SITI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SITI-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย เรื่อง "การบริหารจัดการ"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 4, 2564-07) สมจิตต์ ศรีสมพันธุ์; เกรียงไกร สัจจะหฤทัย; ชัยวิชิต เชียรชนะการวิจัยแบบผสมผสานนี้เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิดการเสริมพลังอำนาจและวงจรการบริหารงานคุณภาพ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์การบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย จากผู้เกี่ยวข้องจำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์องค์ป ระกอบ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 975 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริ แมกซ์ จากนั้นนำผลวิจัยมายกร่างเป็นรูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไท ยโดยผู้เชี่ยวชาญ 13 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศ พบว่า สถานศึกษามีนโยบายที่ชัดเจนที่จะมีกิจกรรมในการที่จะพัฒนาให้นักเรียน ให้มีประสบการณ์ทั้งในด้านสาขาวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะการเป็นผู้นำ และมีความเป็นประชาธิปไตย โดยผ่านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับระบบการเรียน แต่ยังขาดการเตรียมงานและวางแผนการดำเนินงาน และการกำกับติดตามที่เป็นรูปธรรม ครูยังขาดความเข้าใจวิธีในการดำเนินงาน รวมถึงโครงสร้างรูปแบบของการบริหารจัดการที่ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน 2) รูปแบบการบริหารจัดการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า มี 5 องค์ประกอบ และ 63 ตัวแปร มีค่านำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.533 ถึง 0.745. ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วม 2) การสร้างแรงจูงใจ 3) การสนับสนุนทางสังคม 4) การทำงานเป็นทีม 5) เสริมสร้างภาวะผู้นำ และได้รูปแบบ “PMSTL Model” 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ในทางเทคนิคการดำเนินงานและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้เรียนที่จะส่งผลให้องค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศ สามารถพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะวิชาชีพ อีกทั้งยังก่อให้เกิด คนเก่ง ดีและมีความสุขรายการ ระบบการบริหารจัดการการผลิตครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด(วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด., 2562-08) ขอบฟ้า จันทร์เจริญ; สิรินธร สินจินดาวงศ์.การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ประจำสูตร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาวิชาชีพครูต่อระบบการบริหารจัดการการผลิตครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 978 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการบริหารจัดการผลิตครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่าอาจารย์ประจำหลักสูตร ครูพี่เลี้ยงและนักศึกษาวิชาชีพครู มีความคิดเห็นต่อระบบการบริหาร จัดการการผลิตครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.24, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการบริหารจัดการการผลิตครูทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านผลผลิต มีความคิดเห็นสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.28, S.D. = 0.61) รองลงมา คือ ด้านปัจจัย (ค่าเฉลี่ย= 4.25, S.D. = 0.42) และด้านกระบวนการ (ค่าเฉลี่ย= 4.18, S.D. = 0.45) และพบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร ครูพี่เลี้ยง นักศึกษาวิชาชีพครูต่อระบบการบริหารจัดการการผลิตครู ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยครูพี่เลี้ยง กับนักศึกษาวิชาชีพครู มีความคิดเห็นต่อระบบการบริหารจัดการการผลิตครูแตกต่างกัน