CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "Supply Chain Collaboration"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) เชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการไปวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินงานการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้รับผิดชอบในสถานประกอบการของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 400 แห่ง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยการวิเคราะห์สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามทางเดียว (One way-Multivariate Analysis of Variance: MANOVA) และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอความตรงของรูปแบบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural equation model) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ สมมติฐานของผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนและประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 319.80; df = 216; p = .0635; GFI .97; AGFI .98; RMR .045) และ (X2 = 40.86; df = 28; p = .05536; GFI = .98; AGFI .96; RMR .0099) การประยุกต์ใช้การจัดการโซ่อุปทานอย่างยืนส่งผลทางบวกต่อความพึงใจของพนักงาน และประสิทธิภาพการดำเนินงานต่อผลการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ โดยการนำไปกำหนดหัวข้อหลักสูตรในการจัดฝึกอบรมแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า