DIG-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู DIG-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ) โดย เรื่อง "รูปแบบกราฟิก"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ Thai Culture Area via Digital Arts(2563-12) nattakamol toongsuwanประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นมีความหลากหลายทั้งในด้านของสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนล้วนเป็นการแสดงออกและนำเสนอถึงความเฉพาะตัวที่เป็นตัวตนของแต่ละพื้นที่ ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารและอื่น ๆ ด้วยความโดดเด่นทางวัฒนธรมไทยที่แสดงออกด้วยความแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ การเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป (ดร.กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ, 2555, P. 139) หลักการและแนวคิด จากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ อันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา (Egenfeldt-Nielsen et al, 2015) หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นการนำเสนอภาพให้ดูง่ายขึ้น สื่อสารให้เห็นชัดเจนถึงความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งภาพในแนวนี้จะสามารถส่งเสริมการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกถีงแนวทางในการนำเสนอความสวยงามจากสถานที่จริงมาประยุกต์ ผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิก เป็นการผสมผสานในด้านเรื่องราวของวัฒนธรรมกับงานศิลปะที่เป็นการออกแบบ สร้างสรรค์ให้เป็นมุมมองใหม่ที่ส่งเสริมจินตานาการของผู้ดูแต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของสถานที่นั้น ๆ