ECO-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ECO-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 10 ของ 10
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ โครงการส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุตรดิตถ์แบบบูรณาการ(2555-03-06T04:47:27Z) สุภาวดี โพธิยะราชโครงการส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์จังหวัดอุตรดิตถ์แบบบูรณาการรายการ การแข่งขันด้านการค้าข้าวในตลาดโลก(2555-03-06T06:44:29Z) ณัฏฐาธรรม เผื่อนพันธ์นิด; ปภาวรินท์ บัวยิ้ม; สวรรยา ยังสุขการศึกษาเรื่องศักยภาพทางการค้าและความสามารถในการแข่งขันข้าวของไทยในตลาดโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางการค้าและความสามารถในการแข่งขันข้าวไทยในตลาดโลกเปรียบเทียบกับผู้ส่งออกรายใหญ่ 5 อันดับแรกของโลกรายการ บทความวิชาการ"ผลกระทบของนโยบายการค้าเสรีต่อเศรษฐกิจไทย"(2555-03-06T09:13:19Z) สุภาวดี โพธิยะราช; ภูมิศักดิ์ ราศรีบทความวิชาการ"ผลกระทบของนโยบายการค้าเสรีต่อเศรษฐกิจไทย"รายการ ยุทธศาสตร์การค้าชายแดนไทย – กัมพูชา : กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว(2555-03-06T10:10:39Z) อนพัทย์ หนองคูจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอินโดจีน ประกอบกับการค้าตามแนวชายแดนในปัจจุบันได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังผลให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลค่าการค้าชายแดนที่เพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น ทั้งนี้ประเทศไทยก็อยู่ในฐานะประเทศที่เกินดุลการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสำคัญของการค้าชายแดนดังกล่าว จึงทำให้ภาครัฐมีนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร่วมกันระหว่างจังหวัดชายแดนของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังเช่น โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekhong Sub - regional Economic Coopertion : GMS-EC) ยุทธศาสตร์การจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดน (Economic Cooperation Strategy : ECS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง (Ayeyawady Chao Phraya Mekhong Economic Cooperation Strategy : ACMECS)รายการ ภาวะเงินเฟ้อ(2555-07-23T06:23:58Z) อนพัทย์ หนองคูความหมายของคำว่า เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่หากราคาสินค้าชนิดเดียวหรือเพียงบางชนิดปรับตัวสูงขึ้น จะไม่ถือว่าเป็นภาวะเงินเฟ้อ สัญญาณบอกเหตุเงินเฟ้อจะมีดัชนีชี้วัดอยู่หลายตัว แต่ที่นิยมใช้คือ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index หรือเรียกสั้นๆ ว่า CPI) ซึ่งจะวัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาของสินค้าและบริการ 7 หมวด ได้แก่ หมวดอาหารเครื่องดื่ม หมวดเครื่องนุ่งห่ม หมวดการตรวจรักษา การบริการส่วนบุคคล หมวดเคหะสถาน หมวดพาหนะและบริการขนส่ง หมวดบันเทิง การอ่าน การศึกษา หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค ถ้าดัชนีราคาดังกล่าวโดยเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง แสดงว่าเราทั้งหลายกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเงินเฟ้อรายการ ผลกระทบจากน้ำท่วม(2555-07-23T06:33:04Z) ขวัญ เพชรสว่าง“มหาอุทกภัยน้ำท่วมประเทศไทย ปี 2554“ ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยในวงกว้าง อุทกภัยดังกล่าวทำให้พื้นที่กว่า 150 ล้านไร่ได้รับความเสียหาย มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 64 จังหวัด 660 อำเภอ 4,842 ตำบล 43,045 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี เลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานครรายการ นโยบายรับจำนำข้าวและนโยบายประกันรายได้เกษตรกร : ใครได้รับผลประโยชน์(2555-07-23T06:47:42Z) สุภาวดี ฮะมะณีประเด็นที่น่าจับตามองและเป็นที่สนใจแก่ประชาชนทั่วไปในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นเรื่องนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกหญิงคนแรกของประเทศไทย โดยเฉพาะนโยบายรับจำนำข้าวที่ถูกนำมาแทนที่นโยบายประกันรายได้เกษตรกร ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งนโยบายทั้ง 2 นี้มีจุดมุ่งหมายที่มุ่งรักษาเสถียรภาพราคาและช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรโดยใช้กลไกการแทรกแซงราคา พอมาถึงจุดนี้ ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า นโยบายรับจำนำข้าวเปลือกที่รัฐบาลได้เลือกใช้เป็นวิธีการช่วยชาวนามาเป็นเวลายาวนานเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร และหากจะเปรียบเทียบกับนโยบายการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้วอย่างไหนทำให้ชาวนาได้ประโยชน์มากกว่ากัน ทำให้หลายฝ่ายเริ่มจับตามองว่าทั้ง 2 นโยบายนี้ มีข้อดี - ข้อเสียอย่างไร ใครได้ประโยชน์ -ใครเสียประโยชน์ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาผู้เขียนจะขอกล่าวถึงหลักการ ข้อดี - ข้อเสีย ของนโยบายรับจำนำข้าว และ นโยบายประกันรายได้เกษตรกรรายการ ผลกระทบของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่มีต่อรายารับรวมของธุรกิจ(2555-07-23T06:57:20Z) ปัทมา โกเมนท์จำรัสถ้าหากจะกล่าวถึง “ความยืดหยุ่น” ตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปก็อาจจะหมายถึง การผ่อนปรน หรือ การผ่อนคลาย ซึ่งความหมายดังกล่าวนั้นค่อนข้างที่จะเป็นทัศนะที่แตกต่างจากความหมายความยืดหยุ่นในทางเศรษฐศาสตร์ “ความยืดหยุ่น” ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ จะประกอบไปด้วยความยืดหยุ่นของอุปสงค์และความยืดหยุ่นของอุปทาน โดยความยืดหยุ่นของอุปสงค์จะเป็นความยืดหยุ่นในด้านของพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้ซื้อ ในขณะที่ความยืดหยุ่นของอุปทานจะเป็นความยืดหยุ่นในด้านของพฤติกรรมการเสนอขายสินค้าของผู้ขาย ในการตัดสินใจทางธุรกิจนั้น ความยืดหยุ่นอุปสงค์และความยืดหยุ่นอุปทานได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยืดหยุ่นของอุปสงค์ ผู้ขายได้มีการนำมาใช้ในการตัดสินใจในการวิเคราะห์ธุรกิจ ตลอดจนการวางแผนการดำเนินธุรกิจค่อนข้างมากพอสมควรรายการ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของไทย(2555-07-23T07:07:18Z) ศรัณย์ วรรธนัจฉริยา และคณะสำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้ความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษ.ฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารเป็นสำคัญ เพื่อให้ไทยมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและสามารถรองรับการบริโภคจากต่างประเทศนอกจากนี้ยังต้องรักษาความสมดุลระหว่างการผลิตและบริโภคพืชอาหารและพืชพลังงานด้วยการหาแนวทางส่งเสริมเพาะปลูกพืชพลังงานที่ไม่ขัดแย้งกับการปลูกพืชอาหาร ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติอาหารโลกเหมือนกับหลายๆประเทศเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรมากที่สุดในโลกอยู่หลายชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง และกุ้ง แต่เราก็ขาดความมั่นคงทางด้านพลังงาน เนื่องจากต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงกว่าปีละ 1 ล้านล้านบาท จนทำให้ประเทศไทยต้องกำหนดนโยบายพลังงานทดแทนจากพืชโดยใช้อ้อย (กากน้ำตาล) และมันสำปะหลัง ในการผลิตเอทานอล เพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล และปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการพึ่งตนเองด้านน้ำมันเชื้อเพลิงยังอยู่ในระดับต่ำมาก คือ ร้อยละ 6.12 และ 1.91 สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากเอทานอลและไบโอดีเซลตามลำดับรายการ เปิดประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015(2555-07-23T07:17:47Z) ชมพูนุท อุปพงศ์ในกระแสโลกาภิวัตน์ไร้พรมแดน ไม่มีประเทศใดสามารถอยู่ด้วยตัวเองตามลำพังต่อไป การประสานความร่วมมือของประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคต่าง เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการรวมกลุ่มสามารถสร้างพลังต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ หนึ่งในประชาคมโลกที่มีความร่วมมือกันอย่างแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว นอกจากประชาคมยุโรป(EU) แล้ว ประเทศในกลุ่มอาเซียนก็เป็นกลุ่มประชาคมที่มีการรวมกลุ่มอย่างต่อเนื่องและยาวนานเช่นเดียวกัน ซึ่งในปี 2558 การก้าวจาก “อาเซียน(ASEAN) สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) ” นำไปสู่ วิสัยทัศน์เดียวกัน (One Vision) อัตลักษณ์เดียวกัน (One Identity และหนึ่งประชาคม (One Commuity) ที่มีความเอื้ออาทรเดียวกัน รวมกันด้วยความปรารถนาและเจตจำนงร่วมกันที่จะดำรงอยู่ในภูมิภาคแห่งสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพที่ถาวร มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ในทุกๆ ระดับให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อสร้างความพร้อมให้ก้าวสู่สังคมโลกได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันสถาบันการศึกษาทุกระดับได้มีความตื่นตัวไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพ ไม่ว่าจะด้านการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การแทรกหลักสูตรเนื้อหาอาเซียนเข้าไปในทุกๆ ระดับ ทำให้ “รู้เขา รู้เรา”ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง และสามารถปรับตัวได้อย่างมั่นใจ