CTH-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CTH-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ) โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาล ขององค์การภาครัฐตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-07) ปิยากร หวังมหาพร; อภิญญา ดิสสะมานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ 2) ระดับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ และ 3) ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐตามการประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรสังกัดกรมการท่องเที่ยวกรมกิจการ ผู้สูงอายุและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมบังคับคดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 612 คน ด้วยโปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์พหุคูณแบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ เชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่าระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับปัจจัยมีค่าเฉลี่ยจากมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำ ปัจจัย ด้านนโยบาย และปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การ ระดับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมา ภิบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับรายด้านมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ด้านหลัก ความรับผิด หลักความคุ้มค่า ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติภายใต้หลักธรรมาภิบาล ขององค์การภาครัฐตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสรายการ การรับรู้ความเชื่อมั่นการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิในสถานการณ์ COVID-19 (Perception of Service Reliability of Suvarnabhumi Airport in the Situation )(วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 2566-05) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิ และ 2) เปรียบเทียบการรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่า 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (α) เท่ากับ 0.99 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติ ค่าที ค่าเอฟ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการสนามบินสุวรรณ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ▁x = 3.48 และ S.D. = 0.94 2) ผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความรับรู้ความเชื่อมั่นในคุณภาพการให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิไม่แตกต่างกันรายการ การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป.(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-07-01) ชญาณิศา วงษ์พันธุ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อการมาเยือนกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้ากรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จ้านวน 246 คน ใช้วิธีเลือกโดยอาศัยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามภาษาอังกฤษ มีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นของครอนบัด (Cronbach) X เท่ากับ 0.852 และ Y เท่ากับ 0.880 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส้าหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลของการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านการบริการมากที่สุด (Beta = .254) รองลงมา คือความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านความปลอดภัยและอาชญากรรม (Beta = .191) ความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านด้านบุคคล (Beta = .166) ที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่อกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสามารถน้าไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เพิ่มมาตรฐานการบริการแก่ลูกค้าเพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการบริการรวมถึงการพัฒนาบุคลากรในสายงานของธุรกิจให้มีศักยภาพและคุณภาพในงานบริการอย่างมีมาตรฐาน สากลประเทศ และรักษาระดับมาตรฐานการบริการให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านความปลอดภัยและอาชญากรรมควรจะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการดูแลรักษาความปลอดภัย ให้ความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวด้านความปลอดภัยที่จะไม่โดนโกง ถูกหลอก หรือการถูกท้าร้ายจากมิจฉาชีพ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กรุงเทพมหานครและประเทศไทยรายการ “ทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย(SPU Conference 17, 2565-10-27) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย 3) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้โดยสาร จำนวน 246 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ ค่าที ค่าเอฟ และค่าแอลเอสดี โดยกำหนดระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ สายการบินไทยแอร์เอเชีย ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุ 21-26 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษา ระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท 2) ทัศนคติของผู้โดยสาร Generation Y ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย พบได้ว่าทัศนคติด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านพฤติกรรม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากที่สุดทุกด้าน และ 3) ผู้โดยสารที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบินไทยแอร์เอเชีย ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05รายการ บทความ “พระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 กับ อากาศยานไร้คนขับ”(ผศ.ธนกร ณรงค์วานิช, 2565-10-23) ผศ.ธนกร ณรงค์วานิชรายการ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12-18) ธนกร ณรงค์วานิช; มณฑิชา เครือสุวรรณ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการใช้บริการของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เคยใช้บริการโดยสารเครื่องบินและพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยคณะผู้วิจัยได้กาหนดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 450 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Convenient Sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Simple Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภาษาอังกฤษมีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นครอนบัด (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.882 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สาหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis, T-test, และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของการวิจัยพบว่าจากจานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 450 คนพบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี มีสถานะโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ปัจจุบันมีรายได้ 1,500-3,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และมีภูมิลาเนาอยู่ในทวีปเอเชีย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย แบ่งปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความ ไม่พึงพอใจตามระดับความคิดเห็นของผู้โดยสารชาวต่างชาติออกเป็น 4 ด้าน เรียงตามลาดับความไม่พึงพอใจจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง 2) ปัจจัยด้านการตรวจสมัภาระ 3) ปัจจัยด้านเครื่องแสกนและวัตถุต้องห้ามและ 4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการภายในท่าอากาศยาน ตามลาดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านความไม่พึงพอใจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางมายังประเทศของผู้โดยสารชาวต่างชาติ พบว่าผู้โดยสารชาวต่างชาติไม่พึงพอใจต่อด้านความปลอดภัยจึงเป็นสาเหตุที่จะส่งผลต่ออิทธิพลในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรายการ ปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานปฏิบัติการ: กรณีศึกษา สายการบินต้นทุนตํ่าแห่งหนึ่งของไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) วสวัตติ์ สุติญญามณีการพัฒนาและฝึ กอบรมบุคลากรในองค์กร เป็ นสิ่งที่องค์กรจะต้องมีกระบวนการที่เป็ นระบบและมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรมีสมรรถนะตามวิสัยทัศน์ขององค์กร หากบุคลากรมีสมรรถนะในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะต่างๆที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานแล้วการดําเนินงานในด้านต่างๆ ก็ สามารถดําเนินไปอยางราบรื่น แต ่ ่ถ้าหากบุคลากรขาดความพร้อมในการปฏิบัติงานอันเนื่องมากจากขาดความรู้ ความสามารถหรือทัศนคติ จนทําให้การปฏิบัติงานเป็ นไม่ไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรกาหนด การจัดการ ํ พัฒนาและการฝึ กอบรมบุคลากรจึงเป็ นสิ่งที่จะต้องมีการวางแผนและการดําเนินงานอย่างรอบคอบ เพื่อให้ บุคลากรมีประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้นรวมทั้งก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันให้กบองค์กรได้อย ั าง่ ยังยืนองค์ก ่ รในด้านอุตสาหกรรมการบินเป็ นองค์กรขนาดใหญ่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการ ทํางานของพนักงานในองค์กร ซึ่งการศึกษาพบวาปัจจัยสิ ่ ่ งแวดล้อมในการปฏิบัติงานด้านบรรยากาศในการทํางาน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บังคับบัญชา และปัจจัยสิ่งแวดล้อมในด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงาน กบประสิทธิภาพในการทํางานมีความสัมพันธ์ก ั นอย ั างมี ่ นัยสําคัญทางสถิติดังนั้นองค์กรควรมีมาตรการต่างๆที่ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทํางาน ของผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้องค์กรเจริญกาวหนาต่อไปรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-06) วสวัตติ์ สุติญญามณีการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกและรูปแบบการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster)จํานวน 500 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์แบบเรียงลําดับในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลใน 2รูปแบบ ได้แก่ การเดินทางโดยสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ และสายการบินต้นทุนต่ําผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุตัดสินใจที่จะเลือกรูปแบบการเดินทางโดยสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบมากที่สุดโดยปัจจัย ในด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ข้อจํากัดทางกายภาพของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบในการเดินทางทางอากาศของผู้สูงอายุไทย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งเป็นสิ่งที่สายการบินต้องคํานึงถึงปัจจัยดังกล่าวเพื่อนํามาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเป็นสายการบินที่ตอบสนองผู้โดยสารผู้สูงอายุได้ต่อไปรายการ ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจการบินกับความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565-01-01) ธนกร ณรงค์วานิชการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาถึงระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ที่มีผลต่อการจัดการ ความเสี่ยง การจัดการองค์กร การสื่อสารที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อศึกษาถึงความเข้าใจ หรือ ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง การจัดการองค์กร และการสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานและพนักงานในภาคธุรกิจการบิน จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่า 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (α) เท่ากับ 0.99 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในด้านต่าง ๆ โดยมีความเข้าใจในด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิผล มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการนำไปใช้ 2) ความเข้าใจในประเภทความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน ส่งผลต่อการนำความรู้ไปใช้การพัฒนาการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่า β = 0.12 ค่า t = 3.06 และ ค่า Sig. = 0.000) 3) ความเข้าใจในด้านการจัดการองค์กร ส่งผลต่อการนำความรู้ไปใช้การพัฒนาการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ค่า β = 0.40 ค่า t = 11.64 และ ค่า Sig. = 0.000) 4) การสื่อสารที่มีประสิทธิผลมีผลต่อการนำความรู้ไปใช้การพัฒนาการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (ค่า β = 0.31 ค่า t = 8.17 และ ค่า Sig. = 0.000)