริหารหาข้อมูลจากครูอาจารย์ในโรงเรียนก่อนแล้วตัดสินใจเอง แบบที่ 3 ผู้บริหารหารือกับครูอาจารย์ในโรงเรียนเป็นรายบุคคลแล้วตัดสินใจเอง แบบที่ 4 ผู้บริหารหารือกับครูอาจารย์ในโรงเรียนเป็นกลุ่มแล้วตัดสินใจเองและ แบบที่ 5 ผู้บริหารให้ครู อาจารย์ในโรงเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 316 คนรายการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน(2551-01-31T02:07:43Z) สุมน ถนอมเกียรติการศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวเด็กและเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การไม่ขอประกันตัวของเด็กและเยาวชน ศึกษาถึงความคิดเห็นและความพึงพอใจของบิดามารดา ผู้ปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับมาตรการประกันตัว ศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรค แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและอุปสรรค กำหนดและพัฒนาระบบการประกันตัวต่อการขอปล่อยตัวชั่วคราว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตำรวจจำนวน 73 คน เจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจำนวน 119 คน บิดามารดาหรือผู้ปกครองเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดจำนวน 155 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 347 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์การไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดทั่วประเทศ ปี 2547 เด็กและเยาวชนที่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ95.02 และไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ 4.98 ปี2548เด็กและเยาวชนที่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ94.89 และไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ 5.11 ความคิดเห็นและความพึงพอใจของบิดามารดา ผู้ปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับมาตรการการประกันตัวพบว่า บิดามารดา ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมาตรการการประกันตัวในด้านนโยบาย วิธีการปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว เงื่อนไข ผู้มีสิทธิ์ยื่นคำขอปล่อยชั่วคราว หลักฐานเอกสารประกอบกับการยื่นขอปล่อยชั่วคราว การมอบอำนาจ การใช้หลักทรัพย์ หลักประกัน วิธีการดำเนินการขอปล่อยชั่วคราว การกำหนดจำนวนเงินที่ต้องชำระในกรณีผิดสัญญาประกัน และการถอนหลักประกัน สำหรับด้านอัตราค่าประกันตัวเด็กและเยาวชน บิดามารดา ผู้ปกครองเด็กและเยาวชน ส่วนใหญ่ยังไม่พอใจ ความคิดเห็นของบิดามารดา ผู้ปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว หลักเกณฑ์การปล่อยตัวชั่วคราวพบว่า ในภาพรวมมีความเห็นด้วยมากที่สุด ความคิดเห็นของตำรวจและเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับมาตรการการประกันตัวส่วนใหญ่เห็นด้วย ปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรค ในการไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยปัจจัยเป็นที่เป็นปัญหาอุปสรรคตามความคิดเห็นของบิดามารดา ผู้ปกครอง คือปัจจัยด้านตัวเด็กและเยาวชน ปัจจัยด้านคดีเช่น ความรุนแรงของคดี และปัจจัยด้านฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ตามลำดับ ปัจจัยที่เป็นปัญหา อุปสรรคต่อการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวในภาพรวมพบว่า ปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคอยู่ระดับมากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านหลักเกณฑ์ในการขอปล่อยชั่วคราว ปัจจัยด้านเงื่อนไขสัญญาประกัน และปัจจัยด้านประเภทคดีที่กระทำผิด ตามลำดับ ความคิดเห็นของตำรวจและเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เกี่ยวกับผลกระทบในภาพรวมต่อการไม่ขอปล่อยตัวชั่วคราว พบว่า ส่งผลกระทบในระดับมาก โดยส่งผลกระทบต่อกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดและสถานแรกรับ รองลงมาส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคม และผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ตามลำดับ แนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ปัญหา อุปสรรคต่อการปล่อยตัวชั่วคราว พบว่า ด้านนโยบายกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรกำหนดนโยบายด้านการปล่อยตัวชั่วคราวให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ ด้านเด็กและเยาวชนควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรช่วยเหลือละควรสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อการกระทำผิดให้เด็กและเยาวชนที่ได้รับการพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราว ด้านบิดามารดา ผู้ปกครอง ควรให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ ความเข้าใจแก่บิดามารดา ผู้ปกครองเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้านหลักฐานเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวประเภทคดีที่กระทำผิด หลักเกณฑ์การขอปล่อยตัวชั่วคราว ควรปรับปรุงเกี่ยวกับเกณฑ์ในเรื่องคดีที่กระทำผิดให้ชัดเจน ประกอบการพิจารณาขอปล่อยตัวชั่วคราว ควรปรับเกณฑ์ในการขอปล่อยชั่วคราวสำหรับคดีที่กระทำผิดที่มีโทษสูงสุด โดยพิจารณาเกี่ยวกับประวัติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนประกอบการขอปล่อยชั่วคราว หากมีประวัติและพฤติกรรมไม่มีเรื่องเสียหายร้ายแรง ก็ควรจะได้รับการพิจารณาให้ปล่อยชั่วคราว ด้านอัตราราคาประกันตัวเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาครอบครัว มีปัญหากับบิดามารดา ผู้ปกครองไม่มีที่อาศัย และสภาพแวดล้อมไม่เป็นคุณ ได้พักพิงชั่วคราวในระหว่างที่ได้รับการพิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราว ด้านกลุ่มมิจฉาชีพหรือแก๊งค์ มิจฉาชีพ ควรขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชน ด้านระบบและแนวทางในการขอปล่อยตัวชั่วคราว วิธีการปล่อยและขั้นตอนในการปล่อย กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบและแนวทางในการขอปล่อยชั่วคราว วิธีการปล่อยละขั้นตอนการปล่อยให้ใช้เวลาสั้นลงและลดขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน ด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนในการขอปล่อยชั่วคราว กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรจัดทำสื่อและเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนในการขอปล่อยชั่วคราว ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรปลูกจิตสำนึกให้กับเจ้าหน้าที่ในการทำงานกับเด็กและเยาวชน และผู้ปกครองในการให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆตลอดจนการขอปล่อยชั่วคราว การกำหนดและพัฒนาระบบการประกันตัวชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามความคิดเห็นของบิดามารดา ผู้ปกครอง เห็นด้วยมากที่สุดว่าเด็กและเยาวชนสามารถประกันตัวหรือขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ตลอด 24 ชั่วโมง รองลงมาคือการยื่นขอประกันตัวเด็กและเยาวชนใช้เวลาประมาณ 30 นาที และผู้ปกครองหรือผู้ประกันต้องชำระเงินค่าประกันและทำใบนัดฟังคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ธุรการคดี ตามลำดับ ตามความคิดเห็นของตำรวจและเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด เห็นด้วยมาก ว่าด้านบุคลากรบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ในการขอปล่อยชั่วคราว มีความตั้งใจปฏิบัติงานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอปล่อยชั่วคราวดี รองลงมาประเภทคดีที่กระทำผิด คดีบางประเภทที่ปล่อยชั่วคราวไปอาจเป็นอันตรายต่อสังคม และด้านบิดามารดา ผู้ปกครองควรได้รับคำปรึกษา เพื่อเข้าใจปัญหาของเด็กหรือเยาวชน ก่อนมอบตัวเด็กหรือเยาวชนกลับไปรายการ e-portfolios Development(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2551-02-28) ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์รายการ อุปสรรคในกฎหมายการลงทุนของไทยในการขอบัตรส่งเสริมสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) เตือนใจ ศรีละมัยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและมีบทบาทสำคัญ ในการเป็นรากฐานของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของชาติ นอกจากนั้นก็ยังเป็นกลไกหลักในการฟื้นฟู และเสริมสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจของชาติกับเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจน มีบทบาทในการจ้างงานอันเป็นแหล่งสร้างรายได้ของประชาชนที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากธุรกรรม การผลิต การค้าและบริการในขณะที่เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบและสินค้าขนาดกลางสนับสนุนกิจการขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า เพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก SMEs นำรายได้เข้าประเทศ เป็นแหล่งเริ่มต้นของการฝึกฝนพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานตามแผนรายการ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษาธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) วรายุทธ เอมเดช; Warayoth Amdejการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ กรณีศึกษาธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรายการ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) อัญพัชร์ ปิยะวิชิตศักดิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 225 นาย เลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ (Statified random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 143 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นใช้ a – Coefficient ของครอนบาค มีค่าทั้งฉบับ้ท่ากับ 0.892 และ ค่าความเที่ยงตรง (Validity) โดยหาค่า IOC มีค่าเท่ากับ 0.8973รายการ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลในภาควิชาพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) กวิตา เกิดมงคลการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลในภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลใน ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลใน คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และ ตำแหน่งทางวิชาการ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 108 คน โดยใช้สูตรทฤษฎีลิมิตกลาง (The Central Limit Theorem) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านปัจจัยจูงใจ 6 ด้าน 48 ข้อ ด้านปัจจัยบำรุงรักษา 6 ด้าน 63 ข้อ คุณภาพของเครื่องมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.7 – 1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของ Cronbach ได้ค่าแอลฟ่า เป็นรายด้านอยู่ระหว่าง 0.70 – 0.92 และรวมทั้งฉบับอยู่มีค่า 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตนเองและรับกลับคืนภายหลังจากการแจก 1 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยโดยการใช้ t-test และ f-test เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้ Scheffe testรายการ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพี้นฐาน สำนักงานเขตพี้นที่การศีกษาระยองเขต 1(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) ภคพร น้อยมิ่งการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะผุ้บริหารที่มีประสิทธิภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่สัมพันธ์ลักษณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 จำนวน 125 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 62 ข้อ หาความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมี่ค่าเท่ากับ 0.973 และค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเป็นค่า IOC เท่ากับ 1.00รายการ การศึกษาดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่มีผลต่ออัตราส่วนเฉลี่ยทางการเงิน : กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) กรรณิการ์ ธรรมสรางกูร; Kannika Thammasarangkoonการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงแนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภคและความสัมพันธ์และความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีวัดทางเศรษฐกิจกับอัตราส่วนเฉลี่ยทางการเงินโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลรายการ การศึกษาการจัดการโซ่อุปทานอาหาร กรณ๊ศึกษา : อุตสาหกรรมอินทรีย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) เพชรรัตน์ จำปาเงินการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาการจัดการโซ่อุปทานอาหาร กรณีศึกษา อุตสาหกรรมข้าวอินทรีย์ ศึกษาเฉพาะข้าวหอมมะลิอินทรีย์ โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาถึงแนวคิดในการนำการจัดการโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหอมมะลิอินทรีย์รายการ ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับอำนาจรัฐในการปิดกั้นเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) ขวัญนุช แสนสุข; Kwannuch Sansookประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับกรณีที่เว็บไซต์ต่าง ๆ ถูกปิดกั้น ก่อนที่จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กล่าวคือ หากเป็นการปิดกั้นเว็บไซต์ที่สื่อไปในทางลามก อนาจาร หรือมีความเสียหายต่อราชวงค์ไทย หรือขัดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรรายการ ภาพลักษณ์กับการสื่อสารธนาคารกสิกรไทยในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) เมษรัตน์ เธียรนิธิปกรณ์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ธนาคารกสิกรไทยในกลุ่มนักธุรกิจเอสเอ็มอีรายการ ปัจจัยในการตัดสินใจใช้บริการเงินฝากสลากออมสินพิเศษ สำนักพหลโยธิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) ยุทธนา สุขสำราญการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจใช้บริการเงินฝากสลากออมสินพิเศษของผู้ใช้บริการในสำนักพหลโยธิน และเปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจใช้บริการเงินฝากสลากออมสินพิเศษของผู้ใช้บริการในสำนักพหลโยธินรายการ ความรับผิดชอบในทางละเมิดของผู้ประกอบวิชาชีพ : วิศวกรรมโยธา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) พิลาสินี วัจนมงคลรัตน์"วิชาชีพวิศวกรรมโยธา" เป็นวิชาชีพที่จะต้องใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพเนื่องจากเป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสาธารณชนรายการ การศึกษาการจัดหามันฝรั่งแบบสัญญาลูกไร่เพื่อเป็น วัตถุดิบสำหรับแปรรูปส่งโรงงาน(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) เกรียงไกร ไชยวิศิษฎ์กุล; Kreangkrai Chaivisitkulงานศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาถึงกระบวนการจัดหาวัตถุดิบหัวมันฝรั่ง ที่จะนำไปแปรรูปเป็นสินค้าเพื่อการบริโภค โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงกระบวนการจัดหามันฝรั่งโดยวิธีสัญญาลูกไร่