SPU Research
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Research โดย เรื่อง "1.แนวโน้ม 2.การจัดการศึกษา 3.พระปริยัติธรรมแผนกบาลี"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ แนวโน้มการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทย(สถาบันวิจัยญาณสังวร (Yanasangvorn Research Institute), 2562-01-01) พระมหาวรพล วรพโล (ม่วงสาว) สุบิน ยุระรัช และอรรณพ จีนะวัฒน์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการของการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทย (2) วิเคราะห์แนวโน้มการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทย และ (3) นาเสนอแนวทางการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทย แบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ จานวน 21 รูป/คน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ จานวน 17 รูป และผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคฤหัสถ์จานวน 4 คน ซึ่งมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านหลักสูตร ศึกษาแต่อรรถกถาและฏีกา ไม่ได้ศึกษาจากต้นฉบับคือพระไตรปิฎกโดยตรง จึงทาให้ไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้บางส่วนได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน และควรเสริมบทเรียนไวยากรณ์ชั้นสูงในชั้นเปรียญเอก รวมไปถึงการผสมผสานศาสตร์ความรู้ด้านอื่นที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนหันมาสนใจมากขึ้น (2) ด้านการจัดการศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จัดเป็นการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย แต่ไม่มีพระราชบัญญัติการศึกษาที่ระบุถึงการศึกษาประเภทนี้ไว้โดยเฉพาะ ฝ่ายศาสนจักรคือคณะสงฆ์จัดทาการศึกษาดังกล่าวเพียงลาพัง โดยปราศจากความร่วมมือจากฝ่าย อาณาจักร (3) ด้านการเรียนการสอน มุ่งเน้นที่วิธีการหรือกระบวนการเพื่อสอบให้ผ่านเพียงเดียว ขาดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (4) ด้านผู้สอน ขาดหลักจิตวิทยาในการสอน ผู้สอนขาดประสบการณ์ (5) ด้านผู้เรียน ความนิยมลดลงเมื่อเทียบกับสมัยอดีต ศึกษาเพื่อต้องการนาไปเทียบวุฒิการศึกษาประเภทอื่น (6) ด้านการวัดผลและการประเมินผล ไม่ครอบคลุม ควรมีข้อสอบประเภทปรนัยเพื่อให้ครอบคลุมองค์ความรู้ทั้งหมด