ACC-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดย เรื่อง "การกำกับดูแลกิจการที่ดี"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความไม่สมมาตรของข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2567) ปฐมชัย กรเลิศการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการกำไร คุณภาพการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงิน การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการจ่ายเงินปันผลที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อความไม่สมมาตรของข้อมูล ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความไม่สมมาตรของข้อมูลที่วัดโดยสัดส่วนปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ และนำผลการศึกษาและผลการวิเคราะห์ออกแบบประเมินความไม่สมมาตรของข้อมูล รูปแบบของงานวิจัยเป็นแบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลระหว่างปี 2558-2562 มีบริษัทจดทะเบียนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 301 กิจการ การศึกษาใช้การวิเคราะห์อิทธิพลโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Path Analysis)รายการ อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ ผลประกอบการทางด้านบัญชีที่มีต่อผลประกอบการทางด้าน ตลาดทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561) ธารทิพย์ สีตาลการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลประกอบการทางด้านตลาดทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลประกอบการทางด้านบัญชีของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีต่อผลประกอบการทางด้านบัญชี และผลประกอบการทางด้านตลาดทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (4) เพื่อเสนอรูปแบบการศึกษาหลักปฏิบัติของการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา จานวน 342 บริษัท รวมทั้งสิ้น 3,078 ข้อมูล คือ บริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีผลประกอบการตั้งแต่ปี 2549 ถึงปี 2559 งดเว้นการสารวจ ในปี 2550 เพื่อทบทวนหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ส่วนปี 2552 เป็นปีที่อยู่ระหว่างการศึกษา การปรับหลักเกณฑ์จึงทาการสารวจเฉพาะกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 9 ปี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 และการทดสอบตัวแปรคั่นกลาง (Mediator Variable) ด้านผลประกอบการทางด้านบัญชี โดยมีตัวแปรตามเป็นผลประกอบการทางด้านตลาดทุนรายการ อิทธิพลของคุณลักษณะบริษัท การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการจัดการกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) ฐิติพร พระโพธิ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะบริษัท การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการจัดการกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ พัฒนาตัวแบบจำลองของคุณลักษณะบริษัท การกำกับดูแลกิจการที่ดี และการจัดการกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ และเครื่องมือประเมินผลการปฏิบัติงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีแบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1) วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 468 บริษัท เก็บข้อมูลจากงบการเงินประจำปีและแบบรายงาน (แบบ 56-1) ระยะเวลา 2 ปี ระหว่างปี 2560-2561 เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Corporate Governance Code) หลักเกณฑ์ใหม่ในปี 2560 ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบ Multiple Indicators and Multiple Causes (MIMIC) Model และ 2) วิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 7 ท่าน