EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย เรื่อง "Design guidelines"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรงโดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE A Study of Optimal Thickness for Post-Tensioned Concrete Flat Slab using 3D Plate Finite Element using CSI SAFE Program(2555-03-14T03:09:15Z) ธนัญกรณ์ ต่อศิริสกุลวงศ์; ฉัตร สุจินดาบทความนี้เสนอถึงการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต ลวดอัดแรง เหล็กเส้น แบบหล่อ และค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้นที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่าง ๆ กัน โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาคือ สี่เหลี่ยมซึ่งมีอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.5 และ 1.0 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 kg/m2 ระยะช่วงเสา 6 และ 9 m กำลังอัดประลัยคอนกรีต 35 MPa (357 kg/cm2) โดยมีข้อกำหนดให้เพิ่ม Drop Panel ตรงหัวเสาที่คอนกรีตไม่สามารถรับแรงเฉือนเจาะทะลุได้ จากนั้นได้นำผลการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่รายการ การศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติโดยใช้โปรแกรม CSI SAFE A Study to Determine Optimal Thickness for Reinforced Concrete Flat Slab using 3D Plate Finite Element using CSI SAFE Program(2555-03-14T03:00:27Z) ยอด ผลสงเคราะห์; ฉัตร สุจินดาบทความนี้นำเสนอการศึกษาเพื่อหาความหนาที่เหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอาศัยข้อมูล ราคาต่อหน่วยของวัสดุคอนกรีต เหล็กเส้น แบบหล่อ และค่าแรงในประเทศไทย เพื่อนำมาทดลองออกแบบแผ่นพื้น ที่มีความหนา และน้ำหนักบรรทุกจรต่างๆ กัน โดยใช้โปรแกรม CSI SAFE ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์ไฟไนท์อีลีเม้นท์แบบแผ่นสามมิติ มีกรณีศึกษาคือ สี่เหลี่ยมผืนผ้าแปรเปลี่ยนอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว 0.50 0.75 และ 1.00 น้ำหนักบรรทุกจร 200 และ 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระยะช่วงเสา 6 และ 8 เมตร และกำลังอัดประลัยคอนกรีต 320 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร จากนั้นได้นำผลของการออกแบบไปหาสมการอย่างง่ายเพื่อใช้ทำนายความหนาที่เหมาะสม ที่ทำให้ราคาค่าก่อสร้างรวมต่ำสุด เพื่อช่วยให้วิศวกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปประมาณราคา และเป็นแนวทางในการออกแบบ