DIG-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 11 ของ 11
  • รายการ
    กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily
    (วารสารดีไซน์เอคโคคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2567-07) วิชัย โยธาวงศ์; ณัฐกมล ถุงสุวรรณ
    กระบวนการศึกษาการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) 1. เพื่อการศึกษาแนวคิดและทดลองสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงออกถึงในสภาวะไร้การควบคุมผ่านรูปแบบงานศิลปะดิจิทัล 2) เพื่อการวิเคราะห์ผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยทัศนธาตุทางศิลปะที่สื่อและแสดงถึงแนวความคิดผ่านรูปแบบและเทคนิค 3) สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ที่สร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ในการสื่อสารแนวความคิดและความงาม วิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานที่กี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ โดยผลการวิจัยได้ออกมาเป็นผลงานในรูปแบบงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปแบบดิจิทัลคอลลาจ (Digital Collage) ตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากภาพที่ได้เตรียมไว้และนำไปทดลองทำต่อในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ตัวผลงานด้วยหลักองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีศิลป์ด้วยทัศนธาตุ (Visual Elements) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศสมมุติโดยใช้โครงสีเอกรงค์ (Monochrome) ผสานกับรูปทรงที่เลือกนำมาใช้ในการสื่อสารแนวความคิดและวิเคราะห์นามธรรมที่แฝงในตัวงานที่เสร็จสมบูรณ์ที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและสร้างการรับชมที่แปลกใหม่ การประเมินผลงานที่สามารถสื่อสารแนวความคิดและรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยเทนนิคการทำงานที่แตกต่าง สามารถสื่อสารความหมายแนวความคิดและเนื้อหาที่แฝงในเชิงสัญลักษณ์คติทางเทวนิยมที่เลือกมาใช้เสนอทางความเชื่อที่แสดงออกได้มาซึ่งรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน Momentarily “ชั่วขณะหนึ่ง” และมีการต่อยอดผลงานศิลปะเพื่อนำเสนอผลงานผ่านการสื่อสารในแบบ Immersive Art หรืองานแสดงศิลปะแบบดำดิ่ง ซึ่งเป็นการนำเสนองานในรูปแบบที่ทำให้ผู้ชมเข้าถึงงานศิลปะได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตัวผลงานและรูปแบบการสร้างผลงานและนำเสนอผลงานสื่อสร้างสรรค์แนวคิดและรูปแบบที่ผู้ชมสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้แตกต่างออกไปต่อไป
  • รายการ
    Bondage of the Mind 9
    (International of Art, Design and Architecture Exhibition 2023, 2566-05-26) ภานุวัฒน์ สิทธิโชค
    “Bondage of the Mind” reveals the structural bond between body and mind. It is the structural circumstance of human that reacts in a restraining manner and builds the bondage imprisioning the freedom in the soul of human beings. Even oneself cannot stop this occurrence from the endless hunger. It makes us depressed and aggressive in reactions. If a human accepts himself that his mind is free and differ from the body, he definitely lives as his mind liberates from fleshly bondage and will probably finds his true self.
  • รายการ
    Thai Stylize
    (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2566-05-26) ณัฐกมล ถุงสุวรรณ
    รูปแบบงานศิลปะและวัฒนธรรมของไทยมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่ว่าจะแสดงออกผ่านสื่อประเภทใด ทั้งในด้านของสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารและอื่น ๆ ซึ่งรูปแบบงานศิลปะวัฒนธรรมแบบไทย ๆ นั้นก็สามารถคงอยู่และยังคงความโดดเด่นมาจนทุกวันนี้ท่ามกลางรูปแบบงานศิลปะรูปแบบใหม่ด้วยแนวกราฟิกต่าง ๆ เช่น Minimal Style, Stylized Style, Abstract, Realistic เป็นต้น ความเป็นไทยก็สามารถผสมผสานไปกับแนวทางของศิลปะได้ เพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป จากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นภาพจำอันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จะสามารถเป็นทางหนึ่งในการแสดงออกถึงความร่วมสมัยของศิลปวัฒนธรรมไทยได้ จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา (Egenfeldt-Nielsen et al, 2015) ซึ่งภาพกราฟิกในรูปแบบนี้โดยรวมเป็นการนำเสนอภาพที่มีการตัดทอนในรายละเอียดให้ดูง่ายขึ้น เพิ่มหรือลดสัดส่วนแบบเกินจริงเพื่อให้เกิดความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยภาพในรูปแบบนี้จะเหมาะสมกันได้ดีและพัฒนาได้ไม่ยากกับการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากลดทอนความสมจริงบางส่วนออกไป ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิก
  • รายการ
    "LAST LIFE "
    (Prince of Songkla University Pattani Campus, 2565-03-07) Wichai Yothawong
  • รายการ
    "Reward of Life"
    (Faculty of ArchitectureandDesign RajamangalaUniversity of TechnologyRattanakosin., 2566-05-26) Wichai Yothawong
    The creation of works in the “Rewards of Life” Series is the presentation of ideas of the work on art through the creation of works related to Uncertainty and Certainty in Life, which is Death, as well as things that we receive in the afterlife world, based on our own actions or Karma. The belief in afterlife world is from the teaching in Buddhism. The aforementioned idea is conveyed through the created art works and the analysis on art works that have been created with computer program as 2 dimensional digital paintings and techniques of digital collage and edition with computer programs on the prepared files. The works have been created through inspirations and process of thoughts that originate each of the works that have been created in ways different from conventional painting techniques in terms of the use of fundamental materials in visual arts such as paints, canvas frames, paper or techniques of drawing or coloring. The analysis of the works is also based on the principals of art compositions, art theories and visual elements that have been used for the analysis. The complete works in this project can communicate concepts and patterns of presentations with different working techniques that can reflect the concept and pattern of each work, which give the direction for the development of works in terms of intangible concepts and symbolic ideas. In the course of the creation of the works in this ‘Rewards of Life’ Project, the preparations of contents to be communicated and image filed have payed essential roles in allowing the working to be concise and quick. The files of the complete works can be extensively used for developing works in many other forms such as video presentation, and will serve as suggested guidelines for the development and presentation of other works through art exhibitions in other opportunities in the future.
  • รายการ
    "Reward of Life"
    (Faculty of ArchitectureandDesign RajamangalaUniversity of TechnologyRattanakosin., 2566-05-26) Wichai Yothawong
  • รายการ
    พันธจองจำจิต หมายเลข 9
    (การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 67, 2565-03-22) ภานุวัฒน์ สิทธิโชค
    “จิตยึดกาย” แสดงออกถึงโครงสร้างพันธะผูกพันระหว่าง “กาย” กับ “จิต” เป็นโครงสร้างภาวะของมนุษย์ ที่ตอบรับปฏิกิริยาลักษณะเหนียวรั้ง สร้างพันธนาการจองจำ เสรีภาพจากภายในจิตวิญาณของความเป็นมนุษย์ ซึ่งแม้แต่ตนเองก็มิอาจหยุดยั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากความหิวที่ไม่รู้จบได้ จนเกิดความรู้สึกกดทับ แสดงออกด้วยการตอบโต้ที่รุนแรง หากมนุษย์ยอมรับว่าจิตตนเป็นอิสระและเป็นคนละส่วนกับร่างกายแล้ว มนุษย์ย่อมดำเนินชีวิตอยู่ในฐานะที่ใจเป็นอิสระโดยสมบูรณ์เหนือพันธนาการทางกายและอาจค้นพบตัวตนที่แท้จริงได้
  • รายการ
    Hometown Countryside
    (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, 2565-05-20) ณัฐกมล ถุงสุวรรณ
    พื้นที่ในส่วนของต่างจังหวัดแต่ละภาคของประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นมีความหลากหลายทั้งในด้านของสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารและอื่น ๆ ด้วยความโดดเด่นทางวัฒนธรมไทยที่แสดงออกด้วยความแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ด้วยการใช้ชีวิตที่อาจต้องมีการย้ายถิ่นฐานด้วยความจำเป็นบางประการของแต่ละคนทำให้การนึกถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยอยู่อาศัยเป็นความสุขในใจเมื่อได้ย้อนคิดไปถึงภาพเหล่านั้น เกิดเป็นภาพจำที่นึกถึงเมื่อไรก็สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในใจได้ การนำเสนอภาพจำที่เป็นเรื่องราวที่ได้รับรู้หรือที่อยู่ในความทรงจำสามารถถ่ายทอดผ่านการแสดงออกได้จากหลายรูปแบบ และเพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป (ดร.กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ, 2555, P. 139) จากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นภาพจำอันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา (Egenfeldt-Nielsen et al, 2015) ซึ่งภาพกราฟิกในรูปแบบนี้โดยรวมเป็นการนำเสนอภาพที่มีการตัดทอนในรายละเอียดให้ดูง่ายขึ้น เพิ่มหรือลดสัดส่วนแบบเกินจริงเพื่อให้เกิดความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยภาพในรูปแบบนี้จะเหมาะสมกันได้ดีและพัฒนาได้ไม่ยากกับการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากลดทอนความสมจริงบางส่วนออกไป ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม ที่เป็นภาพจำของผู้เขียนเพื่อแสดงออกผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิก
  • รายการ
    Thai Culture Area via Digital Arts
    (2563-12) nattakamol toongsuwan
    ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นมีความหลากหลายทั้งในด้านของสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนล้วนเป็นการแสดงออกและนำเสนอถึงความเฉพาะตัวที่เป็นตัวตนของแต่ละพื้นที่ ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารและอื่น ๆ ด้วยความโดดเด่นทางวัฒนธรมไทยที่แสดงออกด้วยความแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ การเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป (ดร.กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ, 2555, P. 139) หลักการและแนวคิด จากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ อันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา (Egenfeldt-Nielsen et al, 2015) หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นการนำเสนอภาพให้ดูง่ายขึ้น สื่อสารให้เห็นชัดเจนถึงความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งภาพในแนวนี้จะสามารถส่งเสริมการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกถีงแนวทางในการนำเสนอความสวยงามจากสถานที่จริงมาประยุกต์ ผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิก เป็นการผสมผสานในด้านเรื่องราวของวัฒนธรรมกับงานศิลปะที่เป็นการออกแบบ สร้างสรรค์ให้เป็นมุมมองใหม่ที่ส่งเสริมจินตานาการของผู้ดูแต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของสถานที่นั้น ๆ
  • รายการ
    “Bondage of The Mind No.2”
    (นิทรรศการ 15th International Art Festival and Art Workshop in Thailand 2020, 2563-02-02) ภานุวัฒน์ สิทธิโชค
    Concept: “Bondage of the Mind” reveals the structural bond between body and mind. It is the structural circumstance of human that reacts in a restraining manner and builds the bondage imprisioning the freedom in the soul of human beings. Even oneself cannot stop this occurrence from the endless hunger. It makes us depressed and aggressive in reactions. If a human accepts himself that his mind is free and differ from the body, he definitely lives as his mind liberates from fleshly bondage and will probably finds his true self. In addition, the materials used in this artwork affect the art expression into two-dimentional visual art. As an artist, I am interested in the characteristics of wood - the living material that was once a small seed growing up by the earth, water, air and environment. The wood characters of each annual ring are different in its hardness. The expression the texture left on the wood after carving, grating and pressing the ink on the wood reflects traces of corroding outer surface, leaving the intense depression of the bondage between body and soul.
  • รายการ
    การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 64 _ผลงานชื่อ “พันธจองจำแห่งจิต”
    (การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 64, 2561-10-09) ภานุวัฒน์ สิทธิโชค
    ในผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะชุดนี้ เป็นการรวบรวมแนวความคิดที่มองถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง “ภูมิ” กับ “กาย” โดยตีความใช้สัญลักษณ์แทนความหมายของสิ่งสองสิ่งที่ดึงดูดซึ่งกันและกัน “กายภูมิ” มิติแห่งการใช้กายเป็นพาหนะในการดารงอยู่ของชีวิต เป็นพรมแดนที่จิตยึดติดให้ความสาคัญอยู่กับรูปลักษณ์ภายนอก จนสร้างความทะเยอทะยาน กลายเป็นวงจร ยึดเหนี่ยวจิตเข้ากับกายมนุษย์ เป็นพันธนาการที่คลุมไว้และไม่อาจพบตัวตนที่แท้จริงได้