CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "การลดต้นทุน"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การลดต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์โดยการจัดการรถเที่ยวเปล่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) บุษยมาศ ผุยมูลตรีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและต้นทุนการขนส่งของบริษัทกรณีศึกษา 2) ปรับปรุงรูปแบบการจัดการขนส่งโดยใช้แนวคิดการจัดการเที่ยวเปล่า 3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขนส่งโดยใช้การจัดการรถเที่ยวเปล่า และ 4) เพื่อเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการขนส่งให้แก่บริษัท การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยปรับปรุงรูปแบบการจัดการขนส่งและเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุง ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรประกอบด้วย ผู้รับบริการของบริษัท จำนวน 55 คน และพนักงานขับรถของบริษัท จำนวน 35 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นทุนการจัดการขนส่งก่อนการปรับปรุงของบริษัทกรณีศึกษา มีต้นทุนอยู่ที่ 880,733 บาทต่อเดือน หรือ 10,568,800 บาทต่อปี ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในส่วนของการตีรถเที่ยวเปล่ากลับมาปิดงานที่บริษัทเพื่อรอรับงานต่อไป 2) หลังจากนำแนวคิดการจัดการขนส่งเที่ยวเปล่ามาประยุกต์ใช้ พบว่าบริษัทกรณีศึกษาสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากการตีรถเที่ยวเปล่าลงร้อยละ 27.66 หรือคิดเป็นมูลค่า 2,923,800 บาทต่อปี สามารถขนส่งวัตถุดิบเที่ยวกลับได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.15 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้าโดยใช้กระบวนการขนส่งเที่ยวกลับ พบว่า ผู้รับบริการขนส่งมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 ประกอบด้วย มีการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการให้บริการ และการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ ตามลำดับ 4) การเพิ่มมูลค่าให้แก่บริษัทโดยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานขับรถ ใช้การวัดคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขับรถ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย บริษัทมีการพัฒนาความสามารถของบุคคล มีค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม และสร้างความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ตามลำดับรายการ การลดต้นทุนคลังบรรจุภัณฑ์ด้วยหลักการ ECRS กรณีศึกษา: ผู้ผลิตโคมไฟ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ลัลนา สุวรรณางานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่อลดต้นทุนคลังบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยใช้ การกำจัด – การรวมกัน – การจัดใหม่ – การทำให้ง่าย เรียกว่า หลักการ "ECRS" ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที เน้นการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ด้วยการปรับแนวคิดในการทำงาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นแนวปฏิบัติที่ดี 4 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 ปรับคุณภาพของกระดาษทำกล่องส่งผลให้ สามารถลดต้นทุนลงได้ 120,600 บาท คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ 2 จัดกลุ่มมาตรฐานขนาดกล่องเพื่อลดความหลากหลายของขนาดให้เหลือเพียง 6 กลุ่ม และสามารถเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อกล่องแต่ละขนาด ส่งผลให้สามารถต่อรองราคากับผู้ส่งมอบได้ประมาณ 15-25 เปอร์เซ็นต์ การแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ จำเป็นต้องมีการจัดกลุ่มมาตรฐานกล่อง อ้างอิงตามขนาดแท่นรองรับสินค้ามาตรฐานขนาด 100 x 120 เซนติเมตร หรือ 110 x 110 เซนติเมตร ซึ่งขนาดที่กำหนดจะสามารถวางเรียงเป็นหน่วยขนส่งได้บนแท่นรองรับสินค้า ส่งผลให้สามารถลดต้นทุนได้ทั้งสิ้น 88,216 บาท หรือคิดเป็น 12 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ 3 การจัดมาตรฐานแท่นรองรับสินค้าตามมาตรฐานแบบหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนการสั่งซื้อแท่นรองรับสินค้า ส่งผลให้ต้นทุนลดลง 254,275 บาท คิดเป็น 86 เปอร์เซ็นต์ และ กรณีที่ 4 การใช้พลาสติกกันกระแทก แทนกระดาษกันกระแทก ในการป้องกันสินค้าแตกหักเสียหาย และยังเป็นการประหยัดเวลาในการออกแบบและสั่งผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนได้ 375,442.59 บาท คิดเป็น 66 เปอร์เซ็นต์