CMU-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CMU-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ) โดย เรื่อง "DISC"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การเข้าใจ เข้าถึงผู้เรียนยุคดิจิทัลด้วย DISC Model(ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน, 2562-07-31) วรรณี งามขจรกุลกิจการใช้แบบจำลอง Dominance (D), Influence (I), Steadiness (S), and Compliance (C) Model ที่เรียกย่อๆว่า DISC Model ในการศึกษาผู้เรียนนั้นมาจากการมีโอกาสเข้าโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Super Coach Super Growth โดยวิทยากรคือโค้ชตั๊ง กิตติภัฏ ชุณหวิริยะกุล ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิกฤติการศึกษามหาวิทยาลัยไทย และคำถามว่า ลูกศิษย์คาดหวังอะไรจากเรา? และเราคาดหวังอะไรจากลูกศิษย์? รวมทั้งการเข้าใจคนแต่ละประเภทด้วย DISC Model เพื่อความสำเร็จขององค์กร ทำให้เกิดความคิดว่าในการเรียนการสอนเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงลูกศิษย์ในแต่ละกลุ่มเรียนในแต่ละชั้นเรียนของรายวิชาสามารถใช้ DISC Model มาศึกษาวิเคราะห์เช่นกัน ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาโดยใช้ DISC Model วิเคราะห์ผู้เรียนแต่ละคนในชั้นเรียนรายวิชา CMM 258 การวิจัยทางการสื่อสาร ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 207 คน เพื่อให้ครู อาจารย์เกิดความเข้าใจและสามารถเข้าถึงผู้เรียนที่เป็นลูกศิษย์มากขึ้นจากเดิม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ผู้เรียนลูกศิษย์แต่ละคนเข้าใจตัวเองว่ามีบุคลิกและพฤติกรรมเป็นคนลักษณะแบบใดใน DISC รวมทั้งยังทำให้เข้าใจเพื่อนร่วมชั้นเรียน รู้ว่าควรใช้วิธีการสื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงเพื่อนๆ และสิ่งสำคัญที่สุดคือตัวครู อาจารย์ ได้เรียนรู้เข้าใจผู้เรียนลูกศิษย์และสามารถค้นหาวิธีการในการโน้มน้าวจูงใจสร้างการเรียนรู้ให้เกิดการเข้าถึงผู้เรียนลูกศิษย์อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ในแต่ละกลุ่มงานมีสมาชิกที่เป็น DISC ผสมกันอยู่ในกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มีบุคลิกไปทางแบบ I และ S ส่วนกลุ่ม D และ C มีจำนวนน้อยกว่า เมื่อครู อาจารย์ เข้าใจลักษณะของผู้เรียนในแต่ละคนแต่ละกลุ่ม รวมทั้งผู้เรียนแต่ละกลุ่มรู้จักตัวตนบุคลิกลักษณะของเพื่อนๆร่วมกลุ่มและร่วมชั้นเรียนแล้ว ในการทำงานร่วมกันเป็นทีมจึงมีความง่ายในการเข้าใจเพื่อนร่วมกลุ่มงานรู้จักใช้วิธีการสื่อสาร ใช้คำพูดในการเข้าถึงเพื่อนๆในกลุ่ม และเพื่อนร่วมชั้นเรียน สิ่งสำคัญคือตัวครู อาจารย์ สามารถรู้จุดเด่นของสมาชิกในแต่ละกลุ่ม คาดคะเนลักษณะนิสัยใจคอ สิ่งที่ไม่ชอบ และสิ่งที่ควรพัฒนาโดยการสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้เรียนแต่ละแบบมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการทำความเข้าใจ สื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มผู้เรียนแต่ละกลุ่มแต่ละคนในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย