LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย เรื่อง "ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหาการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้กระทำความผิด(การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 (SPUCON2018), 2561-12-20) ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจียมจิต สุวรรณน้อยการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๐๐/๒ เป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แต่วงการยุติธรรมได้ถกเถียงกันมาตลอดเนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้เพียงหลักการโดยให้ศาลยุติธรรมใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์การให้ข้อมูลว่าผู้กระทำความผิดจะต้องให้ข้อมูลอย่างไรหรือจะต้องให้เมื่อใดศาลจึงจะนำมารับฟังเพื่อกำหนดโทษเช่นว่านั้นได้ ทำให้เกิดปัญหาการตีความบทบัญญัติดังกล่าวโดยใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษของบรรดาผู้พิพากษาที่หลากหลายไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเกิดปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ผู้กระทำความผิดใช้เป็นช่องทางร่วมมือกับเจ้าพนักงานที่ไม่สุจริตสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนำมาขอรับประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งการตีความกฎหมายโดยใช้แนวทางตัดสินของศาลฎีกาอาจไม่สามารถใช้กันได้ทุกคดีเป็นการทั่วไปและไม่ทันต่อปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในบทบัญญัติดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดระยะเวลาการให้ข้อมูลของผู้กระทำความผิด ระยะเวลาในการนำเสนอข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อขอรับประโยชน์ตามมาตรา ๑๐๐/๒ ต่อศาล และลักษณะของข้อมูลที่จะต้องใช้ขยายผลการจับกุมหรือยึดยาเสพติดได้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดวิธีการให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน การโดยผ่านการกลั่นกรองของพนักงานอัยการ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ผู้กระทำความผิดได้อย่างเท่าเทียมกัน