CTH-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CTH-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 10 ของ 10
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การจัดการปัญหาขยะอาหารของครัวการบิน(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) ธนกร ณรงค์วานิชบทความนี้วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาขยะของครัวการบิน 2. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาขยะของครัวการบิน อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการปัญหาขยะในครัวการบิน เนื่องจากอาหารที่ถูกผลิตออกมาในโลกประมาณ 1 ใน 3 นั้นกลายเป็นขยะอาหารที่เป็นเศษอาหารและไม่สามารถนำมารับประทานได้ แต่ต้องนำมาทิ้งกลายเป็นขยะอาหารในปริมาณจำนวนมากหรือประมาณ 1.6 พันล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หรือสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภค ในครัวการบินเพื่อเป็นการลดต้นทุนและลดการสูญเสียอาหารหรือขยะอาหาร และช่วยในการลดปริมาณขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิตอาหารในครัวการบิน และลดปริมาณอาหารที่เหลือจากการให้บริการบนเครื่องบินรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อ เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12-19) ธนกร ณรงค์วานิช; Thanakorn Narongvanichการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่มีต่อเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานและวัดผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวไทยและชาวต่างชาติที่ใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวนข้อมูลในครั้งนี้ คือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลจากการวิจัยพบว่า ภาพรวมผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานมีความพึงพอใจในการใช้บริการด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ ฯ มีความมุ่งมั่นยินดีเต็มใจในการบริการ รองลงมาคือ เจ้าหน้าที่ ฯปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ ฯ มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญเหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ความเหมาะสมในการแต่งกายของเจ้าหน้าที่ ฯ ที่ให้บริการ ขั้นตอนในการให้บริการมีความคล่องตัวไม่ซับซ้อน การให้บริการตามลำดับก่อนหลัง มีความเพียงพอในการให้บริการ การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น กล่องรับความคิดเห็น และสุดท้ายที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความรวดเร็วในการให้บริการรายการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของ ผู้สูงอายุไทยในเขตภาคเหนือ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 2563-12-23) วสวัตติ์ สุติญญามณี; ชยินทร์ธร ธาดาดุสิตา; เดือนเด่น วิบูลย์พันธุ์จากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยที่สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศมีสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้นแนวโน้มของผู้บริโภคจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสของสังคม ผู้สูงอายุจึงมีบทบาทสำคัญและกำลังเป็นฐานผู้บริโภคใหม่ที่หลายองค์กรธุรกิจกำลังให้ความสนใจ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่แหล่งท่องเที่ยวจะมีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น อีกทั้งในแหล่งท่องเที่ยวก็ตามก็ต้องทำการรักษาฐานนักท่องเที่ยวและสร้างความพึงพอใจในการให้บริการของนักท่องเที่ยว ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเกี่ยวกับเพื่อศึกษาพฤติกรรมการการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตภาคเหนือ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรผู้สูงอายุในเขตเขตภาคเหนือ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 500 คน วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการใช้สถิติขั้นสูง Ordered Logistic Regression ในการวิเคราะห์ถึงเพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตเขตภาคเหนือ โดยพบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ในเขตเขตภาคเหนือ ซึ่งเป็นสิ่งที่แหล่งท่องเที่ยวต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไปรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตพื้นที่เมืองพัทยา(วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2560-04-01) เตือนใจ ศรีชะฎาการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรม ในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตพัทยา จ านวน 385 คนเลือกผู้ตอบ แบบสอบถามแบบบังเอิญ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.4 มีอายุช่วง 20 – 30 ปีการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้ ระหว่าง 10,001–20,000 บาท โดยภาพรวมของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกที่พักแรมในเขตพัทยาทั้ง 6 ด้านของ นักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความส าคัญระดับมากรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการการเดินทางทางอากาศภายในประเทศในยุคโควิด 19 ของประชากรไทยในเขตกรุงเทพและปริมณฑล(2564-10-28) วสวัตติ์ สุติญญามณี; เมธาวี ธรรมเกษรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการการเดินทางภายในประเทศในยุคโควิด 19 ของประชากรไทยในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรถโดยสารประจำทางกับสายการบินต้นทุนต่ำ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 500 คน วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบพหุด้วยวิธี Ordered Logistic Regression ในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางภายในประเทศของประชากรไทยในยุคโควิด 19 ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง และสายการบินต้นทุนต่ำ โดยพบว่า ผู้โดยสารตัดสินใจที่จะเลือกรูปแบบการเดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำมากกว่ารถโดยสารประจำทาง โดยมีปัจจัย ในด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้โดยสารมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางภายในประเทศของประชากรไทยในยุคโควิด 19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบขนส่งสาธารณะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการเพื่อเป็นรูปแบบการเดินทางที่ตอบสนองผู้โดยสารทุกช่วงวัยในยุคโควิด 19ได้ต่อไปรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรถโดยสารประจำทางกับสายการบินต้นทุนต่ำ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) วสวัตติ์ สุติญญามณี; วัชราภรณ์ อรานุเวชภัณฑ์; เมธาวี ธรรมเกษรการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรถโดยสารประจำทางกับสายการบินต้นทุนต่ำ โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 500 คน วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการใช้สถิติขั้นสูง Ordered Logistic Regression ในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง และสายการบินต้นทุนต่ำ โดยพบว่า ผู้โดยสารตัดสินใจที่จะเลือกรูปแบบการเดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำมากกว่ารถโดยสารประจำทาง โดยมีปัจจัย ในด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้โดยสารมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางภายในประเทศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบขนส่งสาธารณะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการเพื่อเป็นรูปแบบการเดินทางที่ตอบสนองผู้โดยสารทุกช่วงวัยได้ต่อไปรายการ ปัจจัยท่ีสงผลตอการตัดสินใจในการเลือกใช บริการการเดินทางระหวางประเทศในชวงโควิด-19 ของ ผ ูโดยสารชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: การศึกษาเปรียบเทียบระหวางสายการบินที่ ให บริการเต็มรูปแบบกับสายการบินต นทุนต่ำ(มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2565-07-21) วสวัตติ์ สุติญญามณี; สุรพจน์ ช้างเยาว์The purpose of this study was to study the decision making in choosing international travel services during the COVID-19 era of Thai passengers. in Bangkok and suburb areas between full-service airlines and low-cost airlines and to study the factors affecting the decision to choose international travel services during the COVID-19 era of Thai passengers in Bangkok and suburb areas: a comparative study between full-service airlines and airlines. low cost Using a sample of Thai passengers living in Bangkok and its vicinities by using a Cluster Sampling method for 500 people to analyze the results using descriptive statistics and multiple correlation statistics using the Ordered Logistic Regression method to analyze the decision-making in the use of airline services in international travel among the Thai passengers after the Covid-19 era in 2 choices of traveling: traveling by airlines that provide full service. It was found that passengers decided to choose a low-cost mode of travel over a full-service airline with the demographic factor especially in age economic cost factor Physical limitation factor and the passenger's exposure to the COVID-19 vaccine is related to the decision-making in international travel among Thai passengers during the COVID-19 era, which is something that public transport must take into account to improve the service to be a mode of transportation that responds to passengers of all ages after the Covid-19 epidemic.รายการ แนวโน้มความต้องการการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารชาวไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ทั้ง 3 ระลอกในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10-28) วสวัตติ์ สุติญญามณี; ธนภรณ์ กริยาผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 ทั้ง 3 ระลอก โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 1,000 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Time Series) วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางระหว่างประเทศ ในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 โดยพบว่า แนวโน้มการเดินทางทางอากาศทั้งในประเทศและระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการการเดินทางภายในประเทศมีสัดส่วนของความต้องการในการเดินทางในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 มากกว่า ความต้องการการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต่าง ๆจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ เสริมสร้างมาตรการความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางให้กับผู้โดยสาร และสามารถรักษาฐานลูกค้าของตนเพื่อให้กลับมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นหลักวิกฤตการณ์ COVID-19 ได้รายการ แนวโน้มความต้องการการเดินทางทางอากาศในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาผู้โดยสารชาว ไทยในเขตภาคเหนือ(มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2564-02-05) วสวัตติ์ สุติญญามณี; เมธาวี ธรรมเกษร; ธนภรณ์ กริยาผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตภาคเหนือในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 1,000 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Time Series) วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตภาคเหนือใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางระหว่างประเทศ ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยพบว่า แนวโน้มการเดินทางทางอากาศทั้งในประเทศและระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการการเดินทางภายในประเทศมีสัดส่วนของความต้องการในการเดินทางในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 มากกว่า ความต้องการการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต่างๆจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ เสริมสร้างมาตรการความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางให้กับผู้โดยสาร และสามารถรักษาฐานลูกค้าของตนเพื่อให้กลับมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นหลักวิกฤตการณ์ Covid-19ได้อีกด้วยรายการ แนวโน้มความต้องการการเดินทางทางอากาศในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาผู้โดยสารชาวไทย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) วสวัตติ์ สุติญญามณี; ณัฏฐโพธ กุศลาไสยานนท์; ธนภรณ์ กริยาผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster) จำนวน 1,000 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Time Series) วิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเดินทางทางอากาศของผู้โดยสารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางภายในประเทศ และการเดินทางระหว่างประเทศ ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 โดยพบว่า แนวโน้มการเดินทางทางอากาศทั้งในประเทศและระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการการเดินทางภายในประเทศมีสัดส่วนของความต้องการในการเดินทางในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 มากกว่า ความต้องการการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต่างๆจะต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ เสริมสร้างมาตรการความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางให้กับผู้โดยสาร และสามารถรักษาฐานลูกค้าของตนเพื่อให้กลับมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นหลักวิกฤตการณ์ Covid-19ได้อีกด้วย