ACC-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย เรื่อง "การกำกับดูแลกิจการ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ การจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย กลุ่ม SET100(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) กนกรส พานิชย์พิพัฒน์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการการจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557ถึงปี พ.ศ. 2561ปิดบัญชีรอบระยะเวลา 31ธันวาคมของทุกปี โดยผู้วิจัยเลือกตัวอย่างเฉพาะบริษัท ที่มีข้อมูลครบถ้วนได้ทั้งสิ้นจำนวน 42 บริษัท ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวัดการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างที่อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals) ตามแบบจำลองการพัฒนาทฤษฎี Jones ตัวแปรอิสระได้แก่ ระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ สัดส่วนการถือครองหุ้นรายใหญ่ สัดส่วนจำนวนของคณะกรรมการอิสระ และการแยกตำแหน่งควบของประธานกรรมการและประธาน กรรมการฝ่ายบริหาร ตัวแปรตาม คือ การจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์รายการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) กานต์พลู ทิคำการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือรายงาน ทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในมุมมองของนักวิเคราะห์ การลงทุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มาจากนักวิเคราะห์การลงทุนจำนวน 179 คน ได้รับการตอบกลับซึ่งมี ความครบถ้วนจำนวน 165 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.18 เมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดย ใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ในส่วนของการวิเคราะห์ทางสถิติมีดังนี้ สถิติเชิงพรรณนา อธิบายถึงลักษณะทั่วไปของบุคคลโดยการแจกความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ใช้การวิเคราะห์การผันแปร ทางเดียว และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยรายการ ผลกระทบของการตกแต่งบัญชีและการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อคุณภาพกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) กมลชนก สกุลเจริญการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของรูปแบบการตกแต่งบัญชี มูลเหตุจูงใจการ ตกแต่งบัญชี และการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยที่เข้าเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 305 บริษัท โดยวิเคราะห์ในภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์และรายกลุ่มอุตสาหกรรม ยกเว้น กลุ่มธุรกิจการเงิน และกองทุนรวมและกองทรัสต์ ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากงบการเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2560 ลงในกระดาษทำการ และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุในการทดสอบสมมติฐานรายการ ผลกระทบของรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและการกำกับดูแลกิจการ ที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) จินตนา ไกรทองการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม และการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ระหว่างปี 2557 - 2561 โดยเก็บข้อมูลจากรายงานประจำปี (56-1) และข้อมูลจากงบ การเงิน ใช้การสุ่มตัวอย่างจำ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม และการกากับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดาเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ระหว่างปี 2557 - 2561 โดยเก็บข้อมูลจากรายงานประจาปี (56-1) และข้อมูลจากงบ การเงิน ใช้การสุ่มตัวอย่างจำนวน 230 บริษัท ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์โดยการใช้สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysit) ในการทดสอบความสัมพันธ์ที่ ระดับความเชื่อมั่น 95%นวน 230 บริษัท ข้อมูลถูกนา มาวิเคราะห์โดยการใช้สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysit) ในการทดสอบความสัมพันธ์ที่ ระดับความเชื่อมั่น 95%