CLS-08. ผลงานนักศึกษา
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-08. ผลงานนักศึกษา โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การหาทำเลที่ตั้งคลังสินค้า กรณีศึกษา : ธุรกิจนำเข้าวัตถุดิบอาหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พนารัตน์ เหล่าพงศ์เจริญการค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า และ เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น โดยใช้วิธีวิเคราะห์จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง (Center of Gravity Method) เพื่อหาทำเลที่เหมาะสม จุดที่หาได้ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งได้ที่ 146/26 บางแวก แขวงบางไพร เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 10160 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่มีคลังสินค้าให้เช่า หรือ ไม่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ เลย จึงได้ทำการขยายขอบเขตของการหาพื้นที่ออกไปในรัศมี 30 กิโลเมตร จากนั้นใช้วิธีประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย (Factor Rating Method) กำหนดตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียแล้ว สามารถสรุปปัจจัยและ น้ำหนักที่จะนำมาพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้ดังนี้ 1.ต้นทุนค่าขนส่ง 18% 2.โครงสร้างพื้นฐาน/ สภาพแวดล้อม 18% 3.ต้นทุนการดำเนินการ 17% 4.ต้นทุนด้านคลังสินค้า 16% 5.ภูมิศาสตร์/ การเข้าถึงลูกค้า 16% 6.การดำเนินธุรกิจ/ กฏระเบียบ 15% ใส่คะแนนให้ปัจจัยต่าง ๆ ในแต่ละสถานที่ตั้ง คำนวนค่าคะแนนกับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย แล้วรวมคะแนนทั้งหมดของแต่ละทางเลือก โดยคลังที่ได้คะแนนสูงที่สุด คือ บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)รายการ การตัดสินใจคัดเลือกซัพพลายเออร์ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น กรณีศึกษา ร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) พัทชา มากสมบูรณ์การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ใช้ในการคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมที่สุดของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจการคัดเลือกซัพพลายเออร์ของร้านรักษณีย์นวดไทยและสปา การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของกิจการร้านรักษณีย์นวดไทยและสปาและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยและทางเลือกโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้างฐานข้อมูลซัพพลายเออร์ในการวิเคราะห์หาซัพพลายเออร์ที่เหมาะสมของกิจการรายการ การวางผังคลังสินค้าห้องเย็น กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนิรุต ทรัพย์สุคนธ์ปัจจุบันธุรกิจห้องเย็นขายปลาทะเลแช่แข็งมีการแข่งขันสูง จึงต้องมีวิธีการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพมาช่วย ปัจจัยที่สำคัญของห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร คือ การลดความผิดพลาดในการหยิบสินค้า โดยการจัดวางผังสินค้าห้องเย็นใหม่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของธุรกิจให้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวธุรกิจ จากการศึกษาค้นคว้านี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าผิดและวางแผนการจัดการเรียงสินค้าในคลังให้มีประสิทธิภาพโดยลดเวลาและระยะทางลง จึงได้นำเทคนิคการจัดเรียงสินค้าแบบ ABC (ABC ANALYSIS) เข้ามาช่วย อีกทั้งยังดึงวิธีการ First In First Out: FIFO มาช่วยจัดการเพื่อให้สินค้าที่มีอยู่ในห้องเย็น ที่เข้ามาก่อน ออกก่อน ป้องกันของเสียที่เกิดจากการเก็บสินค้าไว้นาน วิธี ABC เหมาะสมที่จะนำมาใช้เพราะ สินค้าไหนที่มียอดขายที่สูงจะต้องอยู่ใกล้กับทางเข้า เพื่อสามารถหยิบได้สะดวก ลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าเพราะ เป็นสินค้าที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการเดินหยิบสินค้าลงได้ครึ่งหนึ่งรายการ การลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผนการพยากรณ์และเติมเต็มสินค้าร่วมกัน กรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ลำเลียงสินค้าอากาศยาน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปณิดา เรือนนิลการลดปัญหาสินค้าขาดมือด้วยเทคนิคการวางแผนการพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกันของบริษัทกรณีศึกษา บริษัทนำเข้าและส่งออกอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าอากาศยานนั้น เป็นการศึกษาและนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้เพื่อลดปัญหาสินค้าขาดมือ และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้า ให้มีแนวทางเพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างบริษัทและซัพพลายเออร์ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัทสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษา ได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า เพื่อมาคำนวนหาค่าพยากรณ์ปริมาณการสั่งซื้อ โดยใช้การคำนวนโดยวิธีการหาค่าเฉลี่ยแบบ Moving Average และทำการเพิ่มค่า Safety Stock จำนวน 15% เพื่อนำค่าปริมาณการสั่งซื้อที่ได้นั้น นำมาใช้ในการวางแผน การพยากรณ์ และการเติมเต็มสินค้าร่วมกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลต่างๆร่วมกัน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และทำให้เกิดการวางแผนการสั่งซื้อสินค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดค่าเสียโอกาสในการขายสินค้า และในส่วนของลูกค้านั้น ทำให้บริษัทสามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามเวลา ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในบริษัทมากขึ้น และสามารถขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคตรายการ การลดความเสียหายจากกระบวนการขนส่งสินค้าปลาทะเลแช่แข็ง กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร สาขา บุรีรัมย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) คุณานนท์ จงทองการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การลดความเสียหายจากกระบวนการขนส่งสินค้าปลาทะเลแช่แข็ง กรณีศึกษา ห้องเย็น ส.ทรัพย์สมุทร สาขา บุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการลดความเสียหายจากการขนส่งปลาทะเลแช่แข็ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนผังก้างปลา พบสาเหตุสำคัญของความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพสินค้า จากระยะเวลาในการศึกษารวบรวมข้อมูลในระยะเวลา 6 เดือน พบมูลค่าความเสียหายเป็นมูลค่า 171,650 บาท ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการวิเคราะห์หาแนวทางผู้วิจัยจึงเปรียบเทียบ 2 วิธีคือ การเสริมผนังกันความร้อนและการติดตั้งแอร์ ซึ่งทั้ง 2 วิธี ช่วยลดความเสียหายของสินค้าได้ 100% แต่การเสริมผนังกันความร้อนมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ทำให้มีระยะเวลาในการคืนทุนที่เร็วกว่าอยู่ที่ 3 เดือน 24 ซึ่งคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจะคืนทุนอยู่ที่ 24-36 เดือน ดังนั้นการลงทุนในการปรับปรุงรถขนส่งครั้งนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพในการคืนทุนที่ดีมากเพราะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 เดือน 24 วันรายการ การพยากรณ์ความต้องการแว่นตา ร้านรักแว่น(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) อนุสรณ์ บุญสง่าปัจจุบันธุรกิจร้านแว่นตามีการแข่งขันทางธุรกิจที่สูง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านค้าทั่วไป ที่มีหลากหลายยี่ห้อและหลายรูปแบบ ปัจจัยที่สำคัญของร้านแว่นตา คือการบริหารต้นทุนของสินค้า จึงจำเป็นจะต้องแก้ไขจุดอ่อนของธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ซึ่งการค้นคว้าอิสระนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อพยากรณ์การสั่งซื้อสินค้าของร้านรักแว่น และหาแนวทางแก้ไขปัญหาสินค้าเคลื่อนไหวช้าและไม่มีการเคลื่อนไหว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 จนถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 และนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบง่าย การวิเคราะห์สมการถดถอย การพยากรณ์นาอีฟ และวิธีแยกส่วนประกอบ เพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการพยากรณ์และคำนวณหายอดสั่งซื้อแว่นสายตาที่ใกล้เคียงกับความต้องการจริง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้พบว่า การพยากรณ์วิธีแยกส่วนประกอบได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงมากกว่าการพยากรณ์รูปแบบอื่น โดยมีค่า MAD , MSE และ MAPE ต่ำสุด คือ Rayban เท่ากับร้อยละ 1.34, 2.34 และ 52.63 ตามลำดับ LEVI’S เท่ากับร้อยละ 2.15, 6.20 และ 33.70 ตามลำดับ และ Frank Custom เท่ากับร้อยละ 4.40, 27.47 และ 25.85 ตามลำดับ นอกจากการพยากรณ์ด้วยวิธีแยกส่วนประกอบ จะเหมาะสมกับการพยากรณ์ยอดขายยังสามารถใช้ในการวางแผนการบริหารสินค้าคงคลังในธุรกิจร้านแว่น รวมถึงธุรกิจค้าปลีกอื่นๆ เช่นกันรายการ การลดระยะเวลาการเติมสินค้าหน้าชั้นวางโดยใช้ระบบคัมบัง กรณีศึกษา ธุรกิจค้าปลีก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) กุสุมา ไชยโชติการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการเติมสินค้าบนชั้นวางและหาแนวทางการลดระยะเวลาการเติมสินค้าบนชั้นวางสำหรับธุรกิจค้าปลีกโดยใช้ระบบคัมบัง โดยการนำหลักการ ECRS ช่วยในการวิเคราะห์ลดความสูญเปล่าและนำระบบคัมบัง มาช่วยในการเบิกสินค้าแบบทันเวลาพอดี จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสองสาเหตุคือกระบวนการทำงานและโครงสร้างของอาคาร ผลที่ได้จากปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้โดยเฉลี่ย 8.29 นาที โดยการเบิกสินค้ารอบบ่าย รอบเย็น รอบพิเศษ ก่อนปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS มีขั้นตอน 30 ขั้นตอน หลังปรับปรุง เหลือ 26 ขั้นตอน ระยะทางการเคลื่อนย้ายลดลงจาก 397.6 เมตร เป็น 397.4 เมตร รอบด่วนลูกค้าก่อนปรับปรุงมีขั้นตอน 23 ขั้นตอน หลังปรังปรุงพบว่าเหลือ 20 ขั้นตอน ระยะทางการเคลื่อนย้ายลดลงจาก 355.5 เมตร เป็น 352 เมตร กระบวนการทำงานที่ปรับปรุงโดยระบบคัมบัง สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้โดยเฉลี่ย 42.04 นาที กิจกรรมการเบิกสินค้านอกระบบรอบบ่าย รอบเย็น รอบพิเศษ ก่อนปรับปรุงมี ขั้นตอน 30 ขั้นตอน หลังปรับปรุงด้วยระบบคัมบัง Kanban พบว่าเหลือ 12 ขั้นตอน ระยะทางการเคลื่อนย้ายเพิ่มขึ้นจาก 397.6 เมตร เป็น 449.7 เมตร รอบด่วนลูกค้าก่อนปรับปรุงมีขั้นตอน 23 ขั้นตอน หลังปรังปรุงพบว่าเหลือเพียง 12 ขั้นตอน แต่ระยะทางการเคลื่อนย้ายเพิ่มขึ้นจาก 355.5 เมตร เป็น 449.7 เมตร เนื่องจากพนักงานหน้าร้านต้องเดินขึ้นลงลิฟต์มากขึ้นรายการ การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ กรณีศึกษา การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคบนเส้นทาง แหลมฉบัง – หนองตะไก้ จังหวัดอุดรธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ธีรวัลย์ ภิญโญวงษ์การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ กรณีศึกษา การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค บนเส้นทางแหลมฉบัง – หนองตะไก้ จังหวัดอุดรธานีเป็นการสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสู่รูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ใน (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม และประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ เพื่อส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 1.5 ของการขนส่งภายในประเทศ สอดคล้องกับแนวทาง การปรับตัวของผู้ให้บริการขนส่งรายย่อยในการผันไปเป็นผู้ให้บริการรับช่วงขนส่ง (Sub-contractors) โดยรูปแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ คือ 1) ผู้ให้บริการขนส่งขยายขอบข่ายการให้บริการเชื่อมโยงการขนส่งด้วยรถไฟ และ 2) ผู้แทนรับจัดการขนส่งสินค้า โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคการผลิต ผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุก และการรถไฟแห่งประเทศ การปฏิบัติ งานจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าที่สามารถยกขนหรือขนถ่ายสะดวกด้วยโฟล์คลิฟท์ในการขนย้ายระหว่างคลังสินค้ากับรถบรรทุก และรถไฟ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งและการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้ข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและการลงทุนทั้ง 2 รูปแบบ มีระยะเวลาคืนทุน (PB) ใกล้เคียงกันอยู่ที่ประมาณ 4 ปี 11 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีมูลค่าเท่ากับ - 577,137.92 และ - 954,796.01 และอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) อยู่ที่ร้อยละ 2.12 และ 2.03รายการ แนวทางการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการโลจิสติกส์ด้านขนส่ง กรณีศึกษา: ธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ชยพล ผู้พัฒน์การวิจัยครั้งนี้มุ่งวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการขนส่งของธุรกิจผู้ให้ บริการขนส่งสินค้า 2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการขนส่งของบริษัทตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์กร 3) เสนอแนวทางการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการโลจิสติกส์ด้านขนส่งของธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าของธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า จำนวน 400 คน โดยมีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.936 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติ t-test, F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffé