SPU Information Science Institute of Sripatum University
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Information Science Institute of Sripatum University โดย เรื่อง "สหวิทยาการ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การสร้างแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้ด้วยกรอบความคิดเชิงบูรณาการของนักศึกษา หลักสูตร . วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ณัชนรี นุชนิยม(หนังสือประมวลบทความในการประชุมวิชาการ (Proceedings) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2562 การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ของผู้เรียนเพื่อสังคมที่หลากหลาย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย “Inspiring Student Learning for Diverse Societies” สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 2562-03-29) ณัชนรี นุชนิยมการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้วยกรอบความคิดเชิง บูรณาการของนักศึกษาสาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (2) สรุปผลการเรียนรู้ด้วยกรอบความคิดเชิงบูรณาการของนักศึกษาจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานในโครงการ Idea Market ที่จัดขึ้นในปีการศึกษา 2561 การวิจัยเป็นแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการสร้างแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้ด้วยกรอบความคิดเชิงบูรณาการ เก็บรวบรวมโดยวิธีการสัมภาษณ์ จากการสังเกต ข้อมูลพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อใช้ใน การประเมินผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Rubric Score) และอาจารย์ประจำรายวิชา ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลจากการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้วยกรอบแนวคิดเชิงบูรณาการ โดยการสร้างแรงบันดาลใจนี้นักศึกษาสาขาวิชาสหวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ใช้รูปแบบการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน คือ 1) การถอดกรอบ พิจารณาปัญหา และศึกษาองค์ความรู้ เพื่อได้ข้อสรุป และวิธีการในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ด้วยตนเองในรูปแบบ การทำงานเป็นทีม (Teamwork) 2) การขยายกรอบ วิเคราะห์และเชื่อมโยงที่มาของแนวคิด โดยนำองค์ความรู้ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง 3) การคลุมกรอบ เกิดการบูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา ข้อมูล ได้กรอบความคิดใหม่ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผลการประเมินการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ประจำรายวิชา การสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษานั้น การสร้างแรงบันดาลใจที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงาน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระเป๋าผ้าพรรณารา 3.40 รองลงมา คือ สมุด (ถนอมสายตา) 3.20 รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์ Der Fleur corp. 2.34 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดเชิงบูรณาการ พัฒนาการเรียนรู้และทักษะทางการคิดของนักศึกษา โดยผ่านแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน