CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "กลุ่มสินค้าเกษตร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรยั่งยืน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ปณิตา แจ้ดนาลาวการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าการเกษตรอย่างยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรในการใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนและการบริหารจัดการโซ่อุปทาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ประชากร คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย จำนวน 1,447,678 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 6,167 ราย ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 ราย โดยใช้แบบสอบถาม และงานวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตร ระดับดี ระดับปานกลาง และระดับปรับปรุง จำนวน 12 คน ลูกค้าของกลุ่มสินค้าเกษตรจำนวน 10 คน และสนทนากลุ่มย่อยโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่กำกับดูแลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 10 คน และกลุ่มประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรจำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัยสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิคทางสถิติของโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ค่าดัชนีสถิติทดสอบ /df = 2.948, P-value = 0.000 GFI = 0.931, CFI = 0.969, NFI = 0.955, IFI = 0.970, RMR = 0.019 และ RMSEA = 0.071 โดยการจัดการโซ่อุปทาน (SCOR Model) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความ สำเร็จของวิสาหกิจชุมชน (BSC) ด้วยค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.98 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรจะประสบความสำเร็จและความยั่งยืนได้นั้น ในการจัดตั้งกลุ่มต้องมีความร่วมมือกันภายในผู้นำและสมาชิก ร่วมกันนำทุนทางวัฒนธรรมของในชุมชนและท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตสินค้าของกลุ่ม