CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "การจัดการโลจิสติกส์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการโลจิสติกส์ของผูประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วุฒิชัย คงยังงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมโลจิสติกส์และนำเสนอแนวทางการจัดการ โลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถลดรายจ่าย ลดระยะเวลา และลดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกิจกรรมเหล่านั้น โดยเก็บข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ สถานประกอบการ เจ้าของกิจการ พนักงาน ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 ตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน ผลการวิจัยพบว่าการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการกระจายสินค้า ปัจจัยด้านการจัดการสินค้าคงคลัง และปัจจัยด้านการจัดการการขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้มีบทบาทและความสำคัญที่มีต่อการจัดการ โลจิสติกส์ คือ ผู้ประกอบมีการใช้ระบบโลจิสติกส์เพื่อใช้ในการลดต้นทุน ใช้ในการยกระดับคุณภาพของสินค้าและการให้บริการแก่ลูกค้า และที่สำคัญมีการใช้ระบบโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน เพื่อลดต้นทุนรวมและสามารถตอบสนองความต้องการที่ไม่คงที่ของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา พบว่าสาเหตุสำคัญเกิดจากการจัดการคำสั่งซื้อไม่สามารถคาดการณ์ความต้องการของสินค้าได้ ทำให้ไม่สามารถดูแลสินค้าได้อย่างทั่วถึงและส่งผลต่อการวางแผนเพื่อจัดเก็บรายการ การจัดการโลจิสติกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วัชราพร ดงน้อยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการโลจิสติกส์ของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบนที่มีลักษณะของธุรกิจ ขนาดโรงเรือน จำนวนสุกรที่เลี้ยงทั้งหมด ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจที่ต่างกัน 4) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนผู้ประกอบการฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน จำนวน 260 ฟาร์ม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์คือ การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ