CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การคืนสภาพได้ทางไซเบอร์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล เพื่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) นริส อุไรพันธ์งานวิจัยนี่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธืพลของปัจจัยที่มีผลต่อการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล และอิทธิพลของการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัลที่มีผลต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล 2) พัฒนาตัวแบบการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล 4) เพื่อทำการประเมินตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล และ 5) เพื่อทำการพัฒนาระบบประเมินระดับวุฒิภาวะความสามารถคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัลที่ส่งผลต่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล แลอิทธิพลของการคืนสภาพได้ของโซ่อุปทานดิจิทัลที่มีผลต่อการจัดการความต่เนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลแบบสุ่ม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นวิสาหกิจขนาดและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จำนวน 400 ราย จากทั้งหมด 3,077,822 รายในประเทศไทย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยแจกแบบสอบถามเอสเอ็มอีละ 5 ฉบับ ผลการตอบแบบสอบถามกลับคิดเป็นรเช้อยละ 93.20 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืยยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล เพื่อการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจดิจิทัล ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและระบบการประเมินระดับวุฒิภาวะ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมทั้งประเมินระบบจากผู้เชี่ยวชาญ ในด้านต่างๆ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงปลอกภัยไซเบอร์ จำนวน 4 ท่าน ด้านตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถ จำนวน 4 ด้าน ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 5 ท่าน และก้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จำนวน 4 ท่านรวามจำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 17 ท่าน แล้วนำผลที่ได้มาทำการทดสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัด ระดับวุฒิภาวะความสามารถและเกณฑ์การประเมินตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถการคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล และทำการยืยยันความเหมาะสมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มเพื่อหาตัวแบบที่มีความเหมาะสมสำหรับการวัดระดับวุฒิภาวะความสามารถคืนสภาพได้ทางไซเบอร์ของโซ่อุปทานดิจิทัล เพื่อการจัดการความต่เนื่องทางธุรกิจดิจิทัล