วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 231
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศของไทย : ศึกษากรณีการส่งมอบ
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) สวรินทร์ เสาวคนธ์
    ปัจจุบันการซื้อขายสินค้ามิได้จำกัดเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการทำให้มีการติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนี้ เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดการผิดสัญญาในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ และมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไม่ว่าของประเทศใด มักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนำกฎหมายมาปรับใช้แก้ข้อพิพาทดังกล่าว ด้วยเหตุนี้คณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) และตัวแทนของประเทศต่างๆ จึงได้ร่วมกันยกร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ (CISG) ขึ้น เพื่อให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมีความเป็นเอกภาพ อนึ่ง บทบัญญัติของ CISG ดังกล่าวยังได้รับรองสถานะของะรรมเนียมปฏิบัติของคู่สัญญา เช่น INCOTERMS ซึ่งเกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าอันเป้นกรณีวิทยานิพนธ์ฉบับนี้หยิบยกขึ้นมาศึกษาด้วย ด้วยเหตุที่ประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคี CISG เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดการผิดสัญญาในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศและมีข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลไทย ศาลไทยก็ต้องใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับแก่ข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้การตัดสินคดีของศาลไทยม่สอดคล้องกับหลักสากล เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ๆ หลายประการในเรื่องการส่งมอบแตกต่างจาก CISG และ INCOTERMS ผู้วิจัยเห็นว่าการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้มีอยู่สองแนวทาง แนวทางแรก คือ การเข้าร่วมเป็นภาคี CISG แล้วออกกฎหมายอนุวัติการ แนวทางที่สอง คือ การปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศขึ้นโดยเฉพาะซึ่งในแนวทางที่สองนี้จะรวมถึงการออกกฎหมายรับรองสถานะของ INCOTERMS ด้วย ซึ่งทั้งสองแนวทางดังกล่าว มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป อย่างไรก้อตาม ไม่ว่าประเทศไทยจะเลือกแนวทางใด ก็ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งสิ้น
  • รายการ
    ปัญหาหลักปฏิบัติแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเล
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) สรรธาน ภู่คำ
    ธุรกิจประมงทะเลเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับประเทศนับแสนล้าน นอกจากนี้แล้วธุรกิจประมงทะเลยังมีผลทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง และ อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ซึ่งส่งผลให้เกิดการจ้างงานปัจจุบันผู้ประกอบการหรือนายจ้างจำเป็นต้องหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา เข้ามาทำงาน เนื่องจากค่าแรงถูก เพื่อเสริมแรงงานส่วนที่ขาดแคลน ด้วยเหตุผลนี้แรงงานคนเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเรื่องของแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลไทยย่อมทำให้รู้ถึงสภาพของปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมเศรษฐกิจ และความมั่นคงของไทย โดยที่มีสาระสำคัญในปัญหาคือในกรณีของการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทยพ.ศ. 2482 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2539 กำหนดให้สิทธิแก่คนไทยในการทำประมงในเขตการประมงไทย ตามมาตรา 4 และยังห้ามมิให้ออกใบอนุญาตสำหรับการทำประมงคนต่างด้าวคนใดคนหนึ่งตามมาตร 5 นอกจากนี้แล้วคนต่างด้าวที่เข้ามาโดยผิดกฎหมายเพราะธุรกิจประมงทะเลเป็นอาชีพที่คนต่างด้าวห้ามทำตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ซึ่งปัจจุบันแก้ไขเป้นพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ต้องอาศัยมาตรา 12 เพื่อให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้คนต่างด้าวจึงสามารถเข้ามาทำงานได้ นอกจากนั้นยังเป็นการกระทำที่ผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ผลการศึกษาพบว่า แรงงานต่างด้าวที่มีสภาพที่ผิดกฎหมายคนเข้าเมืองต้องอาศัยพระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ออกใบอนุญาตเพื่อให้ถูกกฎหมายมีความซับซ้อน โดยมีการวางหลักเกณฑ์ทั่วไป มีข้อยกเว้นและข้อยกเว้นซ้อนข้อยกเว้น ทำให้ยากแก่การตีความ ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยทั่วไปมุ่งประสงคืในการให้ความคุ้มครองแก่แรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานบนบกเป็นหลักเกิดความไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานจริง และ แนวทางปฎิบัติของแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลที่ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล ส่วนใหญ่แตกต่างและยังไม่สอดคล้องเป็นทำนองเดียวกันกับสิทธิแรงงานประเภทเดียวกันตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ได้แก่ การตรวจสุขภาพ, การฝึกอาชีพแรงงานประมง, สัญญาจ้างหรือข้อตกลงในการจ้างงาน, ชั่วโมงการทำงาน, สวัสดิการ และ ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศอเมริกาและญี่ปุ่น ให้การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในธุรกิจประมงทะเลเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศฟิลิปินส์ที่มีการฝึกทักษะฝีมือมีรูปแบบและขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ควรนำส่วนดีของทั้งสามประเทศมาเป็นแบบอย่าง เพื่อปรับปรุงและยกร่างเป็นกฎหมายใช้ภายในประเทศ อีกทั้งนายจ้างควรไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยภาครัฐควรกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนมากกว่าปีละครั้ง ไม่ควรกำหนดกรอบเวลา เพื่อให้เข้าถึงบริการพื้นฐานภาครัฐ และ ตัวเลขในระบบการควบคุมจะได้ตรงตามสภาพความเป็นจริง เป็นปัญหาที่รัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไขทั้งปัจจุบันและอนาคตโดยจะต้องร่วมมือกันทั้งประเทศต้นทาง และปลายทางเพื่อวางแผนแก้ไขแนวทางความร่วมมือให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ร่วมกันต่อไป
  • รายการ
    ศึกษาปัจจัยความสำคัญของการจัดการคุณภาพโดยรวมในธุรกิจจัดซื้อและการประมูลออนไลน์โดยอาศัยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
    (2551) สาธิต เดโชนันทกุล
    ศึกษาและจัดลำดับความสำคัญปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จในการประยุกต์การจัดการคุณภาพในปัจจุบันโดยใช้ตัวขับเคลื่อนของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM) มีดังนี้ 1. Facilities 2. Inventory 3. Transportation 4. Information 5. Sourcing 6. Pricing ซึ่งเชื่อมโยงไปในส่วนของการจัดการคุณภาพโดยรวมเฉพาะในปัจจุบันการจัดการคุณภาพเป็นที่นิยมและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารที่ได้รับความยินยอมโดย ปัจจัยในการวัดและควบคุมมีดังนี้ 1. ด้านการนำองค์กร 2. ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3. ด้านการมุ่งเน้นที่ลูกค้าและตลาด 4. ด้านการวิเคราะห์ข่าวสารและข้อมูล 5. ด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6. ด้านกระบวนการในการจัดการ 7. ด้านผลลัพธ์ทางธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ หรือ AHP (Analytic Hierarchy Process) เป็นกระบวนการที่ช่วยในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน (Multiple Criteria Decision - Making) ให้มีความง่ายขึ้น โดยเลียนแบบกระบวนการตัดสินใจทางะรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นการจับคู่ตัวแปรต่างๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบหาทางเลือกที่อุตสาหกรรมให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง ผลที่ได้รับทำให้ทราบว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ คุณภาพ (0.374) เป็นอันดับ 1 ต่อจากนั้นคือต้นทุน (0.246) ความยืดหยุ่น (0.195) และเวลา (0.185) ตามลำดับ จากผลที่ได้ทำให้องค์กรสามารถนำมาใช้ประโยชน์ประกอบในการวางแผนกลยุทธ์เป้าหมายของการจัดการคุณภาพโดยรวมและการใช้ทรัพยากรในการดำเนินงานเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรได้เป็นดี
  • รายการ
    การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) วีระพงศ์ หล่อสมบูรณ์
    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา (2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา จำแนกตามสถานภาพของผู้ปกครองในด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ กลุ่มตัวอย่างเลือกมาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาจำนวน 302 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่และมอร์แกน จากโรงเรียน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเห็นของผู้ปกครองกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตราวัดประมาณค่า 5ระดับ จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มใช้ค่า t-Test และหาค่าความแตกต่างระหว่าง 3 กลุ่มใช้ค่า F –Test ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในดรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา คือคุณลักษณะของผู้บริหารและครูอยู่ในระดับมากที่สุดเพียงปัจจัยเดียว (2) ผู้ปกครองที่มีสถานภาพต่างกันทั้งในด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ มีการตัดสินใจส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาคล้ายกัน
  • รายการ
    สภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) ศิริพร โพธิสมภาพวงษ์
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงารการแระกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 และเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง 160 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC ระหว่าง 0.892-0.936 หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าอัลฟ่าอยู่ระหว่าง 0.985-0.989 การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยแจกแบบสอบถามและรับคืนด้วยตนเอง การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS (Statistical Package for the Social Science) หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบโดยค่าเฉลี่ยโดยการใช้ t-test และ F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีการทดสอบแอลเอสดี (Least Significant Difference Test) ผลการศึกษาพบว่าสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก สำหรับปัญหาโดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อเปรียบเทียบผู้บริหารของโรงเรียนที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรีมีการดำเนินงานมากกว่าผู้บริหารของโรงเรียนที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีและผู้บริหารของโรงเรียนที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าระดับปริญยาตรีมีปัญหาในการดำเนินงานมากกว่าผู้บริหารของโรงเรียนที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้บริหารของโรงเรียนที่มีประสบการณ์การบริหารโรงเรียนน้อยกว่า 10 ปีมีการดำเนินงานมากกว่าผู้บริหารของโรงเรียนที่มีประสบการณ์การบริหารโรงเรียนมากกว่า 10 ปี และผู้บริหารที่มีประสบการณ์การบริหารโรงเรียนมากกว่า 10 ปีมีปัญหาการดำเนินงานมากกว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์การบริหารโรงเรียนน้อยกว่า 10 ปี เมื่อจำแนกตามขนาดของโรงเรียน ส่วนในภาพรวมมีการดำเนินงานไม่ต่างกัน
  • รายการ
    สมรรถนะทางภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่สัมพันธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) ศิรินญา สระทอง
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะทางภาวะผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 เปรียบเทียบสมรรถนะทางภาวะผู้นำ ตามเพศ อายุ อายุราชการ วุฒิการศึกษาสูงสุด และระยะเวลาการปฏิบัติงานในสถานศึกษา โดยใช้ประชากร ผู้บริหารสถานศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะทางภาวะผู้นำ ที่สัมพันธ์กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 1 แบบสอบถามมีลักษณะแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบสอบถามมาตรวัดปริมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะทางภาวะผู้นำของผู้บริหาร จำแนกเป็น 3 ด้าน จำนวน 55 ข้อ แบบสอบถามสภาพการณ์เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำนวน 34 ข้อ ซึ่งแบบสอบถามทั้ง 2 ประเภท ผู้วิจัยนำมาพัฒนาให้เข้ากับสภาวะการณ์ที่ต้องการศึกษา การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ตามวิธีการหาค่าความสอดคล้อง IOC (Index of Consistency) ได้ค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.98 – 1.00 การตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาได้เท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient value หรือ rxy นการหาความสัมพันธ์ของสมรรถนะทางภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการดำเนินการ ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถะทางภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา มีสมรรถนะพื้นฐานหลักของการเป็นผู้นำอยู่ในระดับสูง โดยมรสมรรถนะการเป็นผู้นำ และสมรรถนะด้านวิชาชีพสูงเมื่อพิจารณาเป็นรายย่อยของทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน 2. สภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา พบว่าสถานศึกษาทุกแห่งมีองค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก 3. สมรรถนะทางภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกกับองค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาทุกด้าน ได้แก่ ด้านพลวัตการเรียนรู้การปรับเปลี่ยนองค์การ การเพิ่มอำนาจแก่บุคคล การจัดการความรู้การใช้เทคโนโลยี
  • รายการ
    การสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) วธิดา มุ่งเจริญ
    การวิจันครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) สำหรับการใช้ในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล และเพื่อสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) ที่มีความเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน องค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 11 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล ใช้แบบสอบถามปลายเปิดที่สร้างขึ้นตามแนวคิดปัจจัยสนุบสนุน 7 ด้าน ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำด้านการฝึกอบรม ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการให้รางวัล ด้านการวัดผลงาน ด้านการทำงานเป็นทีม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาหลักการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อหาความสอดคล้อง และหาแนวทางในการสร้างตัวแบบการบริหารธุรกิจคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสนุบสนุนทั้ง 7 ด้าน มีผลต่อการสร้างตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) องค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมผู้บริหารมีความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ให้ความสำคัญกับปัจจัยสนุบสนุนทั้ง 7 ด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหากมีการนำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม จะทำให้องคืกรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และผู้วิจัยได้นำปัจจัยดังกล่าวซึ่งประกอบด้วย (1) ด้านภาวะผู้นำ (2) ด้านการฝึกอบรม (3) ด้านโครงสร้างองค์กร (4) ด้านการติดต่อสื่อสาร (5) ด้านการให้รางวัล (6) ด้านการวัดผล (7) ด้านการทำงานเป็นทีม มาประยุกต์ใช้กับองค์การบริหารส่วนตำบล โดยกำหนดให้เป็นตัวแบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร(TQM) เนื่องจากปัจจัยทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน หากมีการนำตัวแบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจโดยความร่วมมือของสมาชิกทุกคนจะส่งผลให้การบริหารงานมีคุณภาพมากขึ้น และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการอีกด้วย
  • รายการ
    ความพึงพอใจของครูและนักเรียนต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) ศิริรัตน์ จวนแจ้ง
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูและนักเรียนต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1 และเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1 เป็นครูจำนวน 167 คน และนักเรียนจำนวน 587 คน เลือกมาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากแบบสอบถามของสุชาติ วงศ์ยงค์ศิลป์ และพชเยนทร์ รามสูตร เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา จำแนกเป็น 5 ด้าน จำนวน 56 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือคือหาค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าอัลฟ่าตามวิธีของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.963 และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยค่า IOC มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ Least Significant Difference (LSD) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า (1) ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา นนทบุรี เขต 1 โดยรสมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นนักเรียนมีความพึงพอใจระดับปานกลางในด้านอาคารสถานที่ เรื่อง ความเหมาะสมของจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียน การจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้สอดคล้องกับวิชาที่เรียน และปริมาณโต๊ะเก้าอี้ในโรงอาหาร (2) ครูเพศหญิงมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมด้านการจัดการเกี่ยวกับครูและบุคลลากรทางการศึกษามากกว่าครูเพศชาย และครูที่มีวุฒิสามัญมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมากกว่าครุที่มีวุฒิทางวิชาชีพด้านการบัญชี คอมพิวเตอร์และการตลาด (3) นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวช. มีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษามากกว่าผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้น ปวส. ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 5 ด้าน นักเรียนชายมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมมากกว่านักเรียนเพศหญิงเฉพาะด้านการบริหาร ส่วนด้านอื่น ๆ นักเรียนทั้งชายและหญิงมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมไม่ต่างกัน และนักเรียนที่เรียนในสาขาการตลาดมีความพึงพอใจต่อสถาพแวดล้อมด้านครูและบุคลลากรทางการศึกษามากกว่านักเรียนที่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ ส่วนนักเรียนที่เรียนสาขาอื่นๆ มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน
  • รายการ
    สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) รุ่งทิวา โจ๊กทำ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2ตามโครงสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 6 ด้าน และเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามขนาดของสถานศึกษา ระยะเวลาก่อตั้ง และผลการประเมิณคุณภาพภายนอก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 3 แห่ง รวม 64 คน ขนาดใหญ่จำนวน 4 แห่ง รวม 53 คน และขนาดกลางจำนวน 20 แห่ง รวม 196 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 313 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 43 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยวิธีการหาความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และการหาค่าความเที่ยงโดยค่าแอลฟ่าตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และ F-test และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ (1) ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย (2) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามขนาดสถานศึกษาพบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าฝดรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษ ส่วนปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่พิเศษมีปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ (3) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างตามระยะเวลาการก่อตั้ง พบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งน้อยกว่า 15 ปี มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งสถาบันตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนด้านปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งมากกว่า 15 ปี มีปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งน้อยกว่า 15 ปี (4) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่มีระดับผลประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) อยู่ในระดับดีมากมีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีระดับผลประเมินคุณภาพภายนอกอยู่ในระดับพอใช้และดี นอกจากนี้พบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระดับผลประเมินภายนอกจาก สมศ. อยู่ในระดับพอใช้มีปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระดับผลประเมินภายนอกอยู่ในระดับดี และดีมาก ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ จากการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ดังนั้นในการทำวิจัยในครั้งต่อไปควรทำการวิจัยโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาข้อมูลที่มีผลทำให้โรงเรียนอาชีวศึกษาประสบความสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
  • รายการ
    สภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) วันเพ็ญ แก้วไสว
    การวิจัยครั้งนี้ วีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 8 ด้านและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายใน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และประเภทของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการหรือครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครุที่เป็นกรรมการและเลขานุการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 63 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 189 คน เลือกมาใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกเป็น 8 ด้าน จำนวน 53 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าแอลฟ่าตามวิธีของครอนบาคมีค่าอยู่ระหว่าง 0.844 – 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้ Scheffe’ s test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกาพบว่า สภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับน้อย เมื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก ส่วนปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่อยู่ในระดับน้อยกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก สำหรับการเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษารัฐบาลมีระดับการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาเอกชน ส่วนระดับปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษารัฐบาลมีระดับปัญหาน้อยกว่าสถานศึกษาเอกชน
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) อัมพร ชูโลก
    การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจ สายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมของ สายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2) ศึกษาภาพลักษณ์ของ สายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและภาพลักษณ์ของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มลูกค้าภายในได้แก่พนักงานประจำและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 200 คน และ 2) กลุ่มลูกค้าภายนอกได้แก่ เจ้าของหรือผู้ประกอบการปั๊มก๊าซธรรมชาติอัด (NGV) บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) และผู้ใช้บริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยอันดับ 1 คือ ด้านกีฬา รองลงมาคือ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม บรรษัทภิบาลและความโปร่งใสในการดำเนินการ และด้านการศึกษา 2 ) ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน และระดับปานกลาง 3 ด้าน โดยอันดับ 1 คือ การดูแลผู้บริโภค รองลงมาคือ ความรับผิดชอบต่อองค์กรใกล้เคียง การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์องค์กรของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (NGV) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ด้านบรรษัทภิบาลและความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ ด้านการศึกษา ด้านกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์องค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  • รายการ
    การศึกษาแนวคิดและการทดสอบเทคนิคการพยากรณ์
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) อำนาจ พรหมสุรินทร์
    การศึกษาแนวคิดและการทดสอบเทคนิคการพยากรณ์ มีวัคถุประสงค์ เพื่อศึกษาเทคนิคการพยากรณ์และหาค่าการพยากรณ์ของแต่ล่ะวิธี และนำไปเป็นแนวทางในการเลือกใช้ ซึ่งนำเอาข้อมุลรายได้จากการขายมาพยากรณ์ โดยดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาแนวคิดงานวิจัย 2. รวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 3. ทดสอบเทคนิคการพากรณ์ 4. วิเคราะห์ผลการทดสอบเทคนิคการพยากรณ์ 5. สรุปผลการวิจัย ผลของการวิจัย พบว่าเทคนิคแค่ล่ะวิธีมีความแตกต่างกัน และเลือกเทคนิคการพยากรณืที่เหมาะสมโดยใช้การทดสอบความคลาดเคลื่อนเป็นตัวชี้วัด เพื่อเสนอแนะเป้นแนวทางในการเลือกใช้ของธุรกิจต่อไป
  • รายการ
    ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) อัญพัชร์ ปิยะวิชิตศักดิ์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนเตรียมทหาร และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 225 นาย เลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม จำนวน 143 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นใช้  - Coefficient ของ ครอนบาค มีค่าทั้งฉบับเท่ากับ 0.892 และ ค่าความเที่ยงตรง (Validity) โดยหาค่า IOC มีค่าเท่ากับ 0.8973 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร คือ เกรดเฉลี่ยก่อนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร และพฤติกรรมในการเรียน ส่วนตัวแปรอื่นๆ เช่น ความฉลาดทางอารมณ์และปัจจัยในการเรียนการสอนไม่ว่าความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในของความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี เก่ง สุข มีความสัมพันธ์กันภายใน แสดงว่าตัวแปร ด้านดี เก่ง สุข เกี่ยวข้องกัน สำหรับด้านเจตคติต่อวิชาชีพมีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์เฉพาะด้านเก่ง และด้านสุข แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับด้านดีนอกจากนั้นยังพบว่าการมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการเรียนการสอน ส่วนด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนพบว่า สภาพแวดล้อมสถานศึกษา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อและอุปกรณ์ และคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน มีความสัมพันธ์กัน จากปัจจัยดังกล่าว สามารถเขียนพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ Y´ = 1.602 + 0.345 (GPAก่อนเข้าเรียน) + 0.163 (การวัดและประเมินผล) - 0.118 (สภาพแวดล้อมสถานศึกษา) สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนมาตรฐาน Z´ = 0.336(GPAก่อนเข้าเรียน) + 0.214 (การวัดและประเมินผล) - 0.155 (สภาพแวดล้อมสถานศึกษา)
  • รายการ
    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) อัญชิสา เอี่ยมละออ
    การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มี ต่อการบริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี ตามการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเอกชน จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 365 คนสุ่มจากประชากร 5,264 คน จำแนกตามโรงเรียน 13 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 2 ตอน ตอนที่ 1 คือ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ตอนที่ 2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเอกชนมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท ข้อคำถามในแบบสอบถามจำนวน 61 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.5 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ หาโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าความเฉลี่ยเชื่อมั่น 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปแจกให้กลุ่มตัวอย่างที่โรงเรียน แล้วรับกลับคืน หลังจากแจกแบบสอบถามไปแล้ว 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี ในภาพรวมและรายได้อยู่ในระดับมากทุกข้อยกเว้น ด้านการบริหารงานบุคคล มีความพึงพอใจมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเอกชน พบว่า ผู้ปกครองที่มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป มีความพึงพอใจมากกว่าผุ้ที่จบอนุปริญญา, ผู้ปกครองที่เป็นมารดา มีความพึงพอใจต่อการบริหารงบประมาณมากกว่า ผู้ที่มีสถานภาพอื่น, ผู้ที่มีการศึกษาวุฒิปริญญาตรี มีความพึงพอใจด้านการบริหารทั่วไป สูงกว่าผู้ที่จบการศึกษาอนุปริญญาและต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษา, ผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 40,000 บาท มีความพึงพอใจด้านการบริหารงานวิชาการ สูงกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท
  • รายการ
    การศึกษากระบวนการธุรกิจของห่วงโซ่อุปทานในกิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็งโดยอาศัยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) หทัยรัตน์ ผ่องศรี
    ในการทำวิจัยครั้งนี้ เพื่อที่จะศึกษาลำดับความสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจของห่วงโซ่อุปทานในกิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง และลำดับความสำคัญของดัชนีวัดประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้มุมมองของผู้ที่ปฏิบัติงานในบริษัทที่ทำกิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง รูปแบบการวิจัยที่นำมาใช้ คือ การวิจัยแบบไม่ทดลอง(Non – experimental Design) เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อมุ่งเน้นการไปปรับปรุงและพัฒนากิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง ทั้งนี้ในการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีโครงสร้าง เนื่องจากเป็นการสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ซึ่งคำนวณและบอกค่าความสอดคล้องของคะแนนที่ทำการประเมินในการให้คะแนนแทนส่วนการดำเนินการวิจัยจะทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างจากบริษัท ซี. พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด (กิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง) ในการให้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และสรุปผลด้วยโปรแกรม Microsoft Excel 2003 ซึ่งคำนวณและลำดับความสำคัญของกนะบวนการทางธุรกิจของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับให้องค์กรนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิเคราะห์น้ำหนักความเรียงตามลำดับดังนี้: การพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (0.203) การจัดการการไหลของการผลิต (0.133) การจัดการบริการลูกค้า (0.123) การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (0.116) การจัดหา (0.113) การเติมเต้มคำสั่งซื้อของลูกค้า (0.112) การจัดการอุปสงค์ (0.102) การส่งสินค้าคืน (0.095) ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรที่นำการจัดการห่วงโซ่อุปทานมาประยุกต์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุดแก่องค์กร
  • รายการ
    การประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนในกระบวนการผลิตใบชา
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) เสาวนี อยู่จุ้ย
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตแบบลีนในกระบวนการผลิตใบชามีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในทางธุรกิจที่ยั่งยืนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ และเพื่อให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ โดยใช้แบบสอบถามแบบเดลฟายเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 ท่าน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่ามัธยัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อเป็นการยืนยันความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ดังนั้นเครื่องมือที่นำมาวิจัยครั้งเป็นกระบวนการผลิตแบบลีนที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้มุ้งเน้นที่การขจัดความสูญเปล่า และการผลิตแบบทันเวลาพอดี เพื่อลดระยะเวลาของขั้นตอนการผลิต นำไปสู่การลดต้นทุนและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
  • รายการ
    การรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) วิทวัส แซ่พุ่น
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา การรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของประชาชนกับการรับชมสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหาจครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเปิดรับรายการโทรทัศน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์และประเภทรายการที่ท่านรับชมเป็นประจำ (2) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความเข้าใจของสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ดังนี้ มีการรับรู้ความเข้าใจต่อ สัญลักษณ์ ด๖+ , สัญลักษณ์ ท , สัญลักษณ์ น๑๓+ และ สัญลักษณ์ ฉ (3) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ, อายุ และ รายได้ส่วนบุคคล (ต่อเดือน) และระยะเวลาที่รับชม ไม่มีความสัมพันธ์กับ การรับรู้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (5) ปัจจัยด้าน ช่วงเวลาที่เปิดรับชมรายการที่เปิดรับชมบ่อยที่สุด มีความสัมพันธ์ กับ การรับรู้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (6) ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ได้แก่อายุ, รายได้ส่วนบุคคล (ต่อเดือน) และ ระดับการศึกษาสุงสุด ช่วงเวลาที่เปิดรับชม รายการที่เปิดรับชมบ่อยที่สุด และระยะเวลาที่รับชม มีความสัมพันธ์ กับ ความเข้าใจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (7) ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ได้แก่ อายุ, รายได้ส่วนบุคคล (ต่อเดือน) และ ระดับการศึกษาสุลสุด ช่วงเวลาที่เปิดรับชม รายการที่เปิดรับชมบ่อยที่สุด และระยะเวลาที่รับชม มีความสัมพันธ์ กับ ทัศนคติของประชาชาในเขตกรุงเทพมหานครต่อสัญลักษณ์ระบุระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของงาน ประสบการณ์การทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความจงรักภักดีต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจจราจร
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) สุมิตรา พรหมถาวร
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะของงาน ประสบการณ์การทำงานความผูกพันต่อองค์การ และความจงรักภักดีต่อองค์การของ ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจจราจร และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของงาน ประสบการณ์การทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความจงรักภักดีของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจจราจร กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจจราจรจำนวน 406 นาย ได้จากการคำนวณกำหนดขนาดของตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Validity) และความเที่ยงของแบบสอบถาม (Reliability) วิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ (Correlation analysis) ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรลักษณะของงาน ประสบการณ์การทำงาน และความผูกพันต่อองค์การโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความจงรักภักดี โดยรวมอยู่ในระดับสูง ผลการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ พบว่า ทั้งลักษณะของงาน และประสบการณ์การทำงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองกำกับการตำรวจจราจรต่างก็มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การ และพบว่าความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความจงรักภักดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99
  • รายการ
    สภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) สิทธิพล อุ่นแก้ว
    การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 และเพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 29 คน และครูผู้สอนจำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพละปัญหาการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นตามวิธีการของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีค่าระหว่าง 0.997-0.998 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบ t-test และ F-test ผลวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและเป็นรายด้าน 2. ปัญหาการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน 3. ผู้บริหารมีการปฏิบัติงานด้านการบริหารวิชาการ งานด้านบริหารงบประมาณ งานด้านบริหารงานบุคคลมากกว่าครู แต่งานด้านการบริหารทั่วไปผู้บริหารและครูมีการปฏิบัตไม่ต่างกัน 4. สภาพและปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนทั้ง 4 ด้าน ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีการปฏิบัติงานมากและมีปัญหาน้อยคล้ายๆกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบตามขนาดของโรงเรียน พบว่าโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีสภาพการปฏิบัติไม่ต่างกัน โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาการบริหารด้านงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปมากกว่าดรงเรียนขนาดเล็กพิเศษ ส่วนคู่อื่นๆ มีปัญหาการบริหารงานไม่ต่างกัน
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจค้าปลีก
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) สุธีเทพ ศักดิ์พันธ์พนม
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่ปรากฎในร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกส่ง ใน พ.ศ. 2550 ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสามประกอบด้วยธุรกิจสงวน จำนวน 21 รายการ เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่คนต่างด้าวก็ยังคงสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยได้เต็มที่ด้วยการใช้วิธีการถือหุ้นโดยคนไทย จึงทำให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยสามารถประกอบธุรกิจค้าปลีกได้โดยไม่เข้าข้อยกเว้น ทั้งนี้ทำให้ธุรกิจค้าปลีกต่างด้าวขนาดใหญ่เข้ามาขยายสาขาในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาประเทศไทยเองก็ยังไม่มีกฎหมายที่มาดูแลควบคุมธุรกิจประเภทนี้โดยเฉพาะ ที่ผ่านมาได้นำเอากฎหมายด้านผังเมืองและควบคุมอาคารมาใช้ในการจำกัดการขยายสาขา และพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่ก็ไม่สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากมีช่องโหว่ของกฎหมายอีกทั้งกฎหมายอีกทั้งกฎหมายที่นำมาใช้นั้นก็ไม่ได้เกี่ยวกับปัฐหาที่เกิดขึ้นโดยตรง ทำให้ค้าปลีกดั้งเดิมของคนไทย หรือโชวห่วยได้รับผลกระทบอย่างมากจึงต้องปิดกิจการไป จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องการค้าปลีกนั้นไม่สามารถแก้ไขโดยใช้กฎหมายที่มีอยู่ได้ รัฐบาลจำเป็นต้องมีการประกาศใช้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจประเภทนี้โดยเฉพาะ ซึ่งได้มีการจัดร่างพระราชบัญญัติ ค้าปลีกขึ้นมา และกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาหากร่างพระราชบัญญัตินี้ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ก็จะช่วยจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดพร้อมกับต้องมีนดยบายส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการค้าปลีกของคนไทยให้เข้มแข็งขึ้นด้วยเพื่อที่จะแข่งขันกับค้าปลีกต่างชาติได้