บทความวิชาการ
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู บทความวิชาการ โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ สื่อที่ดีต้องไม่ซ้ำเติมปัญหาสังคม(หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 2553-11-02) วรัชญ์ ครุจิตสื่อมวลชนเป็นภาคส่วนหนึ่งของสังคม ที่เป็นที่ยอมรับกันว่า มีอิทธิพลและบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับ เนื่องจากความแพร่หลายของสื่อมวลชนที่เข้าแทรกซึมในการใช้ชีวิตตลอดทั้งวัน จนกลายเป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลให้เวลาในการใช้มากที่สุดในแต่ละวัน จนอาจกล่าวได้ว่า สื่อมวลชนกลายเป็น “วัฒนธรรม” ของสังคม และยิ่งจะมีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลสูงยิ่งขึ้น เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและแพร่หลายในระดับที่มีความรุนแรงและรวดเร็วขึ้นอย่างมากอย่างไม่สามารถที่จะปิดกั้นและหยุดยั้งได้ สร้างผลกระทบต่อสังคมในหลากหลายมิติรายการ “ความรู้เท่าทันสื่อ” ทักษะสำคัญสำหรับสังคมประชาธิปไตย(หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์, 2553-12-21) วรัชญ์ ครุจิตความรู้เท่าทันสื่อนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเยาวชนหรือประชาชนผู้รับสารทุกเพศทุกวัยในโลกยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคที่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดและทัศนคติอย่างสูง แต่ละคนใช้เวลาอยู่กับสื่อเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ทั้งการเปิดรับและการผลิต ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนั้น มีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ แต่ยังมีประชากรจำนวนมาก โดยเฉพาะเยาวชน ที่ยังขาดทักษะในการ “อ่านและเขียนสื่อ” นั่นคือการวิเคราะห์และผลิตสื่อด้วยวิจารณญาณของตนเอง หากไม่สามารถ “อ่าน” และ “เขียน” สื่อได้อย่างเหมาะสมแล้ว ผู้นั้นก็มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของการปลูกฝังความคิดความเชื่อตามที่สื่อนำเสนอ แม้ว่าจะมีความสามารถทางวิชาการในระดับดีก็ตาม โดยในการสร้างเสริมทักษะความรู้เท่าทันสื่อนั้น จำเป็นต้องสร้างให้เกิดทักษะ 4 ด้านสำคัญ ก็คือ การเข้าถึง การวิเคราะห์ การประเมิน และการผลิต