ARC-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 5 ของ 5
  • รายการ
    ปัญหาและโอกาสของการการสอนออนไลน์ ในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 กรณีศึกษา การสอนแบบบรรยาย วิชา IND143 ประวัติศิลปะการตกแต่งตะวันตก
    (ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07-31) ปิยะ ไล้หลีกพาล
    สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ในปี 2563 นี้ ทำให้การเรียนในทุกสถาบันการศึกษาต้องเปลี่ยนจากการสอนแบบที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ในห้องเรียนร่วมกัน (Face-to-face Learning) มาเป็นการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) ซึ่งในชั้นเรียนที่เป็นการเรียนแบบบรรยายผสมผสานกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) อย่างเช่น วิชา IND143 ประวัติศิลปะการตกแต่งตะวันตก ได้ปรับเปลี่ยนเทคนิคการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับลักษณะการสอนออนไลน์ ที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ถึงแม้ว่าการสอนออนไลน์จะมีข้อดีในแง่ที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคตามมาเช่นกัน ได้แก่ บรรยากาศของการสอนออนไลน์ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือ และอุปสรรคในการสื่อสารเนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนอยู่คนละสถานที่ ในการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบออนไลน์ในครั้งนี้ ได้ปรับย้ายการบรรยายรวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้มาอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต และได้แก้ปัญหาบรรยากาศของการสอนออนไลน์ โดยการปรับวิธีการเรียนรู้จากแบบกลุ่มย่อยไปเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน และเพิ่มบทบาทของผู้สอนในการควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนอุปสรรคในการสื่อสาร แก้ไขโดยการเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในชั้นเรียนออนไลน์ การตอบสนองต่อคำถามและข้อสงสัยของผู้เรียนอย่างทันท่วงที และการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Facebook ในการอธิบายและให้คำแนะนำในการเรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพ การพัฒนาการสอนออนไลน์ โดยการผสมผสานข้อดีของการสอนแบบที่ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ในห้องเรียนร่วมกันและการสอนแบบออนไลน์เข้าด้วยกัน (Blended Learning) รวมทั้งการพัฒนาให้เป็นการสอนออนไลน์แบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative e-Learning) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนออนไลน์ให้มากขึ้น
  • รายการ
    ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพื้นฟูย่านชุมชนเก่า
    (2562-11-11) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์
  • รายการ
    ชุมชนคลองเตยและกระบวนการออกแบบการพัฒนาเมืองแบบครอบคลุม
    (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563-07-26) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และ ธราดล เสาร์ชัย
    บทความนี้ได้แสดงให้เห็นความสำคัญของกระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ของชุมชนผุ้มีรายได้น้อยผ่านกระบวนการออกแบบครอบคุลม (Inclusive design) โดยอาศัยการปฏิบัติการภาคสนามของ “โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย” หรือสมาร์ท คอมมูนิตี้ในพื้นที่ท่าเรือคลองเตย เป็นข้อพิพาททางความคิดในการเปลี่ยนรูปร่างเมืองระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในชุมชน ปฏิบัติการออกแบบได้ดำเนินงานในช่วง เดือนเมษายนพ.ศ. 2561 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ในพื้นที่เครือข่ายชุมชนคลองเตย 26 ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างทางเลือกในการฟื้นฟูเมืองที่ได้ประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายที่ยอมรับได้ และ 2) เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกลไกการตัดสินใจของคนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อการพัฒนา โดยวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยภาคีสถาบันการศึกษาผ่านการเก็บข้อมูลและสำรวจกายภาพพื้นที่ ตลอดจนการสร้างพื้นที่เจราจาเพื่อรับฟังข้อมูลผู้อยู่อาศัยใน 8 ชุมชน ประกอบด้วย เงื่อนไข ความคาดหวัง ข้อจำกัด และวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูพื้นที่โดยใช้กลไกเครือข่ายชุมชนคลองเตย ผลผลิตของการศึกษาได้นำมาสู่การสร้างรูปแบบและตัวแบบของการพัฒนาพื้นที่เมือง ที่อยู่อาศัย ที่ครอบคลุมวิถีชีวิต เศรษฐกิจ โครงสร้างสังคม เพื่อสร้างกระบวนการเจรจากับเจ้าของที่ดิน โดยพบว่า ผลลัพธ์ของการศึกษาประกอบด้วย 1) การออกแบบครอบคุลมเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นปัญหา ข้อจำกัด ศักยภาพ และโอกาสจากมุมมองแบบร่วมแรงร่วมใจการพัฒนาพื้นที่อย่างรอบด้าน มากกว่าการออกแบบด้วยมุมมองแบบบนลงล่าง (Top-down design approach) 2) ได้เพิ่มอำนาจให้เกิดการสร้างกลไกร่วมที่ผนวกรวมเอาผู้ได้รับผลกระทบเข้าสู่กลไกในการตัดสินใจต่อการพัฒนาพื้นที่ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายกับเจ้าของที่ดินได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • รายการ
    ชุมชนคลองเตยและกระบวนการออกแบบการพัฒนาเมืองแบบครอบคลุม
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563-06-26) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และ ธราดล เสาร์ชัย
    บทความนี้ได้แสดงให้เห็นความสำคัญของกระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เมืองขนาดใหญ่ ของชุมชนผุ้มีรายได้น้อยผ่านกระบวนการออกแบบครอบคุลม (Inclusive design) โดยอาศัยการปฏิบัติการภาคสนาม ของ “โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยในชุมชนคลองเตย” หรือสมาร์ท คอมมูนิตี้ในพื้นที่ท่าเรือคลองเตย เป็นข้อพิพาททางความคิดในการเปลี่ยนรูปร่างเมืองระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในชุมชน ปฏิบัติการออกแบบ ได้ดำเนินงานในช่วง เดือนเมษายนพ.ศ. 2561 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ในพื้นที่เครือข่ายชุมชนคลองเตย 26 ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างทางเลือกในการฟื้นฟูเมืองที่ได้ประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ ายที่ยอมรับได้ และ 2) เพื่อให้เกิด การมีส่วนร่วมในกลไกการตัดสินใจของคนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อการพัฒนา โดยวิธีการศึกษาเป็นการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยภาคีสถาบันการศึกษาผ่านการเก็บข้อมูลและสำรวจ กายภาพพื้นที่ ตลอดจนการสร้างพื้นที่เจราจาเพื่อรับฟังข้อมูลผู้อยู่อาศัยใน 8 ชุมชน ประกอบด้วย เงื่อนไข ความคาดหวัง ข้อจำกัด และวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงฟื้นฟูพื้นที่โดยใช้กลไกเครือข่ายชุมชนคลองเตย ผลผลิตของการศึกษา ได้น ามาสู่การสร้างรูปแบบและตัวแบบของการพัฒนาพื้นที่เมือง ที่อยู่อาศัย ที่ครอบคลุมวิถีชีวิต เศรษฐกิจ โครงสร้าง สังคม เพื่อสร้างกระบวนการเจรจากับเจ้าของที่ดิน โดยพบว่า ผลลัพธ์ของการศึกษาประกอบด้วย 1) การออกแบบ ครอบคุลมเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นปัญหา ข้อจำกัด ศักยภาพ และโอกาสจากมุมมอง แบบร่วมแรงร่วมใจการพัฒนาพื้นที่อย่างรอบด้าน มากกว่าการออกแบบด้วยมุมมองแบบบนลงล่าง (Top-down design approach) 2) ได้เพิ่มอำนาจให้เกิดการสร้างกลไกร่วมที่ผนวกรวมเอาผู้ได้รับผลกระทบเข้าสู่กลไกในการตัดสินใจ ต่อการพัฒนาพื้นที่ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายกับเจ้าของที่ดินได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • รายการ
    ผลการจัดการเรียนการสอนภาคปฎิบัติเชิงบูรณาการระหว่างวิชาเทคโนโลยีอาคาร 2 กับ วิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม 3 ในช่วงสถานการณ์โควิด 19
    (ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07-31) ธราดล เสาร์ชัย
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนแบบบูรณาการข้ามวิชาระหว่างวิชาเทคโนโลยีอาคาร 2 กับวิชาปฏิบัติการออกแบบสถาปัตยกรรม 3 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในการเรียนการสอน ระหว่างการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการปรับเปลี่ยนเครื่องมือ รูปแบบการเรียนการสอน และใช้วิธีบูรณาการระหว่างวิชาเป็นการแก้ปัญหาการเรียนภาคปฎิบัติในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คนซึ่งทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการบูรณาการระหว่างรายวิชาสามารถใช้ทดแทนรูปแบบการเรียนในภาวะปกติได้