วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "TQM"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล(บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) วธิดา มุ่งเจริญการวิจันครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) สำหรับการใช้ในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล และเพื่อสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) ที่มีความเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน องค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 11 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล ใช้แบบสอบถามปลายเปิดที่สร้างขึ้นตามแนวคิดปัจจัยสนุบสนุน 7 ด้าน ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำด้านการฝึกอบรม ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการให้รางวัล ด้านการวัดผลงาน ด้านการทำงานเป็นทีม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาหลักการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาความสอดคล้อง และหาแนวทางในการสร้างตัวแบบการบริหารธุรกิจคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสนุบสนุนทั้ง 7 ด้าน มีผลต่อการสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมผู้บริหารมีความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ให้ความสำคัญกับปัจจัยสนุบสนุนทั้ง 7 ด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหากมีการนำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม จะทำให้องคืกรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และผู้วิจัยได้นำปัจจัยดังกล่าวซึ่งประกอบด้วย (1) ด้านภาวะผู้นำ (2) ด้านการฝึกอบรม (3) ด้านโครงสร้างองค์กร (4) ด้านการติดต่อสื่อสาร (5) ด้านการให้รางวัล (6) ด้านการวัดผล (7) ด้านการทำงานเป็นทีม มาประยุกต์ใช้กับองค์การบริหารส่วนตำบล โดยกำหนดให้เป็นตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร(TQM) เนื่องจากปัจจัยทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน หากมีการนำตัวแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจโดยความร่วมมือของสมาชิกทุกคนจะส่งผลให้การบริหารงานมีคุณภาพมากขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการอีกด้วยรายการ ศึกษาปัจจัยความสำคัญของการจัดการคุณภาพโดยรวมในธุรกิจจัดซื้อและการประมูลออนไลน์โดยอาศัยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์(2551) สาธิต เดโชนันทกุลศึกษาและจัดลำดับความสำคัญปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จในการประยุกต์การจัดการคุณภาพในปัจจุบันโดยใช้ตัวขับเคลื่อนของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM) มีดังนี้ 1. Facilities 2. Inventory 3. Transportation 4. Information 5. Sourcing 6. Pricing ซึ่งเชื่อมโยงไปในส่วนของการจัดการคุณภาพโดยรวมเฉพาะในปัจจุบันการจัดการคุณภาพเป็นที่นิยมและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารที่ได้รับความยินยอมโดย ปัจจัยในการวัดและควบคุมมีดังนี้ 1. ด้านการนำองค์กร 2. ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3. ด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้าและตลาด 4. ด้านการวิเคราะห์ข่าวสารและข้อมูล 5. ด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6. ด้านกระบวนการในการจัดการ 7. ด้านผลลัพธ์ทางธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ หรือ AHP (Analytic Hierarchy Process) เป็นกระบวนการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน (Multiple Criteria Decision - Making) ให้มีความง่ายขึ้น โดยเลียนแบบกระบวนการตัดสินใจทางะรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นการจับคู่ตัวแปรต่างๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบหาทางเลือกที่อุตสาหกรรมให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง ผลที่ได้รับทำให้ทราบว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ คุณภาพ (0.374) เป็นอันดับ 1 ต่อจากนั้นคือต้นทุน (0.246) ความยืดหยุ่น (0.195) และเวลา (0.185) ตามลำดับ จากผลที่ได้ทำให้องค์กรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ประกอบในการวางแผนกลยุทธ์เป้าหมายของการจัดการคุณภาพโดยรวมและการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรได้เป็นดี