งานวิจัยในชั้นเรียน
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู งานวิจัยในชั้นเรียน โดย เรื่อง "Cooperative learning"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาการไม่ตั้งใจเรียนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2553) สุภัสสร ภู่เจริญศิลป์งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง “ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาการไม่ตั้งใจเรียนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม” ได้จัดทำขึ้น เพื่อแก้ปัญหาที่นักศึกษาไม่สนใจในการศึกษาวิชาดังกล่าวเท่าที่ควร ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดทำวิจัย โดยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในวิชา Law 409 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย สำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อีกทั้งเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือในด้านพฤติกรรมการเรียน ความพึงพอใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในรายวิชาดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ได้แก่ การอภิปรายเป็นทีม การแก้ปัญหาด้วยจิ๊กซอ เทคนิคร่วมกันคิด ในขณะที่ผู้วิจัยจะสอดแทรกการสอนแบบบรรยาย จากผลการศึกษา พบว่านักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความพึงพอใจในระดับมาก อีกทั้งยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ มีพฤติกรรมการเรียนที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำงานวิจัยไปใช้ดังนี้ 1. การเรียนการสอนแบบร่วมมือเป็นรูปแบบที่ควรนำไปใช้ในการเรียนการสอนกฎหมายทุกวิชา 2. ผู้สอนสามารถนำเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือไปใช้ เพื่อกระตุ้นการค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษา และทำให้นักศึกษาเกิดความตื่นตัวในการเรียนได้ 3. ผู้สอนจะต้องหาทางกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนที่จะต้องมีต่อกลุ่มให้มากที่สุดรายการ ผลของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชาMGT 417 การสื่อสารเพื่อการจัดการ(2553) ศรัณย์ภัทร, เรืองประไพการศึกษาของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชา MGT 417 การสื่อสารเพื่อการจัดการ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนของนักศึกษา ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือชนิดวิธีการเรียนแบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ 2) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบร่วมมือโดยการแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่ม ร่วมมือ ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการทดสอบความรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลอง ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในระหว่างเรียน และสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ หลังการทดลอง จากนั้น ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย (Mean)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ t แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent samples)ของคะแนนการทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย และค่านัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบ หาค่าเฉลี่ย (Mean) ของแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน หาค่าเฉลี่ย (Mean) ของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อนำข้อมูลมาประเมินความคิดเห็นในภาพรวม ผลการศึกษาพบว่า 1. การศึกษาสัมฤทธิ์ผลในการเรียนโดยพิจารณาจากคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 2. พฤติกรรมการร่วมมือในการเรียนของนักศึกษาที่ใช้วิธีเรียนแบบ แบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากระดับน้อยไปเป็นระดับดี แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านพฤติกรรม การให้ความร่วมมือในการเรียนของนักศึกษา 3. ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความคิดเชิงบวกที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือ