ARC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ARC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย เรื่อง "การเรียนรู้แบบร่วมมือ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาและโอกาสของการการสอนออนไลน์ ในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 กรณีศึกษา การสอนแบบบรรยาย วิชา IND143 ประวัติศิลปะการตกแต่งตะวันตก(ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07-31) ปิยะ ไล้หลีกพาลสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563 นี้ ทำให้การเรียนในทุกสถาบันการศึกษาต้องเปลี่ยนจากการสอนแบบที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ในห้องเรียนร่วมกัน (Face-to-face Learning) มาเป็นการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) ซึ่งในชั้นเรียนที่เป็นการเรียนแบบบรรยายผสมผสานกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) อย่างเช่น วิชา IND143 ประวัติศิลปะการตกแต่งตะวันตก ได้ปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับลักษณะการสอนออนไลน์ ที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ถึงแม้ว่าการสอนออนไลน์จะมีข้อดีในแง่ที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคตามมาเช่นกัน ได้แก่ บรรยากาศของการสอนออนไลน์ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ และอุปสรรคในการสื่อสารเนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนอยู่คนละสถานที่ ในการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบออนไลน์ในครั้งนี้ ได้ปรับย้ายการบรรยายรวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้มาอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต และได้แก้ปัญหาบรรยากาศของการสอนออนไลน์ โดยการปรับวิธีการเรียนรู้จากแบบกลุ่มย่อยไปเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน และเพิ่มบทบาทของผู้สอนในการควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนอุปสรรคในการสื่อสาร แก้ไขโดยการเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในชั้นเรียนออนไลน์ การตอบสนองต่อคำถามและข้อสงสัยของผู้เรียนอย่างทันท่วงที และการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Facebook ในการอธิบายและให้คำแนะนำในการเรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพ การพัฒนาการสอนออนไลน์ โดยการผสมผสานข้อดีของการสอนแบบที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ในห้องเรียนร่วมกันและการสอนแบบออนไลน์เข้าด้วยกัน (Blended Learning) รวมทั้งการพัฒนาให้เป็นการสอนออนไลน์แบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative e-Learning) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนออนไลน์ให้มากขึ้น