Graduate College of Managenent
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู Graduate College of Managenent โดย เรื่อง "Accounting information systems quality"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชี คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจของผู้ใช้งานบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในประเทศไทย(วารสารการบัญชีและการจัดการ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2563-06) พ.ท.หญิง สุกัญญา คลังทอง; สุพิน ฉายศิริไพบูลย์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ ด้านคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชี คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ความพึงพอใจของผู้ใช้บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และประสิทธิภาพการใช้งานบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร พนักงานบัญชี ของธุรกิจ (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรแต่ละตัวมีความสอดคล้องและเหมาะสม โดยที่ (1) คุณภาพข้อมูลทางการบัญชี คุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจของผู้ใช้บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (2) การรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจของผู้ใช้บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจ (SMEs) ในประเทศไทย (3) แบบจำลอง (Model) มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนี ความกลมกลืนทั้ง 6 ดัชนีที่ผ่านเกณฑ์การยอมรับ คือค่าดัชนี /df = 1.337, CFI = 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.021 และ SRMR = 0.021 The objective of this research is to study was causal, factors. Which Accounting data quality, Accounting information systems quality, E-service quality, Perceived value of e-accounting and User satisfaction of e-accounting affects the efficiency of e-accounting for small and medium-sized businesses (SMEs) in Thailand. The research has designed into a combination method between qualitative and quantitative research. The sample used in this study are executives, accountants, of small and medium-sized businesses in Bangkok area with 800 sample collecting data with a questionnaire was analyze the data using Structural Equation Modeling .The results of the research indicated that variable was consistent and appropriate with (1) Accounting data quality, Accounting information systems quality, E-services quality have a direct positive influence on the perceived value of e-accounting and user satisfaction of e-accounting (2) The perceived value of e-accounting and user satisfaction of e-accounting have a direct positive influence on the efficiency of e-accounting for SMEs in Thailand (3) The Model was consistent with the data and The six harmony indexes that passed the acceptance criteria were index / df = 1.337, CFI = 1.00, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.021 and SRMR = 0.021.