INF-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู INF-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 15 ของ 15
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนารูปแบบการประยุกต์เว็บสำหรับบริการสารสนเทศของมหาวิทยาลัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2547) วราภรณ์ ถ้ำเขางาม; Waraporn Thamkhaongamรายการ การติดตั้งและประเมินประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์เสมือน กรณีศึกษา: คลาวด์คอมพิวติ้ง บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปิยะพงศ์ จันทร์ปานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำระบบคอมพิวเตอร์เสมือนมาติดตั้งบนระบบคอมพิวเตอร์ของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีศึกษา บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) งานวิจัยนี้ได้ทำการทดสอบเซิร์ฟเวอร์ฟังก์ชันหลัก ทั้ง 4 ระบบได้แก่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ เซิร์ฟเวอร์ DHCP เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล และเซิร์ฟเวอร์สำรอง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ การศึกษาได้ไปทางเทคนิค เพื่อมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการใช้ระบบเซิร์ฟเวอร์เสมือน ให้สามารถเข้าถึงระยะเวลาการเข้าถึงได้ งานวิจัยนี้ได้ใช้การจำลองระบบซิร์ฟเวอร์เสมือนบนโปรแกรม VMware ESXi Server จากผลการประเมินจากผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เสมือนที่พัฒนาขึ้น พบว่าระบบมีประสิทธิภาพ และความพึงพอใจเฉลี่ยการใช้งานอยู่ในระดับดีรายการ การพัฒนาดิจิทัลคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มบนพื้นฐานโครงสร้างบูรณาการของสถาปัตยกรรมองค์กรรูปแบบมาตรฐานโทกาฟ 9.1 กรณีศึกษา ธุรกิจฟาร์มเกษตร อัจฉริยะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) วรพจน์ องค์วิมลการงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการวางแผนความต้องการองค์กรกรณีศึกษา ธุรกิจฟาร์มอัฉริยะ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารและสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้ ด้วยระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้ ช่วยลดการทำงานที่ไม่จำเป็น ประหยัดเวลา ลดระยะเวลา และช่วยในการวางแผนต่างๆ โดยใช้แอพพลิเคชั่น โปรแกรมมิ่ง อินเตอร์เฟส (API) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแพลตฟอร์ม โดยแต่ละแพลตฟอร์มส่งข้อมูลเข้าหากันโดยใช้ ไฟล์ข้อมูล (Text File) ในการเชื่อมโยงเข้าหากัน และใช้โอดูเป็นแอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์มในการคัดกรองและจัดรูปแบบข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลที่มีระเบียบ เพื่อง่ายต่อการเรียกใช้งาน จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้ใช้งานพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวางแผนการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อช่วยให้องค์กรบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในทุก ๆ กระบวนการขององค์กรได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ดำเนินงานเป็นระบบ ระเบียบตามมาตรฐานสากลและช่วยสะท้อนปัญญาขององค์กร ให้สามารถปรับปรุงหรือควบคุมความเสี่ยงได้รายการ การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง ระบบเครือข่ายและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ด้วยบูทสแตรป ฟอนท์เอ็น เฟรมเวิร์ค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) นาถตยา ขุนทองการศึกษาการจัดการระบบสารสนเทศครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ด้านการบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงระบบเครือข่ายและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้วยบูทสแตรปฟอนท์เอ็น เฟรมเวิร์ค กรณีศึกษากองเทคโนยีและสารสนเทศ โรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็ว ในการจัดการงานซ่อมบำรุงทั้งการแจ้งซ่อม บันทึกข้อมูลการซ่อม และออกรายงานสรุปการซ่อม โดยนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลการซ่อมอย่างเป็นระบบ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สามารถเรียกดูประวัติการซ่อมเดิมได้สะดวก รวดเร็ว อีกทั้งผู้ใช้งานสามารถแจ้งซ่อมและตรวจสอบสถานะการซ่อมได้ โดยระบบนี้พัฒนาในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น ผู้วิจัยเลือกใช้มายเอสคิวแอล (MySQL) ในการจัดการฐานข้อมูล และภาษาพีเอชพี (PHP) ในการเขียนคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรมซึ่งระบบทั้งหมดทำงานบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2 (Microsoft Windows Server 2008 R2) และ บูทสแตรป ฟอนท์เอ็น เฟรมเวิร์ค (Bootstrap Front-End Framework) ในการดีไซน์ออกแบบเว็บไซต์ ซึ่ง บูทสแตรป ฟอนท์เอ็น เฟรมเวิร์ค ถูกออกแบบมาให้ทำการแสดงผลได้ทุกอุปกรณ์ ซึ่งทำให้เขียนเว็บแค่ครั้งเดียวสามารถนำไปรันผ่านบราวเซอร์ได้ทั้งบน มือถือ แท็บเล็ต และพีซีทั่วไป โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเขียนขึ้นมาใหม่ ระบบนี้แบ่งผู้ใช้งาน เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนผู้ใช้บริการภายในหน่วยงาน สามารถแจ้งซ่อมและตรวจสอบสถานะงานซ่อมผ่านเว็บไซต์ได้ ส่วนเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง สามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ด้านงานซ่อมบำรุงรักษา เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายได้ สามารถเรียกดูประวัติการซ่อมบำรุงรักษา ดูสถิติการซ่อม และออกรายงานได้ และผู้ดูแลระบบเป็นผู้จัดการข้อมูลผู้ใช้งานและสิทธิ์ของผู้ใช้งานระบบรายการ การพัฒนารูปแบบบริหารจัดการร้านค้าปลีกดิจิทัล เพื่อจัดจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ด้วยกรอบการทำงานโอดู(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พลทัต ช้อยเพ็งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการร้านค้าปลีกสำหรับจัดจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ของบริษัทตัวแทนผู้จัดจำหน่ายจากกระบวนการทำงานแบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ซอฟท์แวร์ประยุกต์โอดูมาใช้เป็นต้นแบบเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของตลาด ความต้องการด้านอุปสงค์และอุปทานของลูกค้า รวมทั้งการวางแผนการดำเนินกิจกรรมภายในร้าน โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลด้านการตลาดและข้อมูลจากคลังสินค้าที่เก็บรวบรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - 2561 จำนวน 2,000 รายการ ผลการวิจัย พบว่า ผลคะแนนการประเมินคุณภาพด้วยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในระดับดี เท่ากับ 4.15 และ 0.21 ตามลำดับ เนื่องจากผลลัพธ์หลังการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัลช่วยให้การวางแผนการขายสินค้าสำหรับบริษัทผู้จัดจำหน่ายดีขึ้น นอกจากนี้การสร้างรายงานมีมิติการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของคลังสินค้า ยอดขาย ค่าใช้จ่าย และ อื่นๆ มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงช่วยให้ ผู้บริหารสามารถตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจและกำหนดนโยบายด้านการลงทุนต่างๆ ในกิจการร้านค้าปลีกสำหรับการจัดจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์ และการตัดสินใจของผู้บริหาร กรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปัทมา เที่ยงสมบุญงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และการตัดสินใจของผู้บริหาร กรณีศึกษากลุ่มโรงพยาบาล โดยใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) ผ่านโปรแกรมไมโครซอฟท์ เพาเวอร์ บีไอ (Microsoft Power BI) และการจัดการฐานข้อมูลด้วยออราเคิล ดาต้าเบส 11จี (Oracle Database 11g) เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้บริหาร โดยนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System) และข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) มาสร้างรายงานอัจฉริยะ (Dashboard) โดยระบบสามารถพยากรณ์ข้อมูลและปรับเปลี่ยนมุมมองในการวิเคราะห์ช่วยในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้อง จากการประเมินความพึงพอใจของระบบโดยผู้บริหารจำนวน 30 คน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 ซึ่งสรุปได้ว่าระบบธุรกิจอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นมาในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารได้เป็นอย่างดีรายการ การพัฒนาระบบคลังข้อมูลร่วมกับการแสดงผลเชิงแผนที่ เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ธีรภัทร ปิยาพันธ์วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบคลังข้อมูลร่วมกับการแสดงผลเชิงแผนที่ เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยใช้เทคนิคการประมวลผลในเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์(OLAP) นำเสนอข้อมูลในรูปของแผนที่แบบตอบสนองผู้ใช้ (Interactive Map) และ แผนภาพนามธรรม (Visualization) โดยนำเข้าข้อมูลมาจากฐานข้อมูล ทำการสกัดและแปลงรูปและนำไปเก็บไว้ในคลังข้อมูล โดยระบบสามารถถูกปรับเปลี่ยนมุมมองให้ดีขึ้น เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการประเมินผู้ใช้งานระบบคลังข้อมูลที่พัฒนาขึ้น โดยผู้บริหาร พบว่ามีประสิทธิภาพ และความพึงพอใจเฉลี่ยการใช้งานอยู่ในระดับดีรายการ การพัฒนาไอ โอ เอส แอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการเส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางรูปแบบพลวัตของอัลกอริทึม เอ สตาร์ ด้วยภาษาสวิฟท์บนคลาวด์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) กมลวรรณ พงษ์ศิลป์งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนากลไกการเลือกเส้นทางโดยสารรถประจำทาง โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดการคัดเลือกเส้นทางด้วยอัลกอริทึมพลวัต เอสตาร์มาใช้เพื่อค้นหาและคัดเลือกเส้นทางที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้งาน ทำให้ช่วยคำนวณเวลา และวางแผนการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบจำลองสารสนเทศเพื่อแนะนำเส้นทางโดยสารรถประจำทางที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาสวิฟท์บนพื้นฐานอัลกอริทึมพลวัต เอ สตาร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้อมูลการโดยสารรถประจำทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เส้นทางสาย 207, 51ร, 522 ประกอบด้วย (1) ค่าความเสี่ยงของเส้นทาง (2) ค่าความเหมาะสมของจุดขึ้น-ลงรถโดยสารประจำทาง และ (3) ค่านัยสำคัญของเส้นทางการโดยสารรถประจำทาง สำหรับใช้คำนวณหาเส้นทางที่เหมาะสม ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยในระดับดี (ค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.30 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. = 0.273) ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการคัดเลือกเส้นทางโดยสารรถประจำทางอื่น ๆ รวมทั้งองค์ความรู้นี้ยังสามารถนำไปขยายผลทางวิชาการได้ต่อไปในอนาคตรายการ การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไฮเพอร์ไวเซอร์ วีเอ็มแวร์ เวิร์คสเตชัน, ออราเคิล วีเอ็ม เวอร์ชวลบ๊อคซ์ และ เรดแฮท เวอร์ชวลไลเซชัน : สมรรถนะและการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) โชคชัย เอกศรีวิชัยงานวิจัยนี้ได้นำเสนอการวิเคราะห์เปรียบเทียบไฮเพอร์ไวเซอร์วีเอ็มแวร์ เวิร์คสเตชัน, ออราเคิล วีเอ็ม เวอร์ชวลบ๊อค และเรดแฮท เวอร์ชวลไลเซชัน ในแง่ของสมรรถนะและการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพ ในอดีตนั้นการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะถูกใช้หนึ่งเครื่องต่อหนึ่งหน้าที่เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางกายภาพของเครื่องคอมพวเตอร์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์การทำเสมือนแบบแม่ข่าย บนระบบปฏิบัติการแม่ข่ายวินโดวส์ 10 โปร และระบบปฏิบัติการแม่ข่ายเซนโอเอส 7 โดยใช้ระบบปฏิบัติการเยือนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2012 และระบบปฏิบัติการเยือนอูบุนตู เซิร์ฟเวอร์ 16.04 แอลทีเอส และใช้ไฮเพอร์ไวเซอร์วีเอ็มแวร์ เวิร์คสเตชัน รุ่น 12.5, ออราเคิล วีเอ็ม เวอร์ชวลบ๊อค รุ่น 5.1.12 และเรดแฮท เวอร์ชวลไลเซชัน แล้ววัดประสิทธิภาพด้วยโปรแกรมเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะวัดสมรรถนะด้านหน่วยประมวลผลกลาง, หน่วยความจำ, หน่วยเก็บข้อมูล และกราฟิก และหาอัตราการบริโภคทรัพยากรทางกายภาพด้านหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลรายการ การพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศสามมิติเชิงแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์ ฟาร์มเกษตร ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) จินตนา ดาวใสงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนมาประยุกต์ใช้แนะนำผลิตภัณฑ์ฟาร์มเกษตรในรูปแบบจำลองสามมิติเชิงโต้ตอบ กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เพื่อทำการทดสอบและประเมินผลงานวิจัย โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เครื่องมือทางสถิติ และ ซอฟท์แวร์ประยุกต์ เอ อาร์ ยูนิตี้ ซึ่งผลการทดสอบโดยใช้เกณฑ์การทดสอบและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า (1) ผลการทำงานของมาร์คเกอร์แบบจำลองอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.53 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 (2) ผลการทำงานของการสร้างโมเดล ฟาร์มเกษตร อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.31 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70 และ (3) ผลการทำงานของแอพพลิเคชั่น AR Unity สามารถมองเห็นโมเดลฟาร์มเกษตร ในรูปแบบโมเดล 3 มิติ อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.50 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่าการนำเอาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนมาประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่เจ้าของธุรกิจและผู้ใช้งานทั่วไปเป็นอย่างดี โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 4.51 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ขยายผลองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสื่อสารสนเทศที่ทันสมัยต่อไปในอนาคตรายการ การวิเคราะห์ข้อมูลพยากรณ์อากาศสำหรับการควบคุมสมาร์ตเซ็นเซอร์ ของฟาร์มเกษตร ด้วยนิวรอลเน็ตเวิร์ค(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เฐียรเกษม สุธาวณัฐพงศ์งานวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูลพยากรณ์อากาศสำหรับการควบคุมสมาร์ตเซ็นเซอร์ของฟาร์มเกษตร ด้วยนิวรอลเน็ตเวิร์ค โดยผู้วิจัยได้นำทฤษฎีการเรียนรู้ของนิวรอลเน็ตเวิร์คมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเก็บรวบรวมจากกรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2561 ได้แก่ ข้อมูลอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์อากาศ เพื่อใช้ประมวลผลวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับข้อมูลปัจจุบัน และพยากรณ์ความน่าจะเป็นของสภาพอากาศล่วงหน้าสำหรับใช้ควบคุมสมาร์ตเซ็นเซอร์ของฟาร์มเกษตร ผลการวิจัย พบว่า จำนวนนิวรอลเน็ตเวิร์คที่อยู่ในโครงสร้างถูกจัดเรียงในรูปแบบการแพร่กลับหลายชั้น (3-3-3) และมีค่าเอนเอียงเท่ากับ 0.124 เพื่อให้เหมาะสมสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ โดยมีค่าเฉลี่ยของความถูกต้องเท่ากับ 98.7%, ค่าความผิดพลาดจากการจำแนกกลุ่มเท่ากับ 1.3% และ ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (MSE) เท่ากับ 1.93205% ซึ่งผลลัพธ์อยู่ในเกณณ์ระดับดีมากและทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย ได้พบค่าแอ็กทิเวเตอร์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย ซึ่งมีค่าอุณหภูมิมากกว่า 0 องศา ควรใช้แอ็กทิเวเตอร์แบบลอการิทึมซิกมอยส์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในฟาร์มเกษตรในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยรายการ HIGH VOLTAGE BATTERY SUPPLY BASE STUDY IN SOUTHEAST ASIA USING BUSINESS ANALYTICS APPROACH.(Sripatum University, 2561) KITTIYAKORN KHOUNARJThe emergence of Business Analytics has been brought about by the huge upsurge in the amount of available data, increased maturity of business management, and increased focus on fact-based decision making. High-performing businesses utilize analytics to a greater extent than low-performing ones. Electric vehicles bring technological disruptions requiring an entirely different set of suppliers. Suppliers to conventional engine vehicles are experienced on a different technological skill-set compared to the electrical driven vehicles. From the automakers point of view, this new supplier set must be identified and developed from the onset in order to ensure a smooth transition between the two technologies. Business analytics will be employed to identify opportunities and areas for supply chain development. Automakers will be able to use this tool to find new supply sources or to gather new insights from data which will eventually turn into greater and more varied opportunities.รายการ การพัฒนาคลังข้อมูลผสมผสานด้วยสถาปัตยกรรม ดาต้าวาล์ว 2.0 สำหรับ การประเมินประสิทธิภาพบุคลากร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) สิทธินี ศรีศักดางานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคลังข้อมูลผสมผสานด้วยสถาปัตยกรรม ดาต้าวาล์ว 2.0 สำหรับการประเมินประสิทธิภาพบุคลากร กรณีศึกษากรมทางหลวงชนบท โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้อมูลสังคมออนไลน์ และ ข้อมูลภายในหน่วยงานทั้งหมดจำนวน 3,286 ระเบียน ที่ถูกเก็บรวบรวม ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2561 โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บบันทึกในคลังข้อมูลรูปแบบดาต้าวาล์ว 22.0 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ไมโครซอฟท์ เอส คิว แอล เซิร์ฟเวอร์ 2017 และ เอส คิว แอล เอส เอส ดี ที 2017 เพื่อสร้างแบบจำลองและประเมินประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรด้วยสมรรถนะและตัวชี้วัดของกรมทางหลวงชนบท ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการประเมินด้านการออกแบบจำลองอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.66), (2) ผลการประเมินด้านการออกแบบจำลองส่วนของผู้ใช้งานอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.68) และ (3) ผลการประเมินด้านการออกแบบจำลองส่วนของผู้ดูแลระบบอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67) ตามลำดับ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหน่วยงานหรือนำไปขยายผลองค์ความรู้ด้านการออกแบบคลังข้อมูลแบบผสมผสานในอนาคตต่อไปรายการ ตัวแบบวิเคราะห์ความพึงพอใจการให้บริการผ่านสื่อสังคมออนไลน์บนฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับเพซบุ๊กแฟนเพจ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ทินภัทร บริรักษ์งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ โดยใช้เฟซบุ๊กเป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมข้อความแสดงความไม่พึงพอใจต่อระบบบริการ โดยปรับสภาพข้อมูลจากข้อมูลไร้โครงสร้างของเฟซบุ๊กให้อยู่ในรูปแบบมีโครงสร้างที่เรียกว่าเฟรม ก่อนนำไปประมวลผลตัวแบบวิเคราะห์ความพึงพอใจด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์เชิงเส้นตรงแบบผสม เพื่อจะระบุให้ได้ว่าระบบบริการใดที่มีค่าระดับความพึงพอใจที่ได้จากผู้รับบริการอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งสะท้อนถึงว่าระบบบริการนั้นกำลังเกิดปัญหาต่อการให้บริการรายการ การสร้งแบบจำลองกฎความสัมพันธ์สำหรับฐานข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าโดยใช้ เทคนิค เอฟพี-กโรธ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณัฏญาพร ชื่นมัจฉางานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์การซื้อสินค้าของซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างแบบจาลองความสัมพันธ์ของการซื้อสินค้าโดยใช้กฎความสัมพันธ์(Association Rules)ด้วยเทคนิค เอฟพี กโรธ (FP-Growth)โดยวิเคราะห์จากการซื้อสินค้าของลูกค้าในแต่ละรายบุคคล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าออกมาเป็นกฎความสัมพันธ์ได้-4-รูปแบบประกอบด้วย 1. ค่าพารามิเตอร์ Support ไว้ที่ 0.1 และค่าพารามิเตอร์ Confidence ไว้ที่ 0.7 กฎความสัมพันธ์ ของสิ้นค้าทั้งหมด 15 กฎ 2. ค่าพารามิเตอร์ Support ไว้ที่ 0.1 และค่าพารามิเตอร์ Confidence ไว้ที่ 0.8 กฎความสัมพันธ์ ของสิ้นค้าทั้งหมด 11 กฎ 3. ค่าพารามิเตอร์ Support ไว้ที่ 0.2 และค่าพารามิเตอร์ Confidence ไว้ที่ 0.7 กฎความสัมพันธ์ ของสิ้นค้าทั้งหมด 6 กฎ 4. ค่าพารามิเตอร์ Support ไว้ที่ 0.2 และค่าพารามิเตอร์ Confidence ไว้ที่ 0.8 กฎความสัมพันธ์ของสิ้นค้าทั้งหมด 6 กฎ ซึ่งสามารถนาไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ การนำเสนอสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละราย เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ The purpose of this research is to find the possible causal relationship between each of the large supermarkets’ sale transactions. The obtained data of a number of each individual customer purchase transactions is analyzed, Create Model item by item, according to “Association Rules” using “FP-Growth” technique. The research’s result has shown the capability of forecasting the customers’ demand which can be regulated into 4 Patterns include 1. Set Parameter Support 0.1, Confidence 0.7 Association Rule of the product All 15 Rule 2. Set Parameter Support 0.1, Confidence 0.8 Association Rule of the product All 11 Rule 3. Set Parameter Support 0.2, Confidence 0.7 Association Rule of the product All 6 Rule 4. Set Parameter Support 0.2, Confidence 0.8 Association Rule of the product All 6 Rule Such result can be implemented to the decisions making about offering products which would meet the customers’ individual demand and, therefore; earning the customers’ satisfaction as one to the appropriate and effective marketing strategies.