ACC-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 62
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการความรู้ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาในการปฏิบัติงานบัญชีและการเงินของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตบริการสุขภาพที่ 5(Sripatum University, 2557-02-10) นฤมล วันดีการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานบัญชีและการเงิน ต่อปัญหาการจัดทำบัญชีและการเงินของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต่อปัญหาการจัดทำบัญชีและการเงิน ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจด้านบัญชีและการเงิน ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับงานบัญชีและการเงินและปัจจัยด้านวิธีปฏิบัติงานในการจัดทำบัญชีและการเงินรายการ ความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานทางบัญชีที่มีต่อการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2556-11-03) ปราณี แจ่มสาครวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Analysis) เฉพาะอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) ของกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีต่อการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ 2) ศึกษาความสัมพันธ์การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร (Profitability Analysis) เฉพาะอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Retum On Equity : ROE) ของกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีต่อการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ 3) ศึกษาความสัมพันธ์การวิเคราะห์ความสามารถ (ประสิทธิภาพ) ในการดำเนินงาน (Efficiency Analysis) เฉพาะอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (Retum On Asset Ratio : ROA) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (Retum On Fixed Asset : ROFA) อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Tumover : FAT) และอัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Tumover : TAT) ของกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีต่อการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ 4) ศึกษาความสัมพันธ์การวิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้ (Solvency Analysis) เฉพาะอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt/Equity Ratio) ของกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่มีต่อการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ การจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย กลุ่ม SET100(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) กนกรส พานิชย์พิพัฒน์การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการการจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557ถึงปี พ.ศ. 2561ปิดบัญชีรอบระยะเวลา 31ธันวาคมของทุกปี โดยผู้วิจัยเลือกตัวอย่างเฉพาะบริษัท ที่มีข้อมูลครบถ้วนได้ทั้งสิ้นจำนวน 42 บริษัท ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวัดการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างที่อยู่ภายใต้ดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals) ตามแบบจำลองการพัฒนาทฤษฎี Jones ตัวแปรอิสระได้แก่ ระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ สัดส่วนการถือครองหุ้นรายใหญ่ สัดส่วนจำนวนของคณะกรรมการอิสระ และการแยกตำแหน่งควบของประธานกรรมการและประธาน กรรมการฝ่ายบริหาร ตัวแปรตาม คือ การจัดการกำไร และมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) หยาดพิรุฬห์ สิงหาดการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ การสั่งการ ประสิทธิภาพการควบคุม และการตัดสินใจต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ด้านความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ การสั่งการ ประสิทธิภาพการควบคุม และการตัดสินใจต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ การสั่งการ ประสิทธิภาพหารควบคุม และการตัดสินใจต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ด้านความสามารถในการปรับตัวขององค์การ (4) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเพื่อการวางแผนและการพยากรณ์ การสั่งการประสิทธิภาพการควบคุม และการตัดสินใจต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEsรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการจัดหาเงินทุนของกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) สมคิด พินิจการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการจัดหาเงินทุนของกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากร คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จาก 8 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เทคโนโลยี ทรัพยากร บริการ ธุรกิจการเงิน สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค และอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสาหรับปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562 ครบทั้งห้าปี จานวน 473 บริษัท รวมทั้งสิ้น 2,365 ตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้วยวิธีเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลระบบการควบคุมภายใน กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2560) สุกัญญา นาคศรีม่วงปัจจุบันสถานการณ์ของการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันมาก องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการควบคุมการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลระบบการควบคุมภายในกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานทางการเงินกับรายการคงค้างของกิจการบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)(Sripatum University, 2558-03-14) สุดารัตน์ หอมกลิ่นวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานทางการเงิน ประกอบด้วย (1) กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (2) กำไรจากการดำเนินงาน (3) กำไรต่อหุ้น (4) อัตรากำไรขั้นต้น (5) อัตรากำไรสุทธิ (6) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (7) อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น ต่อรายการคงค้างของกิจการรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์และผลตอบแทนหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) สวรส สรกลการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง มูลค่าเพิ่ม เชิงเศรษฐศาสตร์และความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์และผลตอบแทน หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเพิ่มเชิง เศรษฐศาสตร์และความสามารถในการทำกำไรที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์และผลตอบแทน หลักทรัพย์ตามกลุ่มอุตสาหกกรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2557-2561 จำนวน 230 บริษัทรายการ ความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความสี่ยงมีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2567) ฑิมศ์พิกา เถาจูการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ทำบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายการ คุณลักษณะของธุรกิจ ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ และสมรรถนะของผู้จัดทำบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) พลกฤต โสลาพากุลการวิจัยคร้ังนี้มีวตัถุประสงค์ในการศึกษาได้แก่ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของธุรกิจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้จัดทำบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร 4. เพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ประเภทของธุรกิจที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณสมรรถนะของผู้จัดทำบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค สามารถนำเสนอเป็นแนวทางประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 1) แนวทางเชิงรุก การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีปฏิบัติงานบัญชีสมัยใหม่ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี 2) แนวทางเชิงแก้ไข การส่งเสริมการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยภาครัฐ มีกฎระเบียบ ที่ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 3) แนวทางเชิงป้องกัน การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีความเชี่ยวชาญทางการบัญชีอย่างมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง 4) แนวทางเชิงรับ การจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการในการปรับปรุง พัฒนาโปรแกรม เพื่อให้ผู้ประกอบการมาปรับปรุง พัฒนาโปรแกรมและระบบบัญชีในกิจการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบบัญชีรายการ คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย(หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) กมลภู สันทะจักร์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม กับคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยงานราชการในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธ์ิในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี ของหน่วยงานราชการในประเทศ อาจารย์สาขาวิชาการบัญชี และหัวหน้าฝ่าย การเงินและบัญชีของบริษัทเอกชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชีของหน่วยงานราชการที่มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมากที่สุด 5 ลำดับ หน่วยงานละ 1 คน อาจารย์สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 1 คน และหัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชีของบริษัทเอกชน จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 7 คน และการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 376 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยคัดเลือกและจำแนกข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ นำข้อมูลมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปตอบปัญหาการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้แก่ ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี ด้านทักษะทางวิชาชีพบัญชี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาอังกฤษ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ด้านการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ว่าสามารถทำให้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานได้รายการ ประสิทธิผลของข้อมูลการบัญชีบริหารที่มีผลต่อความสามารถ ในการแข่งขันและการทำกำไรทางธุรกิจ(Sripatum University, 2560) สุภาวดี พินิจในยุคปัจจุบัน เรียกได้ว่า เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เกิดการค้าที่เสรีและไร้พรมแดน ทำให้สภาวะการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันในประเทศหรือระหว่างประเทศ องค์กรจึงต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อรองรับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องแสวงหาเครื่องมือหรือกลยุทธ์เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาการบริหารงาน เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จและมีการเติบโตที่ยั่งยืน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นคือ ข้อมูลสารสนเทศทางบัญชีรายการ ปัจจัยการควบคุมภายในที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ของสำนักงานสรรพากรภาค 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร(Sripatum University, 2563-11-01) อมรรัตน์ โคบุตร์บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยการควบคุมภายในที่มี อิทธิพลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสำนักงานสรรพากรภาค 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสำนักงานสรรพากรภาค 1 ในเขต กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อการดำเนินงาน ซึ่งทำการเก็บรวมรวบข้อมูลจากบุคลากรของสำนักงานสรรพากรภาค 1 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 336 คน ซ่ึงใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรายการ ปัจจัยการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ระบบบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย(Sripatum University, 2564-07-28) วารินพรรณ สุรวงค์ชัยธวัชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีด้านหน้าที่และสามารถของซอฟต์แวร์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลระบบบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีด้านความเข้าถึงได้กับระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลระบบบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาปัจจัยการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีด้านผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่ส่งผลต่อประสิทธิผลระบบบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (4) เพื่อศึกษาปัจจัยการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีด้านราคาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลระบบบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยรายการ ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือ ที่มีต่อฐานะการเงิน และผลตอบแทนของหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)(Sripatum University, 2557-10-13) กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์การศึกษาเรื่อง ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือ ที่มีต่อฐานะการเงิน และผลตอบแทนของหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีต่อการเลือกนโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือวิธีเข้าก่อนออกก่อนและวิธีถัวเฉลี่ย 2. เปรียบเทียบผลกระทบจากการเลือกใช้นโยบายสินค้าคงเหลือด้วยวิธีเข้าก่อนออกก่อนและวิธีถัวเฉลี่ย 3.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฐานะการเงินของบริษัทที่เลือกใช้นโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือวิธีเข้าก่อนออกก่อนและวิธีถัวเฉลี่ยกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์รายการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรการเงินและการบัญชี : กรณีศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) วนิดา ชุติมากุลการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรการเงินและการบัญชี : กรณีสึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของตัวแปรที่มีต่อการจัดทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบระบบอิเล็กทรอนิกศ์ ได้แก่ ข้อมูลทั้วไปของบุคลากรความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับบัญชีของบุคลากร ความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร และความสามารถในการปฎิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในระบบ GFMIS ของบุคลากร นอกจากนี้ ผู้วิจัยศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดทำบัญชีในระบบดังกล่าว โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรการเงินและการบัญชีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่ใช้ระบบ GFMIS ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีในระบบ GFMIS อยู่ในระดับปานกลาง โดยเพศ อายุ จำนวนรายวิชาบัญชีที่ได้ศึกษา รูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ของหน่วยงาน การเข้าร่วมสัมมนา/ประชุมด้านบัญชหีที่มีหน่วยงานจัดให้ ความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และความสามารถในการปฎิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในระบบ GFMIS กับการจัดทำบัญชีในระบบ GFMIS อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ และมีข้อเสนอแนะการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีในระบบ GFMIS ได้แก่ ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดพิ่มอุปกรณืต่อพ่วง จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงจัดการอบรมความรู้ด้านการจัดทำบัญชี การบันทึกบัญชีอย่างโปร่งใส และการใช้ระบบ GFMIS เพื่อช่วยลดขั้นตอนการบันทึกข้อมูลและลดความซ้ำซ้อน ซึ่งจะส่งผลให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นรายการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความครบถ้วนถูกต้องของรายงานทางบัญชีในระบบ การบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วิชัย เริงรื่นงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความครบถ้วนถูกต้องของรายงานทางบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของหน่วยงานของรัฐ (2) เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่นนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารายงานการเงินให้มีความครบถ้วนถูกต้อง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กลุ่มตัวอย่างบุคลากรฝ่ายการเงินละบัญชี จำนวน 190 คน ของหน่วยงานการคลังที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีของหน่วยงานของรัฐเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรีรายการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือรายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) กานต์พลู ทิคำการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือรายงาน ทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในมุมมองของนักวิเคราะห์ การลงทุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มาจากนักวิเคราะห์การลงทุนจำนวน 179 คน ได้รับการตอบกลับซึ่งมี ความครบถ้วนจำนวน 165 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.18 เมื่อเทียบกับจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดย ใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ในส่วนของการวิเคราะห์ทางสถิติมีดังนี้ สถิติเชิงพรรณนา อธิบายถึงลักษณะทั่วไปของบุคคลโดยการแจกความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ใช้การวิเคราะห์การผันแปร ทางเดียว และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยรายการ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการเปิดเผยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย(หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ภัชรพรรณ์ กรรโณการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยเกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีมีต่อคุณภาพการเปิดเผยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบมีต่อคุณภาพการเปิดเผยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จานวน 319 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยเกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีมีผลกระทบต่อคุณภาพการเปิดเผยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยปัจจัยที่มีผลกระทบสูงสุดคือ ด้านความรับผิดชอบต่อการสื่อสารเรื่องการเปิดเผยข้อมูล และ (2)ปัจจัยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบมีผลกระทบต่อคุณภาพการเปิดเผยการสื่อสารเรื่องสำคัญในการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดยปัจจัยที่มีผลกระทบสูงสุดคือ ด้านความเชื่อมั่นในการจัดหาการสื่อสารสำคัญการตรวจสอบรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดเผยข้อมูลด้านบัญชีสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) กนกกร บริบูรณ์การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยภายในที่มีผลต่อระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านบัญชีสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยภายในที่มีผลต่อระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านบัญชีสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2559 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ เกษตรและอาหารสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ทรัพยากร เทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่าง บริษัทเป็นไปตามเงื่อนที่กำหนด จำนวน 288 ราย ใช้กระดาษทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจาปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี แบบ 56 -1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis)