งานวิจัยในชั้นเรียน
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู งานวิจัยในชั้นเรียน โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 27
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) มาสวีร์, มาศดิศรโชติการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มานักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 1 กลุ่มเรียน รวม 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การเรียนการสอนผ่านเว็บในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบและแบบทดสอบวัดความรู้ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ได้การเรียนการสอนผ่านเว็บในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพ 80.81/80.15 และนักศึกษาที่เรียนด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ มีคะแนนสอบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05รายการ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบเกมที่ส่งผลต่อทักษะการทำงานเป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชา EEG221 ระบบดิจิตอลและการออกแบบวงจรตรรก(2553) อุมาพร, ทองรักษ์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา EEG221 ระบบดิจิตอลและการออกแบบวงจรตรรกที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเกม การวิจัยเรื่องนี้ผู้วิจัยได้เลือกการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นแบบ t-test ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา EEG221 ระบบดิจิตอลและการออกแบบวงจรตรรก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเกม (ภาคปกติ) เรียกว่า “กลุ่มทดลอง” จำนวน 59 คนและ กลุ่มที่ 2 ไม่ได้ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเกม (ภาคค่ำ) เรียกว่า “กลุ่มควบคุม” จำนวน 50 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ความสามารถ แบบบันทึกการสังเกต และในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนรู้แบบเกมมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่าระดับ 2 2) นักศึกษากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเกมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีมของ “กลุ่มทดลอง” ส่งผลให้ผู้เรียนได้มีความรับผิดชอบมากขึ้น มีความกระตือรือร้น มีความสามัคคี รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น กล้าที่จะแสดงออกถึงความถูกต้อง มีความเข้าใจสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาในบทเรียนได้ดีขึ้น และ 3) นักศึกษามีทักษะการทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นจากการสำรวจพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม สังเกตได้ว่านักศึกษาใน “กลุ่มทดลอง” ส่วนมากมีความสามัคคี มีความกระตือรือร้นในการเรียนตลอดเวลา มีความสนใจในการเรียนไม่เบื่อหน่าย เพราะมีกิจกรรมที่สนุกสนานเร้าความสนใจ มีการให้รางวัล อีกทั้งเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนที่เรียนอ่อนให้สามารถกล้าแสดงออกรายการ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยการประเมินชั้นเรียน รายวิชา IMG 369 ต้นทุนการผลิตและการงบประมาณ(2553) สรพล, บูรณกูลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ ความครบถ้วนของเนื้อหาและทักษะที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการสอนแต่ละหน่วยการเรียนของผู้เรียน รายวิชา IMG 369 ต้นทุนการผลิตและการงบประมาณ โดยใช้เครื่องมือประเมินชั้นเรียน 2) เพื่อพัฒนาคุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอนจากข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินชั้นเรียน โดยใช้เครื่องมือประเมินชั้นเรียน ประกอบด้วย 1. บันทึกแบบสั้น 2.ผังความคิดรวบยอด 3. แบบ RSQC2 4. แบบเก็บข้อมูลย้อนกลับของครู รวมทั้งแบบวัดสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนหรือแบบทดสอบย่อย กับผู้เรียนที่ลงทะเบียน รายวิชา IMG 369 ต้นทุนการผลิตและการงบประมาณ ในภาคการศึกษา 2/2551 จำนวน 32 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนดีขึ้น เกิดจาก ผู้สอนจริงจังกับการประเมินผล รูปแบบการเรียนเป็นกลุ่มและการประเมินผลงานแบบกลุ่มรวมทั้งการมอบหมายงานที่ชัดเจนตรงกับประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ 2. การพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 ด้านสื่อการสอน ให้เอกสารผู้เรียนและมอบหมายงานให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง พร้อมเฉลยและให้คำแนะนำในเรื่องที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์จากเครื่องมือประเมินชั้นเรียน รวมถึงการใช้สื่อวีดีทัศน์ การพาผู้เรียนไปศึกษาดูงานเพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทเรียนดีขึ้น 2.2 ด้านวิธีการสอน หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์เครื่องมือประเมินชั้นเรียนแต่ละครั้งแล้ว ผู้สอนได้ใช้คำถามในการเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทบทวน เชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนไปแล้วตลอดเวลา ใช้ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ได้ศึกษาไปแล้วในบทเรียนก่อน ว่าเกิดการเชื่อมโยงกันอย่างไร รวมไปถึงมีการมอบหมายประเด็นให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือศึกษาล่วงหน้า และ ให้ความสำคัญกับการแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบ 2.3 ด้านการประเมินผล นำผลการประเมินมาจัดกลุ่มทำกิจกรรมโดยให้แต่ละกลุ่มมีผู้เรียนที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน ใช้ผลการประเมินเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อมในการเรียนของผู้เรียน รวมถึงนำผลการประเมินมาจัดสอนเสริมในประเด็นที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจรายการ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในรายวิชา MTN202 เทคโนโลยีเกี่ยวกับเซนเซอร์ การวัด และเครื่องมือวัด โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2553) ก่อศักดิ์ อาชวากรการเรียนการสอนในวิชา MTN202 “เทคโนโลยีเกี่ยวกับเซนเซอร์ การวัด และเครื่องมือวัด” ของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นการเรียนการสอนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือวัดต่างๆ นักศึกษาที่ทำการลงทะเบียนเรียนในวิชานี้ส่วนใหญ่จะยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเครื่องมือวัดที่มีใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนการสอน เช่นนักศึกษาไม่สามารถเข้าใจหลักการทำงานและหลักการออกแบบเครื่องมือวัดเนื่องจากไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ในการนำเครื่องมือวัดนั้นไปใช้งาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ซึ่งนักศึกษากลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา MTN202 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ อธิบายคำศัพท์ ตั้งปัญหา ระดมสมอง วิเคราะห์ปัญหา สร้างประเด็นการเรียนรู้ ค้นคว้าด้วยตนเอง และการรายงาน รวมทั้งสิ้น 7 ขั้นตอน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หลังจากผ่านกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ผู้เรียนส่วนใหญ่จะแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยนเองเพิ่มขึ้น และมีทักษะในการแก้ปัญหามากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ภายในห้องเรียน และการกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองมากขึ้น โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการสอบปลายภาคมีการพัฒนาขึ้น สังเกตุได้จากคะแนนที่อยู่ในระดับต้องปรับปรุงมีสัดส่วนที่ลดลงเมื่อเทียบกับการสอบกลางภาค และในการสอบปลายภายภาคนักศึกษามีคะแนนอยู่ในระดับดีขึ้นเกินกว่ากว่าร้อยละ 78.57 จึงแสดงให้เห็นว่านักศึกษากลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก มีพัฒนาการเรียนรู้ดีขึ้นและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์รายการ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยระบบสอนเสริมผ่านเว็บ(2553) สุรศักดิ์, มังสิงห์งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยระบบสอนเสริมผ่านเว็บ โดยผู้สอนพัฒนาเนื้อหาบทเรียนในรูปแบบต่างๆ เช่น บทความสรุปเนื้อหา สื่อการนำเสนอเพาเวอร์พอยต์ทั้งแบบมีเสียงการบรรยายและไม่มีเสียงการบรรยาย และแบบฝึกหัดแบบปรนัย ให้ผู้เรียนใช้ในการทบทวนบทเรียนและฝึกทำและฝึกหัดผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งได้ตามเวลาและสถานที่ที่ผู้เรียนสะดวก และทำแบบทดสอบแบบออนไลน์ภายใต้การควบคุมเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า ความถึ่ในการเข้าระบบสอนเสริมผ่านเว็บ เพื่อฝึกทำแบบฝึกหัดผ่านเว็บมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญ ผู้เรียนที่เข้าระบบเพื่อฝึกทำแบบฝึกหัดมากครั้งจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าผู้ที่เข้าระบบเพื่อทำแบบฝึกหัดน้อยครั้งกว่า นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนแบบที่มีการนำอีเลิร์นนิ่งมาใช้เป็นระบบสอนเสริมในระดับมากรายการ การศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2553) ธาราวัน เพชรเจริญการที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้มีการประมวลผลการเรียนการสอนแบบอิงเกณฑ์ และมีแนวทางให้อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชามีการเก็บคะแนนสอบระหว่างภาคเรียน จำนวน 6 ครั้งโดยดำเนินการตั้งแต่ในปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป โดยเมื่ออาจารย์ทำการทดสอบย่อยแล้วต้องแจ้งคะแนนเก็บให้นักศึกษาทราบอย่างเป็นระบบตลอดภาคเรียนด้วยการบันทึกคะแนนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาได้รู้สถานะของตนเองในระหว่างภาคเรียน ผู้วิจัยต้องการศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมต่อการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะบัญชี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากนักศึกษาและอาจารย์ และการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ตำรา วารสาร นิตยสาร และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบคิดเห็นความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุมต่อการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง การทำการวิจัยนี้เพื่อทราบให้ผลการปฏิบัติเกี่ยวกับการทำการทดสอบย่อย 6 ครั้งดังกล่าวโดยศึกษาเฉพาะกรณีในรายวิชาการบัญชีคณะบัญชี 5 รายวิชา กลุ่มตัวอย่างรายวิชาละ 20 คนรวม 100 คนและอาจารย์จำนวน 5 ท่าน เพื่อสำรวจความคิดเห็น และ ความพึงพอใจ ของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชีต่อการจัดการทดสอบย่อยและเปรียบเทียบผลการประเมินผลสอบปลายภาค 2/2550และ 2/2551 เฉพาะในรายวิชา ACT 212 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการจัดการทดสอบเพื่อการปรับปรุง ในการเรียนการสอน หากผู้สอนใช้การประเมินเพื่อการปรับปรุงช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถเรียนรู้ทุกบทเรียนก็จะเป็นการช่วยผู้เรียนในการสอบปลายภาค ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในตนเองและสบายใจในขณะที่ทำข้อสอบ การประเมินเพื่อการปรับปรุงและควรจะเน้นถึงประโยชน์ของการประเมินเพื่อการปรับปรุงให้ผู้เรียนทราบ จากผลการสำรวจความคิดเห็นและ ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชีมีความเห็นว่าการทดสอบย่อยเป็นนโยบายที่ดี ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์สอดคล้องกันในเรื่องการเห็นด้วยต่อการทดสอบย่อยแต่ควรทบทวนวิธีการหรือมาตรการที่แน่ชัดในเรื่องเวลาในการทดสอบ จำนวนครั้งที่เหมาะสมในการทดสอบ เนื้อหาที่ใช้ในการทดสอบนำปัญหาต่าง ๆ ที่พบในการทดสอบมากแก้ไขให้การทดสอบย่อยในแต่ละครั้งเป็นการทดสอบเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอน ของคณะบัญชีมหาวิทยาลัยศรีปทุมต่อไปรายการ การศึกษาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม(2552) ธุวพร ตันตระกูลวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้นการฟังของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม และหาคำตอบว่าทักษะย่อยใดบ้างที่มีปัญหา แบบทดสอบสร้างขึ้นเพื่อวัดขีดความสามารถของผู้เรียนในขอบเขตดังนี้คือ การจับใจความสำคัญของข้อความ ความเข้าใจในข้อความ การเก็บรายละเอียดจากคำบอกเล่า และการถ่ายทอดข้อความในการศึกษาครั้งนี้ใช้เกณฑ์ประเมินผลที่ร้อยละ 60 ในการที่จะวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของผู้เข้าสอบ นำแบบทดสอบมาทดสอบกับนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานในภาคที่ 2 ของปีการศึกษา 2552 จำนวน 120 คน นำคะแนนเฉลี่ยแต่ละทักษะย่อย และคะแนนรวมทุกทักษะนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลปรากฏดังนี้ 1. พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบรวมพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมมีปัญหาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง 2. ประเด็นที่พบว่านักศึกษามีปัญหาความสามารถในการใช้อังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการฟัง ได้แก่ การถ่ายทอดข้อความและการเก็บรายละเอียดจากข้อความ ขณะที่การจับใจความสำคัญของข้อความและความเข้าใจในข้อความไม่มีปัญหารายการ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ พื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2553) ไพบูลย์ สุขวิจิตรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน โดยเน้นศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ 3 ด้านของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม คือ ด้านนักศึกษา ด้านครอบครัว และด้านห้องเรียน ที่มีผลต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา นอกจากนี้ยังเพื่อช่วยหาสัมการในการคาดเดาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาต่อไป และเพื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานของนักศึกษาต่างคณะกันว่ามีความแตกต่างกันจริงตามข้อสันนิฐานเบื้องต้น ผู้วิจัยได้ดัดแปลงแบบสอบถามจากเพื่อเป็นเครื่องมือการวิจัยเพื่อใช้วัดปัจจัยทั้ง 3 ด้าน โดยแบ่งย่อยเป็นด้านๆ เช่น ทัศนะคติ แรงจูงใจ ความคาดหวังในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การสนับสนุนจากครอบครัว การทำกิจกรรมพิเศษเพิ่มเติมที่ใช้ภาษาอังกฤษ คุณภาพการสอนของอาจารย์ วิธีการสอนของอาจารย์ อุปกรณ์ในห้องเรียน โดยแบบสอบถามดังกล่าวได้ปรับปรุงมาจากการวิจัยในอดีตของ มานพ โฮตระกูล (2525) มนัสสวาท โพทะยะ (2531) ศรีระพร จันทโนทก (2538) และ สาลินี วงษ์เส็ง (2546) แล้วได้นำไปทดลองใช้กับนักศึกชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 35 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของภาษาที่ใช้ และเพื่อนำไปทดสอบความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามกับนักศึกษา โดยคำนวณค่าความคงที่ภายใน (Internal Consistency) ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านนักเรียน ด้านครอบครัว และ ด้านห้องเรียน ซึ่งปรากฎค่าความเชื่อตามลำดับคือ 0.89, 0.81 และ 0.97 จากนั้นผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่แก้ไขและปรับปรุงแล้ว ไปทดสอบกับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 580 คน นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ปรากฏผลดังนี้ 1. ปัจจัยด้านนักศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ 0.11 – 0.16 ยกเว้นการเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ 2. ปัจจัยด้านครอบครัวในส่วนของความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3. ปัจจัยด้านห้องเรียนไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานแต่จากการสัมภาษณ์และคำถามปลายเปิดนักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าการสอน และวิธิการสอนของอาจารย์มีความสำคัญต่อการสนใจเรียนเพิ่มขึ้น 4. นักศึกษาต่างคณะกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักศึกษาจากคณะบัญชีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานดีกว่านักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ ในขณะที่นักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ดีกว่านักศึกษาในคณะอื่นๆ ทั้งนี้นักศึกษาคณะบัญชีและคณะศิลปศาสตร์มีจำนวนนักศึกษาที่แตกต่างกันอยู่มาก ดังนั้นผลที่ได้จากค่าสถิติจึงไม่มีสามารถสรุปได้ 5. ผลการวิจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ ความคาดหวังในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 2.40รายการ การศึกษาเปรียบเทียบการสอนแบบที่มี e-learning และการสอนแบบที่ไม่มี e-learning เสริมประกอบในรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น(2552) ปัทมา โกเมนท์จำรัสวัตถุประสงค์ในการศึกษานี้คือ 1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นโดยการสอนแบบที่มี e-learning และไม่มี e-learning เสริมประกอบ 2)เปรียบเทียบความคงทนทางการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนจากการสอนแบบที่มี e-learning และไม่มี e-learning เสริมประกอบโดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่เรียนจากการสอนแบบที่มี e-learning เสริมประกอบ จำนวน 20 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เรียนจากการสอนแบบที่ไม่มี e-learning เสริมประกอบ จำนวน 27 คน และ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เนตเพื่อการศึกษาในบทเรียนรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณาวิเคราะห์ในรูปความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติ t-test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นโดยการสอนแบบที่มี e-learning เสริมประกอบและไม่มี e-learning เสริมประกอบ ไม่แตกต่างกัน 2) ความคงทนทางการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยการสอนแบบที่มี e-learning และไม่มี e-learning เสริมประกอบ ไม่แตกต่างกัน 3)นักศึกษาที่เรียนโดยการสอนแบบที่มีe-learning เสริมประกอบนั้นมีคะแนนภาพรวมโดยเฉลี่ย จากการทดสอบภายในสัปดาห์ที่สอนไปแล้ว ตลอดจนคะแนนในภาพรวมโดยเฉลี่ยภายหลังจากการสอน 1 สัปดาห์ ของบทเรียนเดิม ล้วนแล้วแต่ได้คะแนนดีกว่าคะแนนภาพรวมเฉลี่ยของความรู้พื้นฐานเดิมของนักศึกษากลุ่มนั้นก่อนที่จะมีการเรียนแบบที่มี e-learning เสริมประกอบ นอกจากนี้ การเรียนโดยการสอนแบบที่มี e-learning เสริมประกอบได้ทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นรายการ การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชา LSC301 หลักการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยใช้เทคนิคมอบหมายการทำกรณีศึกษาประกอบการเรียน กับแบบที่ทำแบบฝึกหัด(2553) ชัยยนต์ ชิโนกุลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนรายวิชา LSC301 หลักการจัดการลอจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยใช้เทคนิคมอบหมายการทำกรณีศึกษาประกอบการเรียน กับแบบที่ทำแบบฝึกหัดรวบรวมผลนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยใช้โปรแกรม SPSS ที่มหาวิยาลัยศรีปทุม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาในการจัดการการเรียนการสอนและประเมิณผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้แบบเดิมอาจารย์เป็นศูนย์กลาง กับการผลการศึกษาแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการวิจัยได้ดำเนินการโดยใช้กรณีศึกษา 6 เรื่องคือ 1. การขนส่งแบบ Ro-Ro (Roll On and Roll Off) 2. การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง-เชฟวี่ทรัคโคโลราโด 3.การใช้Cross Docking ที่วอล์มาร์ท (The Wal-Mart Supply Chain) 4. การตั้งศูนย์กระจายสินค้า Distribution Center. 5. บริษัทโฟคสวาเกนในประเทศบราซิล 6. อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งเรียกว่ากลุ่มทดลอง ส่วนการสอนแบบให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหลังการเรียนการสอน ใช้หัวข้อเรื่องที่ตรงกันแต่จะใช้แบบฝึกหัดถามตอบ ซึ่งเรียกว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นนักศึกษาในห้องเดียวกันลงทะเบียนเรียนในเทอม 2/2551 มีจำนวนรวม 64 คน และแบ่งเป็นสองกลุ่มเท่ากันโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มละ 32 คน ในวันสอบไล่มีผู้เข้าสอบเพียง 54 คน ขาดสอบ 10 คน กลุ่มทดลองขาดสอบ 3 คน กลุ่มควบคุมขาดสอบ 7 คน และได้ทำสัมภาษณ์เชิงลึกสอบถามความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่างที่สองกลุ่มได้ผลว่านักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา นักศึกษาให้ความเห็นว่ากรณีศึกษาทำให้จำได้กว่า และเป็นเรื่องราวที่น่าจำ และนักศึกษาในกลุ่มทำแบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็นว่ากรณีศึกษาน่าจะทำให้จำบทเรียนได้ง่ายขึ้น สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และภายหลังการทดสอบ โดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent sample t-test เพื่อหาความแตกต่าง ผลวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบมีกรณีศึกษาจะมีผลสัมฤทธิ์ปลายภาคสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบที่ทำแบบฝึกหัด 2. นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบมีกรณีศึกษา กับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบที่ทำแบบฝึกหัด มีความสนใจในการเรียนไม่ต่างกัน 3. นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบมีกรณีศึกษา มีความพึงพอใจในการเรียนมากกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบที่ทำแบบฝึกหัดรายการ การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มที่สอนด้วยวิธีการศึกษาทฤษฎีควบปฏิบัติกับกลุ่มที่สอนด้วยวิธีการศึกษาทฤษฎีแยกจากปฏิบัติ: กรณีศึกษารายวิชา CMM251 ธุรกิจการพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2553) บัณฑิต จำรูญวงศ์สกุลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติที่สอนด้วยวิธีการศึกษาทฤษฎีควบปฏิบัติ กับการสอนด้วยวิธีการศึกษาทฤษฎีแยกจากปฏิบัติ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบกึ่งทดลอง ผู้วิจัยใช้การทดลองแบบศึกษาสองกลุ่มวัดสองครั้ง (The Pretest-Posttest Design with Nonequivalent Groups) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าสถิติ t-test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา CMM251 ธุรกิจการพิมพ์ ภาคปฏิบัติ ที่สอนแบบวิธีการศึกษาทฤษฎีแยกจากปฏิบัติ ไม่แตกต่างจากวิธีการศึกษาทฤษฎีควบปฏิบัติ โดยคะแนนสอบภาคปฏิบัติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งสองกลุ่มมีคะแนนการสอบภาคปฏิบัติของผู้เรียนเพิ่มขึ้นทั้งคู่ และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติรายการ การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา MKT 449 การจัดการการตลาด แบบมีกรณีศึกษากับแบบมีแบบฝึกหัด(2552) จิตราพร ลีละวัฒน์การศึกษาเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา MKT 449 การจัดการการตลาด แบบมีกรณีศึกษากับแบบมีแบบฝึกหัด มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการจัดการการตลาด โดยการสอนแบบมีกรณีศึกษากับการสอนแบบมีแบบฝึกหัดหลังการเรียน และเพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการการตลาด เป็นการศึกษานักศึกษาที่เรียนรายวิชา MKT 449 การจัดการการตลาด สาขาวิชาการตลาด ในภาคการศึกษาที่ 2/2551 จำนวน 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองใช้กรณีศึกษา กับกลุ่มควบคุมใช้แบบฝึกหัด ระยะเวลาในการวิจัย 1 ภาคการศึกษา คือภาคการศึกษาที่ 2/2551 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมุติฐานด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย ANCOVA และทดสอบสมมุติฐานการเปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนด้วย t-test for Independent sample สรุปผลดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบกลางภาค และการสอบปลายภาคของกลุ่มมีกรณีศึกษากับกลุ่มแบบมีแบบฝึกหัด ไม่แตกต่างกัน และพบว่านักศึกษาที่เรียนแบบมีกรณีศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนการสอนรายวิชา MKT 449 การจัดการการตลาดไม่แตกต่างจากนักศึกษาที่เรียนแบบใช้แบบฝึกหัด และนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อการเรียนว่าเป็นการเรียนที่ส่งเสริมคามคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการเรียนที่น่าสนใจ และเรียนแล้วมีความสุขรายการ การแก้ปัญหานักศึกษาที่เรียนซ้ำ วิชาแคลคูลัสสำหรับวิศวกร 2 ด้วยการใช้สื่อการสอนเสริมแบบออนไลน์และทดสอบแบบฝึกหัดเฉพาะตัว(2553) ธัญกร คำแวงการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหานักศึกษาที่เรียนซ้ำ ในวิชาแคลคูลัสสำหรับวิศวกร 2 ลดจำนวนนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และศึกษาทัศนคติของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ต่อ วิชาแคลคูลัสสำหรับวิศวกร 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ที่เรียนวิชาแคลคูลัสสำหรับวิศวกร 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) สื่อการสอนเสริมแบบออนไลน์และทดสอบแบบฝึกหัดเฉพาะตัว ประกอบด้วยเนื้อหาวิชาแคลคูลัสสำหรับวิศวกร 2 และแบบฝึกหัด จำนวน 6 บท 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อประเมินสื่อการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 2. นักศึกษาที่ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนมีจำนวนน้อย และสัดส่วนของนักศึกษาที่สอบผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด มากกว่าเท่ากับ 70 3. นักศึกษามีทัศนคติที่ดี ในด้านการทำสื่อและเนื้อหาวิชาในสื่อการสอนเสริมแบบออนไลน์รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงิน(2553) กัลยาภรณ์ ปานมะเริง เบอร์คการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ (1) ศึกษาพฤติกรรมในการเรียนของนักศึกษาคณะบัญชีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินสำหรับภาคการศึกษาที่ 2/2552 การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบัญชีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2552 จำนวน 124 คน โดยผู้วิจัยใช้แบบบันทึกพฤติกรรมในการเรียนและการร่วมอภิปราย การซักถามปัญหาและ การร่วมแสดงความคิดเห็นในระหว่างเรียนในชั้นเรียนเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เวลาในการเก็บข้อมูลถึงช่วงกลางภาคของภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 คือช่วงระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน พ.ศ.2553 ทั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ จำนวนและร้อยละ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงิน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้: - 1. พฤติกรรมในการเรียนด้านการเข้าเรียนตรงต่อเวลามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552 2. พฤติกรรมในการเรียนด้านจำนวนครั้งของการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552 3. พฤติกรรมในการเรียนด้านการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตามที่ได้รับมอบหมายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนวิชาสัมมนาการบัญชีการเงินในภาคการศึกษาที่ 2/2552รายการ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีขั้นกลาง 2 ของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 2 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน(2552-05-06T08:19:41Z) พัฒธณี, ดวงเนตรการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีขั้นกลาง 2 ของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 2 คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน และเพื่อศึกษาปัจจัยทางครอบครัว ได้แก่ ระดับการศึกษาของบิดาหรือมารดา ฐานะทางเศรษฐกิจของนักศึกษา เพื่อศึกษานิสัยในการเรียนที่ดี และศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ดีที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบัญชีขั้นกลาง 2 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 281 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามประมาณค่า 4 และ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติทดสอบ เอฟ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน จากการวิเคราะห์ปัจจัยผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแตกต่างกันตามระดับการศึกษาของบิดาหรือมารดา โดยนักศึกษาที่บิดาหรือมารดามีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่บิดาหรือมารดามีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ส่วนปัจจัยทางด้านนิสัยทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์นั้น พบว่านักศึกษาที่มีนิสัยทางการเรียนที่ดีและมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม(2553) ขวัญ เพชรสว่าง; อนพัทย์ หนองคูการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น รหัสวิชา ECN201 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา 2) ข้อมูลด้านการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น 3) ข้อมูลเจตคติต่อวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น และ 4) ข้อมูลพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น โดยลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราวัดระดับ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติทดสอบที และ สถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีของนักศึกษาจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลการเรียนที่ผ่านมา ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน แม้ว่าปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่อง สถานะของครอบครัว ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ระดับรายได้ของผู้ปกครอง และการทำงานพิเศษของนักศึกษานอกเวลาเรียน จะแตกต่างกัน ผลการศึกษาลักษณะความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอน พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่า การเรียนการสอนในรายวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้นมีความเหมาะสม ยกเว้นเนื้อหาวิชาที่มีความเข้าใจยาก ส่วนปัจจัยทางด้านเจตคติ พบว่านักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการเรียนแต่ยังมีความกังวลในเรื่องสูตร สัญลักษณ์ คำศัพท์ และผลการเรียน สำหรับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษานั้น พบว่านักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนที่ดีในระดับปานกลางรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชากลยุทธ์การเลือกซื้อและใช้สื่อโฆษณาของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2553) ประพาฬรัตน์ อ่ำประเสริฐการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2. การสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชากลยุทธ์การเลือกซื้อและใช้สื่อโฆษณาของนักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนกลยุทธ์การเลือกซื้อและใช้สื่อโฆษณาของนักศึกษา รหัสวิชา ADS329 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 142 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากลยุทธ์การเลือกซื้อและใช้สื่อโฆษณาของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ พบว่าความรู้พื้นฐานเดิมและพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากลยุทธ์การเลือกซื้อและใช้สื่อโฆษณาของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พบว่ามีปัจจัย 3 ด้าน โดยเรียงลำดับจากตัวพยากรณ์ที่ส่งผลมากไปน้อย คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา (X4) ปัจจัยด้านความรู้พื้นฐานเดิม (X1) และปัจจัยด้านการปรับตัวของนักศึกษา (X5) สามารถพยากรณ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากลยุทธ์การเลือกซื้อและใช้สื่อโฆษณาของนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ร้อยละ 58.50 ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรูปคะแนนดิบ คือ Y/ = 10.757 X1 + 12.588X4 - 3.318 X5 สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z/Y = 0.537 Z1 + 0.437 Z4 - 0.129 Z5รายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนการสอน วิชาการจัดการการเงินส่วนบุคคล(2553) รัญชนา, รัชตะนาวินผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการ เรียนการสอนวิชาการจัดการการเงินส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies) โดยศึกษา ปัจจัยด้านต่าง ๆ คือ (1) ปัจจัยด้านส่วนตัว (2) ปัจจัยด้านครอบครัว (3) ปัจจัยด้านเครื่องมือ (เครื่อง คำนวณ) (4) ปัจจัยด้านการเข้าร่วมกิจกรรม และ (5) ปัจจัยด้านการเรียนของนักศึกษา มีผลต่อความ สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนการสอนวิชาการจัดการการเงินส่วนบุคคล กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ลงทะเบียนเรียน วิชาการจัดการการเงินส่วนบุคคล ในภาคการศึกษา 2/2551 จำนวน 108 คน ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถาม ส่งกลับมาจำนวน 101 ฉบับ คิดเป็นอัตราตอบกลับจำนวนร้อยละ 93.52 รวมระยะเวลาในการเก็บ ประมาณ 1 สัปดาห์ จากผลการศึกษาการวิเคราะห์ความถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการทดสอบ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงพหุของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการสอน (Y) มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับตัวแปรอิสระ 2 ตัวแปร คือ “การทำการบ้าน” และ “การทบทวนบทเรียน” พบว่า ปัจจัยด้านส่วนตัว ของตัวแปรการทำการบ้านมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 หมายความว่าปัจจัยด้านส่วนตัว การทำการบ้านมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการสอนวิชาการจัดการการเงินส่วนบุคคล สามารถอธิบายได้ว่าเมื่อนักศึกษาทำการบ้าน เพิ่มมากขึน้ จะมีผลต่อความสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวิชาการจัดการการเงินส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นรายการ ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาการไม่ตั้งใจเรียนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม(2553) สุภัสสร ภู่เจริญศิลป์งานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง “ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาการไม่ตั้งใจเรียนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมายของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม” ได้จัดทำขึ้น เพื่อแก้ปัญหาที่นักศึกษาไม่สนใจในการศึกษาวิชาดังกล่าวเท่าที่ควร ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดทำวิจัย โดยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในวิชา Law 409 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย สำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อีกทั้งเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือในด้านพฤติกรรมการเรียน ความพึงพอใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมในรายวิชาดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ ได้แก่ การอภิปรายเป็นทีม การแก้ปัญหาด้วยจิ๊กซอ เทคนิคร่วมกันคิด ในขณะที่ผู้วิจัยจะสอดแทรกการสอนแบบบรรยาย จากผลการศึกษา พบว่านักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความพึงพอใจในระดับมาก อีกทั้งยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ มีพฤติกรรมการเรียนที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำงานวิจัยไปใช้ดังนี้ 1. การเรียนการสอนแบบร่วมมือเป็นรูปแบบที่ควรนำไปใช้ในการเรียนการสอนกฎหมายทุกวิชา 2. ผู้สอนสามารถนำเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือไปใช้ เพื่อกระตุ้นการค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษา และทำให้นักศึกษาเกิดความตื่นตัวในการเรียนได้ 3. ผู้สอนจะต้องหาทางกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนที่จะต้องมีต่อกลุ่มให้มากที่สุดรายการ ผลของการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความมีวินัยในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ(2553) อำนาจ วังจีนการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติของผู้เรียนทำใช้วิธีการสอนแบบมีการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ผลการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับ กับ ความมีวินัยในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ 3) ศึกษาทัศนคติของผู้เรียนต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ประชากร คือนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะสารสนเทศสาสตร์และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่เรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 240 คน เลือกมาเป็นตัวอย่างแบบเจาะจง 1 กลุ่ม จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาคณิตศาสตร์และ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแบบวัดความมีวินัยในการเรียน มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และความเชื่อมั่นเท่ากับ .77 .88 และ .76 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.การเรียนแบบมีการทดสอบย่อยและมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทำให้นักศึกษามีระดับความมีวินัยในการเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความมีวินัยในการเรียน ที่มีค่าสูงสุดคือ เรื่องการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สม่ำเสมอและมีค่าต่ำสุด คือ เรื่องการทำการบ้านด้วยตนเอง 2.การเรียนแบบมีการทดสอบย่อยและมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ ทำให้แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าสูงสุดคือ เรื่องเมื่อทำสิ่งใดแล้วนักศึกษาจะพยายามทำให้ดีที่สุด และมีค่าต่ำสุด คือ เรื่องความรู้สึกไม่ท้ออยากทำงานนั้นอีกเมื่อประสบความล้มเหลว 3.นักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบมีการทดสอบย่อย และมีการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีทัศนคติต่อวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก โดย มีระดับทัศนคติเฉลี่ยสูงที่สุดในเรื่องคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องใช้สมองมาก ช่วยให้ ทุกคนรอบคอบ และน้อยที่สุดในเรื่องการเรียนคณิตศาสตร์ไม่เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย 4.สัดส่วนของนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ สูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม เท่ากับ .70 5.ผลการทดสอบย่อยและการแจ้งข้อมูลป้อนกลับ กับความมีวินัยในการเรียน และ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ความน่าจะเป็นและสถิติ มีความสัมพันธ์กันเท่ากับ .171 .351 และ .685 โดยผลของการทดสอบย่อยและการให้ข้อมูลป้อนกลับมีความสัมพันธ์กับตัวแปรทุกตัวยกเว้นตัวแปรความมีวินัยในการเรียน