ACC-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู ACC-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์ โดย เรื่อง "กระแสเงินสด"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 17 ของ 17
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความสัมพันธ์ของกระแสเงินสดที่มีต่อมูลค่าตามราคาตลาดและ อัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) นันทิกานต์ พวงบุบผาการศึกษาครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกระแสเงินสดที่มีต่อมูลค่าตามราคาตลาดและอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งทำการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559 - 2561 จากฐานข้อมูล SETSMART โดยยกเว้น บริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจการเงิน และบริษัทที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูผลการดำเนินงาน ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้นรวม 456 บริษัท โดยทำการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสด และสภาพคล่องกับรายการคงค้างของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สารินี ศรีสงครามงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับรายการคงค้างของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องกับรายการคงค้างของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลจากรายงานทางการเงินของบริษัทในรอบระยะเวลาบัญชีสำหรับปีสิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565 รวมเป็นระยะเวลา 4 ปี จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ได้มี 36 บริษัท โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับผลการดำเนินงานของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) หทัยชนก แย้มชุ่มงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100 ซึ่งมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นตัวแปรอิสระ และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด อัตราส่วนราคาต่อกำไร อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี และอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนเป็นตัวแปรตาม ศึกษาจากกลุ่มประชากร คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2561 จำนวน 100 บริษัท เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เพื่อทดสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด และอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) ทวีศักดิ์ อุ่นทานนท์การศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด และอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2561 - 2563 จํานวน 453 บริษัท โดยเก็บข้อมูลจากงบการเงิน จากฐานข้อมูลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตัวแปรอิสระ คือกระแสเงินสด ทําการศึกษากับมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด และอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ จากนั้นทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบทางสถิติ ได้แก่การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบาย สรุปข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระด้วยกัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบค่าทางสถิติหาความสัมพันธ์ตามสมมติฐานการวิจัยที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์และอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET 50 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธีรกานต์ สวัสดิ์กุลสิริการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน และกระแสเงินสดอิสระ กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มที่มีดัชนีราคาหลักทรัพย์ใน 50 อันดับ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมจากงบการเงิน ระหว่างปี 2559 - 2563 รวม 5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินกับผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กัลยา ภูสอดเงินการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินกับผลการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งได้แก่ กำไรสุทธิในอนาคต กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานในอนาคต การจ่ายเงินปันผลในอนาคต อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นในอนาคตและอัตรากำไรสุทธิในอนาคต โดยแบ่งกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินออกเป็น กระแสเงินสดจากกิจกรรมการกู้ยืม และ กระแสเงินสดจากกิจกรรมการเพิ่มทุน ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือข้อมูลทางบัญชีในงบการเงิน ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ศึกษาได้คำนวณค่าสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (description statistics) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น และสถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) ได้แก่ วิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (correlation analysis) สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและกำไรสุทธิที่มีต่อราคาและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ : กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) จีระ จันทร์ชาวนาการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกิจกรรมดำเนินการ กิจกรรมลงทุน กิจกรรมจัดหาเงินลกำไรสุทธิที่มีต่อราคาและผลตอบแทนหลีกทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนใตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2552-2556 โดยคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างต้องมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้น 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคมของทุกปี วิธีวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนา เป็นกาทดสอบข้อมูลให้อยู่ในรูปของการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานเป็นการทดสอบสมมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไรกับการประเมินมูลค่าหุ้น ของบริษัทกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ฐาปกรณ์ เจียรนันทพิสุทธ์การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไรกับการประเมินมูลค่าหุ้น กลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงิน 93 บริษัท ช่วง ปี พ.ศ. 2560 - 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวม และ อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราส่วนราคาตลาดหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชต่อหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อหนี้สินรวม มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราส่วนราคาตลาดต่อกระแสเงินสดต่อหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และ ค่าใช้จ่ายตัอบัญชีต่อรายได้รวม มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราส่วนราคาตลาดต่อยอดขาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ กระแสเงินสดต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์เสนอให้ความสำคัญกับ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวม กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อหนี้สินรวม อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ อัตราตอบแทนผู้ถือหุ้น และ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และ ค่าใช้จ่ายตัดบัญชีต่อรายได้รวม ในการนำมาประเมินมูลค่าหุ้นรายการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์มูลค่าตามราคาตลาดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) กัญญาลักษณ์ สุขพันธ์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์กับมูลค่าตามราคาตลาดของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยศึกษาข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จํานวน 166 บริษัทระหว่างปี พ.ศ. 2561 ถึงปี พ.ศ. 2563 รวมทั้งหมด 498 ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าต่ําสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามรายการ ผลกระทบของกระแสเงินสด ความสามารถในการทำกำไร ความสามารถในการชำระหนี้ที่มีต่อมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่ม SET 100(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) กันยารัตน์ หนองหว้าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มSET 100 จำนวน 74 บริษัท ได้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ทั้งสิ้นจำนวน 222 รายบริษัท รายปี (Firm years) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กระแสเงินสดกิจกรรมลงทุน (CF) และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) ส่งผลกระทบเชิงลบต่อมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราส่วนกำไรขั้นต้น และกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (CFI) ส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราส่วนกำไรสุทธิ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05รายการ ผลกระทบของกระแสเงินสดต่อความสามารถในการทำกำไรและประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ประสิทธิชัย ดอกไม้หอมงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของกระแสเงินสดต่อความสามารถในการทำกำไรและการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ถึง 2563 รวมระยะเวลา 3 ปี จำนวน 118 บริษัท วึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจะไม่รวมกลุ่มธุรกิจการเงิน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน ผลกระทบของกระแสเงินสดต่อความสามารถในการทำกำไร พบว่า กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนมีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนสินทรัพยือย่างมีนัยสำคัญ และกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนมีผลกระทบต่ออัตรากำไรสุทธิอย่างมีนัยสำคัญรายการ ผลกระทบของกระแสเงินสดที่มีต่อผลประกอบการและผลตอบแทนหลักทรัพย์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ(Sripatum University, 2567) ธนวรรธน์ ชวมณีนันท์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลกระทบของกระแสเงินสดที่มีต่อผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ผลกระทบของผลประกอบการที่มีต่อผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ ปี 2562 - 2564 จำนวน 54 บริษัท โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณรายการ ผลกระทบของกระแสเงินสดและโครงสร้างเงินทุนที่มีต่อราคาหลักทรัพย์และอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ(Sripatum University, 2567) สิริรัตน์ โสวรรณะการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของกระแสเงินสดและโครงสร้างเงินทุนที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์และอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2564 จำนวน 101 บริษัท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนารายการ ผลกระทบของอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานที่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนและอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2565) นพพร ลีปรีชานนท์งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานที่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนและอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยรายการ ผลกระทบของเครื่องมือทางการเงินและกระแสเงินสดต่ออัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Sripatum University, 2566) ภัชญาณีย์ ต้นใหญ่งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของเครื่องมือทางการเงินและกระแสเงินสดต่ออัตราผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ถึง 2563รายการ ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้นและกระแสเงินสดที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100(Sripatum University, 2566) เนตรนภา ผกาแก้วการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างการถือหุ้นและกระแสเงินสดที่มีผลความสามารถในการทำกำไร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินที่มีข้อมูลครบถ้วน 74 บริษัท ช่วงปี พ.ศ.2561 - 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณารายการ ผลกระทบระหว่างการกำกับดูแลกิจการ กระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET 100(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) มยุรา คงสกูลงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการกํากับดูแลกิจการและกระแสเงินสดที่มีผลต่อความสามารถในการทํากําไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET100 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 228 ข้อมูล ตั้งแต่ปี 2561-2563โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก SET -SMART ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานประจําปี (56 -1) และข้อมูลงบการเงิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลกระทบของการกํากับดูแลกิจการที่มีผลต่อความสามารถในการทํากําไร พบว่า สัดส่วนของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากําไรสุทธิอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติสัดส่วนการถือครองหุ้นของคณะกรรมการบริษัทมีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และผลกระทบของกระแสเงินสดที่มีผลต่อความสามารถในการทํากําไร พบว่า กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงานมีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตรากําไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนมีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินมีผลกระทบเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งนักลงทุนและผู้บริหารสามารถนําข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจลงทุน บริหารจัดการองค์กร หรือวิเคราะห์ผลการดําเนินงานต่างๆ ได้