CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย วันที่ออก
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 17 ของ 17
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การลดต้นทุนคลังบรรจุภัณฑ์ด้วยหลักการ ECRS กรณีศึกษา: ผู้ผลิตโคมไฟ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ลัลนา สุวรรณางานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุนคลังบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยใช้ การกำจัด – การรวมกัน – การจัดใหม่ – การทำให้ง่าย เรียกว่า หลักการ "ECRS" ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที เน้นการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ด้วยการปรับแนวคิดในการทำงาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นแนวปฏิบัติที่ดี 4 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 ปรับคุณภาพของกระดาษทำกล่องส่งผลให้ สามารถลดต้นทุนลงได้ 120,600 บาท คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ 2 จัดกลุ่มมาตรฐานขนาดกล่องเพื่อลดความหลากหลายของขนาดให้เหลือเพียง 6 กลุ่ม และสามารถเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อกล่องแต่ละขนาด ส่งผลให้สามารถต่อรองราคากับผู้ส่งมอบได้ประมาณ 15-25 เปอร์เซ็นต์ การแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ จำเป็นต้องมีการจัดกลุ่มมาตรฐานกล่อง อ้างอิงตามขนาดแท่นรองรับสินค้ามาตรฐานขนาด 100 x 120 เซนติเมตร หรือ 110 x 110 เซนติเมตร ซึ่งขนาดที่กำหนดจะสามารถวางเรียงเป็นหน่วยขนส่งได้บนแท่นรองรับสินค้า ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนได้ทั้งสิ้น 88,216 บาท หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ 3 การจัดมาตรฐานแท่นรองรับสินค้าตามมาตรฐานแบบหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนการสั่งซื้อแท่นรองรับสินค้า ส่งผลให้ต้นทุนลดลง 254,275 บาท คิดเป็น 86 เปอร์เซ็นต์ และ กรณีที่ 4 การใช้พลาสติกกันกระแทก แทนกระดาษกันกระแทก ในการป้องกันสินค้าแตกหักเสียหาย และยังเป็นการประหยัดเวลาในการออกแบบและสั่งผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนได้ 375,442.59 บาท คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์รายการ การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ปณิชา ตันสูติชลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เสนอแนวทางการจัดการโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เพศชาย เป็นวัยกลางคน รายได้ปานกลาง มีวัตถุประสงค์ท่องเที่ยว เพื่อความเพลิดเพลิน / พักผ่อนหย่อนใจ ชอบการเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน / หมู่คณะ มีค่าใช้จ่ายต่อทริปเฉลี่ยต่ำกว่า 500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ผลการทดสอบสมมติฐาน ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยกเว้นด้านเพศ รายได้ ภูมิลำเนา ที่ไม่แตกต่างกัน และองค์ประกอบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว ก่อนการเดินทาง ระหว่างการเดินทาง และหลังการเดินทางมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติด้วยค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ในส่วนของแนวทางการจัดการโซ่อุทานการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความคิดเห็นว่า ควรมีการจัดการการไหลเวียนทางกายภาพ (Physical flows) เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน (ท่าเรือ ถนน ไฟฟ้า และน้ำ) ขยะ เป็นต้น การจัดการการไหลเวียนทางข้อมูลข่าวสาร (Information flows) เช่น การประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ในการท่องเที่ยวเกาะเต่า และการจัดการการไหลเวียนทางการเงิน (Financial flows)รายการ การตัดสินใจเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรในจังหวัดยะลาด้วยวิธี FUZZY TOPSIS(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ธีรยุทธ มูเล็งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ เกณฑ์ในการตัดสินใจ และตำแหน่งที่ตั้งทางเลือกของศูนย์กระจายสินค้าเกษตรที่เป็นไปได้ในจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกที่ตั้งศูนย์ฯ ด้วยวิธี FUZZY TOPSIS เริ่มจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญการเกษตรเชิงพาณิชย์ 3 ราย ในเรื่อง บทบาทหน้าที่ เกณฑ์การตัดสินใจ และตำแหน่งที่ตั้งทางเลือก จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์ผล และสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ราย ประเมินความสำคัญ และประเมินเกณฑ์แต่ละทางเลือก อีกครั้งหนึ่ง ข้อมูลที่ได้จะถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกด้วยวิธี FUZZY TOPSIS ผลการวิจัย พบว่า บทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางการรวบรวม กระจาย ขนส่ง เชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนการสื่อสาร เพิ่มอำนาจต่อรอง ป้องกันปัญหาล้นตลาด อำนวยความสะดวก เกิดมาตรฐานในการเคลื่อนย้าย คัดแยก จัดเก็บ และบรรจุสินค้า ที่มีคุณภาพ และเพิ่มมูลค่าได้ ในส่วนของเกณฑ์การตัดสินใจ พบว่ามี 8 เกณฑ์ ได้แก่ ขนาดพื้นที่ของศูนย์ฯ ความปลอดภัย ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมสะดวก ความเชื่อมโยงกับการขนส่งในรูปแบบอื่น ความเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผลกระทบต่อชุมชน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของที่ตั้งทางเลือก พบว่ามี 5 ทางเลือก ได้แก่ สถานที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและทำหน้าที่คล้ายศูนย์ฯ 3 ทางเลือก และสถานที่ว่างเปล่าที่สามารถเป็นศูนย์ฯ ได้อีก 2 แหล่ง การประเมินด้วยการใช้วิธี FUZZY TOPSIS พบว่า ทางเลือกที่เป็นศูนย์กระจายสินค้า และตลาดเกษตร “Co-op Market” ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นทางเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีค่า CC (Closeness Coefficiency) มากที่สุดรายการ การจัดการโซ่คุณค่าของสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเอกชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) บดินทร์ อาสนะงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้เรียนกับสภาพความเป็นจริง เพื่อนำไปออกแบบการจัดการโซ่อุปทาน และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการโซ่อุปทานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรณีศึกษา มหาวิยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษา ในมหาวิทยาลัยกรณีศึกษา จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 1 คน และหัวหน้าสาขาวิชา 5 สาขาวิชา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ สถิติทดสอบที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวรายการ การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา กรณีศึกษา : ผู้ผลิตไม้ยางพาราแปรรูป(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อัมพวรรณ หนูพระอินทร์ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตทุกประเภทกำลังเผชิญกับการแข่งขันทางด้านการผลิตเป็นอย่างสูง ผู้ประกอบการธุรกิจทุกระดับต้องพบกับคู่แข่งการค้าเสรีทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า และต้องคำนึงถึงการลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป เพื่อค้นหาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา และเพื่อหาแนวทางการลดความสูญเปล่าในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา : กรณีศึกษา ABC โดยการจัดสมดุลสายการผลิตและลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อตัวผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น ความสูญเปล่าของการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น การเคลื่อนไหวที่เกินจำเป็น ความสูญเปล่าเนื่องจากงานเสีย (Defect) เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมานี้ ส่งผลให้โรงงานกรณีศึกษามีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากชั่วโมงงานที่เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงงมุ่งเน้นการหาแนวทางลดความสูญเปล่าในกระบวนการแปรรูปไม้ยางพารา โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบ Lean ตามหลักการของ ECRSรายการ การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์แบบ เอบีซี และการควบคุมการมองเห็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิก - จ่ายสินค้า กรณีศึกษา : บริษัทผู้แทนจำหน่ายและนำเข้าอาหารปลาสวยงาม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) นิตยา พูลผลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิก-จ่ายสินค้าภายในคลังสินค้าและลดการหยิบสินค้าผิด โดยผู้วิจัยศึกษาถึงระบบการทำงานปัจจุบันภายในคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาโดยผู้วิจัยได้ออกแบบการจัดเรียงสินค้าใหม่โดยแบ่งตามประเภทของตราสินค้าโดยใช้การประยุกต์ใช้ทฤษฏี ABC analysis และการจัดทำป้ายวางที่ชั้นวางสินค้า จัดทำโซนสินค้าโดยมีป้ายแสดงตราสินค้าตามช่องที่วางสินค้าโดยนำทฤษฏี Visual control (การควบคุมด้วยการมองเห็น) เข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับคลังสินค้าที่ผู้วิจัยได้ทำการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบจำนวนสินค้าที่หยิบสินค้าผิดทั้งแบบชนิดกระสอบ และชนิดแบบกล่อง ผลการวิจัยพบว่าการนำทฤษฏี ABC analysisและทฤษฏี Visual control (การควบคุมด้วยการมองเห็น) เข้ามาปรับใช้ภายในคลังสินค้า สามารถช่วยลดการหยิบผิดของสินค้าลดลงได้จาก 514 กล่องและ 539 กระสอบต่อเดือน ลดลงไปเหลือแค่หยิบสินค้าผิดต่อเดือน 17 กล่องและ 6 กระสอบต่อเดือนจากสินค้าภายในคลังสินค้าทั้งหมด 115 รายการ 3799 สินค้า คิดเป็น 0.44% แบบกล่องและ 0.15% แบบกระสอบต่อเดือนและสามารถลดระยะเวลาจากการเข้าไปหยิบสินค้าได้จากเดิมใช้ระยะ เวลา 10-20 นาทีต่อกล่อง/กระสอบเหลือแค่ 5-10 นาทีต่อกล่อง/กระสอบรายการ การพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้จัดจำหน่ายบนหน้าเว็บแอพพลิเคชั่น ประเภทสินค้า Non-Food กรณีศึกษา: บริษัทเซ็นทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) ณิชากร พีระพันธุ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการสินค้าคงคลังประเภท Non-Food และพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้จัดจำหน่าย (Vendor Management Inventory : VMI) มาใช้ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อลดปัญหาสินค้าขาดมือ โดยศึกษาภาพรวมของการบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษาและการบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้จัดจำหน่าย เพื่อออกแบบและประยุกต์ระบบ VMI บนหน้าเว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้ในการบริหารสินค้าคงคลังและเก็บข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบจำนวนสินค้าขาดมือก่อนและหลังการนำระบบ VMI มาใช้ กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาเรื่องนี้คือ ผู้จัดจำหน่าย (Supplier) ทั้งหมด 9 บริษัท ผลการวิจัยพบว่าระบบ VMI ที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถใช้งานได้จริง สามารถลดจำนวนสินค้าขาดมือได้ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับปี 2559 ซึ่งบางเดือนสินค้าขาดมือเป็นศูนย์ (Zero OOS) นอกจากนี้ยังสามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานภายในองค์กรจากเดิม 13 วัน เหลือเพียง 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 46.15รายการ การจัดการโลจิสติกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) วัชราพร ดงน้อยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการโลจิสติกส์ของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบนที่มีลักษณะของธุรกิจ ขนาดโรงเรือน จำนวนสุกรที่เลี้ยงทั้งหมด ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจที่ต่างกัน 4) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนผู้ประกอบการฟาร์มสุกรในภาคเหนือตอนบน จำนวน 260 ฟาร์ม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์คือ การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณรายการ การลดต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์โดยการจัดการรถเที่ยวเปล่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) บุษยมาศ ผุยมูลตรีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและต้นทุนการขนส่งของบริษัทกรณีศึกษา 2) ปรับปรุงรูปแบบการจัดการขนส่งโดยใช้แนวคิดการจัดการเที่ยวเปล่า 3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขนส่งโดยใช้การจัดการรถเที่ยวเปล่า และ 4) เพื่อเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการขนส่งให้แก่บริษัท การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยปรับปรุงรูปแบบการจัดการขนส่งและเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุง ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรประกอบด้วย ผู้รับบริการของบริษัท จำนวน 55 คน และพนักงานขับรถของบริษัท จำนวน 35 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นทุนการจัดการขนส่งก่อนการปรับปรุงของบริษัทกรณีศึกษา มีต้นทุนอยู่ที่ 880,733 บาทต่อเดือน หรือ 10,568,800 บาทต่อปี ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในส่วนของการตีรถเที่ยวเปล่ากลับมาปิดงานที่บริษัทเพื่อรอรับงานต่อไป 2) หลังจากนำแนวคิดการจัดการขนส่งเที่ยวเปล่ามาประยุกต์ใช้ พบว่าบริษัทกรณีศึกษาสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากการตีรถเที่ยวเปล่าลงร้อยละ 27.66 หรือคิดเป็นมูลค่า 2,923,800 บาทต่อปี สามารถขนส่งวัตถุดิบเที่ยวกลับได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.15 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้าโดยใช้กระบวนการขนส่งเที่ยวกลับ พบว่า ผู้รับบริการขนส่งมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 ประกอบด้วย มีการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการให้บริการ และการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ ตามลำดับ 4) การเพิ่มมูลค่าให้แก่บริษัทโดยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานขับรถ ใช้การวัดคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขับรถ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย บริษัทมีการพัฒนาความสามารถของบุคคล มีค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม และสร้างความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ตามลำดับรายการ การจัดการโลจิสติกส์ของผูประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วุฒิชัย คงยังงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมโลจิสติกส์และนำเสนอแนวทางการจัดการ โลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถลดรายจ่าย ลดระยะเวลา และลดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกิจกรรมเหล่านั้น โดยเก็บข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ สถานประกอบการ เจ้าของกิจการ พนักงาน ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 ตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุน ผลการวิจัยพบว่าการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการกระจายสินค้า ปัจจัยด้านการจัดการสินค้าคงคลัง และปัจจัยด้านการจัดการการขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้มีบทบาทและความสำคัญที่มีต่อการจัดการ โลจิสติกส์ คือ ผู้ประกอบมีการใช้ระบบโลจิสติกส์เพื่อใช้ในการลดต้นทุน ใช้ในการยกระดับคุณภาพของสินค้าและการให้บริการแก่ลูกค้า และที่สำคัญมีการใช้ระบบโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน เพื่อลดต้นทุนรวมและสามารถตอบสนองความต้องการที่ไม่คงที่ของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเนื้อไก่ในจังหวัดยะลา พบว่าสาเหตุสำคัญเกิดจากการจัดการคำสั่งซื้อไม่สามารถคาดการณ์ความต้องการของสินค้าได้ ทำให้ไม่สามารถดูแลสินค้าได้อย่างทั่วถึงและส่งผลต่อการวางแผนเพื่อจัดเก็บรายการ การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง กรณีศึกษา : ศูนย์กระจายสินค้า บริษัท ชายสี่บะหมี่เก๊ยว จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กาญจนา วงษ์สุมาลีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการเส้นทางการเดินรถขนส่งสำหรับ บริษัท ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำกัด และเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเส้นทางการเดินรถขนส่ง การศึกษาความสามารถของรถที่สามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยผู้วิจัยได้นำทฤษฎีที่ดีที่สุดมาทำการประยุกต์ใช้ในแก้ปัญหาการจัดรอบการเดินรถในแต่ละวัน และปริมาณบะหมี่ที่ทำการบรรทุกในแต่ละเส้นทาง นำ 2 ทฤษฎีแรกที่จะทำการมาเปรียบเทียบกันว่า ทฤษฎีไหนเหมาะสมกับการแก้ปัญหาคือ อัลกอริทึมแบบประหยัด (Saving Algorithm) หรือแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) มาใช้ในการระบุปริมาณสินค้าที่จะทำการบรรทุกและส่งในเส้นทางต่างๆ โดยที่ไม่ซ้ำกันและทำการขนส่งให้ลูกค้าภายใน 1 วัน หรือตามวันเวลาที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงดังกล่าวสามารถลดรอบการเดินรถที่ทำการขนส่งสินค้าต่อวัน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และลดความซ้ำซ้อนของรถที่ทำการส่งสินค้าไปในแต่ละวัน ปรับปรุงต้นทุนค่าใช้จ่ายเนื่องมาจากการขนส่งสินค้าในปริมาณขั้นต่ำ และลดการไปแวะจุดเดิมซ้ำซ้อนหลายๆ รอบต่อวัน โดยสามารถเสนอแนวทางในการเลือกผู้ประกอบการขนส่งได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาปริมาณและเส้นทางการเดินรถในกิจการอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสมรายการ การพัฒนารหัสสถานที่เพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) อุทุมพร อยู่สุขงานวิจัยเชิงผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารหัสสถานที่และระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เพื่อพัฒนารหัสสถานที่ คือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบสอบถามเพื่อสร้างรหัสสถานที่ คือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP) จากนั้นสร้างเว็บไซต์ทดลองการพัฒนาระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ จากผลการวิจัยได้พัฒนารหัสสถานที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์นำร่องได้ จำนวน 30 รหัส จากนั้นนำมาสู่การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบเชิงลำดับชั้น(AHP) และค่าน้ำหนักปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่มีค่าความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือมีค่าน้ำหนัก 0.299 ด้านราคามีค่าน้ำหนัก 0.261 ด้านการตอบสนองมีค่าน้ำหนัก 0.221 ด้านเทคโนโลยีมีค่าน้ำหนัก 0.097 ด้านการบริการลูกค้ามีค่าน้ำหนัก 0.074 และด้านองค์กรมีค่าน้ำหนัก 0.048 ตามลำดับ ซึ่ค่าน้ำหนักดังกล่าวได้ถูกนำไปพัฒนาต่อในรูปแบบของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ซึ่งพบว่าผู้ให้บริการโลจิสติกส์และผู้ใช้บริการโลจิสติกส์มีความพึงพอใจการพัฒนารหัสสถานที่เพื่สนับสนุนระบบการตัดสินใจคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยรวมอยู่ในระดับมากรายการ รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวชายแดนไทย –ลาว ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สิรภพ วงศ์ลภัสการวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวชายแดนไทย – ลาว ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว และเพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในเขตอำเภอเขมราฐ จำนวน 400 คน ผลการวิจัย สรุปได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-35 ปี สถานภาพโสด ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-25000 บาท มีระดับการศึกษาปริญญาตรี การทดสอบสมมติฐาน นักท่องเที่ยวที่มีสภาพส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้าน เพศ อายุ สถานภาพ และภูมิลำเนา และนักท่องเที่ยวที่มีสภาพส่วนบุคคลแตกต่างกันมีผลต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวที่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านระดับการศึกษา ควรเพิ่มช่องทางได้รับข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์จากสื่อโซเซียลให้มากขึ้น พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ปรับปรุงบ้านเรือนให้เป็นโฮมสเตย์ จัดรูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสเนื่องจากอำเภอเขมราฐมีต้นทุนทางวัฒนธรรมสูง การปรับปรุงเส้นทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบการขนส่งสาธารณะ เนื่องจากเส้นทางการเดินรถยังไม่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นควรจะมีรูปแบบการท่องเที่ยวให้มากขึ้น มีการเพิ่มโปรแกรมเยี่ยมชมหมู่บ้านสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนรายการ การแก้ปัญหาอุปกรณ์สำนักงานขาดมือ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบ ABC และระบบ VMI กรณีศึกษา : กองนโยบายและแผน สำนักบริหารและพัฒนาระบบ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กชพร รักษ์กำเนิดงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบการจัดการสินค้าคงคลังเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน และลดปัญหาอุปกรณ์สำนักงานขาดมือ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำนักงานจากการเคลื่อนไหวเร็ว เคลื่อนไหวปานกลาง และเคลื่อนไหวช้า โดยใช้ทฤษฎี ABC Analysis และการนำระบบ VMI มาช่วยในการบริหารจัดการสินค้าคลังเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำนักงานที่ขาดสต็อก กรณีศึกษา กองนโยบายและแผน สำนักบริหารและพัฒนาระบบ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานของกำลังพลภายในกอง ผลการวิจัยพบว่าการนำทฤษฎี ABC Analysis และการนำระบบ VMI เข้ามาใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้สินค้าคงคลังเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำนักงานมีจำนวนเพียงพอต่อการใช้งาน และสินค้าคงคลังเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สำนักงานมีการจัดเก็บได้ถูกต้องตามความเหมาะสมในการใช้งานรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินธุรกิจของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม (CLMV)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ไอยเรศ วงษ์วัฒนพงษ์งานวิจัยนี้นำเสนอการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินธุรกิจของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อเสนอผลการดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าข้ามแดนโดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในประเทศไทยจำนวน 310 บริษัทโดยการวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในกลุ่มประเทศ CLMV 2) เพื่อประเมินผลการดำเนินธุรกิจของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในกลุ่มประเทศ CLMV 3) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินธุรกิจของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในกลุ่มประเทศ CLMVโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วยด้านกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ ด้านทักษะความสามารถและด้านค่านิยมร่วม และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านสภาพแวดล้อม และด้านกฎหมาย สามารถทำนายผลการดำเนินธุรกิจของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าข้ามแดนในกลุ่มประเทศ CLMVรายการ การปรับปรุงผลผลิตสำหรับกระบวนการแปรรูปกล้วย กรณีศึกษา : กลุ่มกล้วยอบแห้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) คมศ์ ศักดิ์ศรีวัฒนางานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปกล้วย เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการแปรรูปกล้วย ตลอดจนวิเคราะห์ประสิทธิภาพการแปรรูปกล้วยของกลุ่มกล้วยอบแห้ง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แผนภาพสายธารคุณค่าแสดงกิจกรรมและการไหลของทรัพยากร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดความสูญเปล่า 7 ประการและแผนผังแสดงเหตุและผล และประยุกต์ใช้หลักการ ECRS และวงจรควบคุมคุณภาพในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต ซึ่งได้ออกแบบโรงอบเรือนกระจก โดยใช้ระบบอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบอบแห้งแบบลมร้อนจากก๊าซแอลพีจี ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงกระบวนการดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิการผลิตและสามารถควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น โดยสามารถลดปริมาณของเสียจากการผลิตจากร้อยละ 15.36 เหลือร้อยละ 5.44 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมลดลงจาก 64.21 บาท เหลือ 51.82 บาทต่อกิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 19.3 ของต้นทุนการผลิตเดิม เมื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าจากการปรับปรุงกระบวนการแปรรูป พบว่า คืนทุนภายในระยะเวลา 8 เดือน 27 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นและเหมาะสมรายการ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องเพื่อมุ่งสู่โซ่อุปทานสีเขียว กรณีศึกษา : บริษัท อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย จำกัด(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) วิมลภา ชุ่มดีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการผลิตสับปะรดกระป๋อง ของบริษัทอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย จำกัด และประเมินศักยภาพเบื้องต้นของการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว 2) เสนอแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การผลิต รวมถึงการออกข้อกำหนดหรือนโยบายต่างๆ เพื่อลดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากการผลิตสับปะรดกระป๋อง เพื่อนำไปสู่การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว ผลการศึกษาพบว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกระบวนการผลิตสับปะรดกระป๋องขนาด 20 ออนซ์ มีค่าเท่ากับ 394.44 gCO2e ในขั้นตอนการได้มาของวัตถุดิบ มีค่าเท่ากับ 359.49 gCO2e และในขั้นตอนการผลิตมีค่าเท่ากับ 34.94 gCO2e และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสับปะรดคิดเทียบต่อหน่วยสับปะรด 1 ตัน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 147.02 kgCO2e/ตัน ดังนั้น แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการได้มาของวัตถุดิบเป็นสำคัญ โดยเฉพาะกิจกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร และผลการประเมินศักยภาพเบื้องต้นของการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว พบว่าบริษัทได้คะแนนการประเมินต่ำในด้านการสั่งซื้อและการสื่อสารคำสั่งซื้อ และด้านการรับคำสั่งซื้อสินค้าและสื่อสารเรื่องการส่งมอบ ดังนั้น บริษัทควรเก็บข้อมูลผ่านระบบมากขึ้น ควรคัดเลือกจากผู้ส่งมอบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และควรใช้ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยในการสั่งสินค้าตามคำพยากรณ์ของระบบ คำสำคัญ: สับปะรดกระป๋อง คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ โซ่อุปทานสีเขียว