EGI-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู EGI-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดย ชื่อ
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 17 ของ 17
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การกำหนดเวลารอคอยเนื่องจากเหตุการณ์ความเสี่ยงในโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำขนาดเล็ก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อรรถพล พรหมศิริงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเวลารอคอยจากเหตุการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของกิจกรรมในโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำชลประทานขนาดเล็ก ด้วยะบบอนุมานฟัชชี่บนโครงข่ายที่ปรับตัวได้ ร่วมกับแผนกำหนดระยะเวลากิจกรรมของโครงการมาเป็นเครื่องมือในการทำนายความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสี่ยง โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน จากโครงการก่อสร้างฝายทดน้ำขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง เป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อทำนายความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง ที่เกิด 3 เหตุการณ์ ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยง 7 ปัจจัย การทดสอบแบบจำลอง 80 : 20 (อัตราการเรียนรู้ต่อการทดสอบ) มีค่าความคลาดเคลื่อน (RMSE) ต่ำสุด จึงนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการจริง ผลการวิจัยพบว่าระยะเวลาโครงการที่รวมความเสี่ยงเท่ากับ 245 วัน และ 218 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลางานก่อสร้างจริงเท่าหับ 237 วัน และ 199 วัน ตามลำดับ จากระยะเวลาสัญญาจ้างปฎิบัติงานเท่ากับ 180 วัน พบว่าระยะเวลาโครงการจากการทำนายด้วย ANFIS ใกล้เคียงกับ ระยะเวลาปฎิบัติงานก่่อสร้างจริง จึงสามารถที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติงานจริงกับงานก่อสร้างฝายทดน้ำชลประทานขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การดำเนินงานโครงการก๊าซชีวภาพระดับชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของปัจจัยแห่งความสำเร็จ : กรณีศึกษา บ้านห้างญวน หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) กชพร ศรีศักดิ์ขวาการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบก๊าซชีวภาพในชุมชนให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องมีองค์ประกอบจากหลายปัจจัย สำหรับกรณีศึกษา บ้านห้างญวน หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ได้ศึกษา รวบรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ได้มีการรายงานกระจัดกระจายจากผลการดำเนินการต่างๆ ในประเทศ ในการพัฒนาระบบก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร รวมทั้งเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และเก็บแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐอาสาสมัครพลังงานชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯที่ผ่านมา เจ้าของฟาร์มและครัวเรือนจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางและองค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และนำข้อมูลที่ได้มาประยุกต์ใช้รายการ การประยุกต์ใช้นิวโรฟัซซี่ในการกำหนดอัตราส่วนผสมของคอนกรีตมวลเบาแบบเซลูล่า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อังคณา แดงขวัญทองคอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า (CLC) เป็นคอนกรีตโฟมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกเป็นวัสดุก่อสร้างที่สำคัญในโครงการทางวิศวกรรมโยธา คอนกรีตโฟมขั้นพื้นฐานเริมจากการผสมฟองโฟมที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดโฟมนำไปละลายผสมปูนซีเมนต์,ทราย, น้ำ, เถ้าลอยและสารอื่นๆในการผสมที่แม่นยำในโฟมผสมคอนกรีตที่ถูกต้องผสมโดยไม่ต้องรบกวนเคมีเดิมและสมบัติทางกายภาพความต้านทานแรงอัดเป็นฟังก์ชั่นที่ไม่เชิงเส้นขององค์ประกอบ จึงทำให้การสร้างแบบจำลองและการคาดการณ์เป็นงานที่ยาก การสร้างแบบจำลองเป็นวิธีที่มีประโยชน์มากสำหรับการคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานของ CLC ส่วนใหญ่แบบจำลองที่มีอยู่ในวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานแรงอัดเป็นสมบัติฟเชิงกลหลักที่ใช้ในการออกแบบผสมคอนกรีตรายการ การประยุกต์ใช้หลอดไฟฟ้าชนิดแอลอีดีสำหรับการทำประมงเพื่อการประหยัดพลังงาน(Sripatum University, 2563) นพพร วายาโมวิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนอการประยุกต์ใช้หลอดไฟฟ้าชนิดแอลอีดีสำหรับการทำประมงเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้โคมไฟฟ้าแอลอีดีทดแทนการใช้หลอดไฟฟ้าชนิดความดันไอสูง เอสไอดี (HID) เป็นโคมไฟล่อสัตว์น้ำแบบดั้งเดิมทำให้ประหยัดพลังงานน้ำมัน จากการทำประมงแบบดั้งเดิม จากประสบการณ์การจับสัตว์น้ำของชาวประมงมีความเชื่อว่า การใช้แสงไฟจะต้องมีปริมาณแสงสูงและมีการกระจายเป็นวงกว้าง จึงจะทำให้ได้สัตว์น้ำจำนวนมาก มีผลให้สิ้นเปลืองพลังงานมากรายการ การประเมินกำลังอัดของถนนคอนกรีตระหว่างการก่อสร้างโดยใช้ระบบ ANFIS(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) สิรภพ นนทรังสีการควบคุมคุณภาพถนนคอนกรีตในระหว่างการก่อสร้างเป็นขั้นตอนที่ถือได้ว่ามีความสำคัญขั้นตอนหนึ่งของการควบคุมงานถึงแม้ว่ามีการทดสอบกำลังอัดของถนนคอนกรีตในระหว่างการก่อสร้างจะมีหลายวิธี เช่น การทดสอบแบบทำลายและการทดสอบไม่ทำลาย ล้วนเป็นวิธีประเมินคุณภาพของคอนกรีตที่นิยมใช้กันในการทดสอบภาคสนาม งานวิจัยนี้ นำเสนอวิธีนิวโรฟัซซี่แบบปรับตัวได้ เพื่อใช้ในการประเมินกำลังอัดถนนนคอนกรีต จากโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวงชนบทจำนวน 40 ตัวอย่างได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยนี้ โดยถูกแบ่งออกเป็น 36 ตัวอย่างเพื่อใช้ในการฝึกฝนการเรียนรู้สำหรับสร้างโมเดลในการประเมินกำลังของคอนกรีตและส่วนที่เหลืออีก 4 ตัวอย่างเพื่อใช้ในการทดสอบ ผลจากการทดสอบโมเดล ANFIS ชุดข้อมูล T, U, V และ W พบว่าชุดข้อมูล V มีค่า RMSE = 1.00 และมีค่า R2 = 0.994 เป็นโมเดลที่มีความแม่นยำมากที่สุดเมื่อเทียบกับชุด T, U และ W และสามารถนำมาใช้ประเมินกำลังของคอนกรีตงานก่อสร้างถนนระหว่างการก่อสร้างได้รายการ การประเมินประสิทธิภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำ 3 เฟสขณะมีโหลดที่สภาวะทำงานโดยการวิเคราะห์ถดถอยค่ากำลังงานกลจากสัดส่วนค่ากระแสและค่าไถล(Sripatum University, 2563) วีระ สุทธิสิงห์วิจัยนี้นำเสนอผลลัพธ์การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของค่ากระแสและค่าไถลของมอเตอร์ในการประมาณค่ากำลังงานกลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยทางสถิติเพื่อใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบ 3 เฟส ที่สภาวะทำงานโดยไม่ต้องปลดโหลด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เกี่ยวข้องกันประสิทธิภาพของมอเตอร์เหนี่ยวนำได้โดยไม่ต้องยกมอเตอร์ไปทดสอบในห้องปฏิบัติการรายการ การพัฒนาการจุดอาร์คของเครื่องตัดโลหะแบบพลาสมา(Sripatum University, 2563) ณัฐพล ประทีป ณ ถลางวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการนำเสนอการพัฒนาจุดอาร์คของเครื่องตัดโลหะแบบพลาสมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดโลหะ ซึ่งปรับปรุงวงจรขับเคลื่อนหัวตัดจากเครื่องพลาสมาแบบดั้งเดิม จากการศึกษาที่ผ่านมาพบปัญหาการขับเคลื่อนหัวตัดจากวงจรคอนเวอร์เตอร์แบบดั้งเดิมที่ใช้การสปาร์คของช่องว่าง เพื่อสร้างแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับความถี่สูง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความแน่นนอนของการสปาร์ค เป็นผลให้ความร้อนที่หัวตัดที่กระทำกับรอยตัดมีความไม่แน่นอนรายการ การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2015 สำหรับโรงพยาบาลภาครัฐในเขตภาคตะวันออก(Sripatum University, 2563) รณภูมิ เพชรรัตน์งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย และความพร้อมของโรงพยาบาลภาครัฐในเขตภาคตะวันออก เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2015 ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 6 ขั้นตอนตามลำดับ คือ 1) ศึกษาข้อกำหนดและบริบทของโรงพยาบาล 2) พัฒนาแบบสอบถามโดยประยุกต์จากข้อกำหนด 3) หาความเที่ยงตรงของแบบสอบถามและกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ 4) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) 5) ประเมินความพร้อมโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 60 6) พัฒนารูปแบบในการเตรียมความพร้อมและเอกสารสารสนเทศ (Documented Information)รายการ การลดของเสียในสายการผลิตการขึ้นรูปแบบฉีดเป่าและเอ็กซ์ทรูชั่นของกระบวนการผลิตขวดน้ำเกลือ(Sripatum University, 2563) ยศวีร์ สุทธิกาศนีย์ธรงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตน้ำเกลือ ชนิดปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร ที่ผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูปด้วยวิธีการฉีดเป่า (Injection Blow Molding) และกระบวนการผลิตน้ำเกลือ ชนิดปริมาตร 100 มิลลิลิตร ที่ผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูปแบบเอ็กซ์ทรูชั่น (Extrusion Blow Molding) โดยประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effect Analysis, FMEA) ร่วมกับการใช้วิธีการปรับปรุงงานตามสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นรายการ การวิเคราะห์เสถียรภาพสัญญาณขนาดเล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันลมชนิดเหนี่ยวนำแบบป้อนสองทางที่มีผลจากระยะทางของสายส่งกำลังไฟฟ้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ดุสิต สินสุขวิทยานิพนธ์นำเสนอการวิเคราะห์เสถียรภาพขนาดเล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันลมชนิดเหนี่ยวนำแบบป้อนสองทางจากผลกระทบของระยะทางของสายส่งกำลังไฟฟ้า โดยทั่วไปพื้นที่ของแหล่งพลังงานลมที่มีประสิทธิภาพมักจะอยู่ห่างไกลจากกริดไฟฟ้า ทำให้ระยะทางสายส่งกำลังไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันลมอยู่ไกลจากบัสโหลดและกริดไฟฟ้ามาก เป็นสาเหตุให้เกิดกำลังไฟฟ้าสูญเสียในสายส่งและเกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เสถียรภาพสัญญาณขนาดเล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันลมชนิดเหนี่ยวนำแบบป้อนสองทางในกรณีที่มีระยะทางระหว่างสายส่งไฟฟ้สกับกริดระยะทางห่างกันมากจนทำให้เกิดการเสียเสถียรภาพสัญญาณขนาดเล็กของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยพิจารณาจากค่าไอเกนและค่าตัวประกอบการที่มีส่วนร่วมของตัวแปรสถานะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อหาค่าตัวแปรสถานะที่มีความไวต่อการเสียเสถียรภาพ การวิจัยจะสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันลมชนิดเหนี่ยวนำแบบป้อนสองทางขนาด 1.5 เมกกะวัตต์ สายส่งกำลังไฟฟ้าและโหลด ด้วยสมการสถานะ ทำการปรับพารามิเตอร์ของระยะทางของสายส่งระยะต่างๆ ผลการทดสอบพบว่าที่โหลด 4 เมกกะวัตต์ ตัวประกอบกำลัง 0.8 ล้าหลัง ระยะความยาวสายส่งกำลังไฟฟ้า 50 กิโลเมตร ระบบจะเสียเสถียรภาพ ทำให้ทราบว่ากรณีที่มีโหลดและความยาวของสายส่งกำลังไฟฟ้ามากจนถึงจุดที่เสียเสถียรภาพจะมีผลกระทบกับระบบไฟฟ้ารายการ การศึกษาเทคนิคการลดค่ากระแสฮาร์มอนิกของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า 3 เฟส(Sripatum University, 2563) สุเทพ สัญใจวิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนอการศึกษาการลดค่ากระแสฮาร์มอนิกของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า 3 เฟส วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงวงจรเครื่องเชื่อมไฟฟ้า เพื่อลดกระแสฮาร์มอนิก โดยเทคนิคการปรับปรุงจะนำเสนอ 3 วิธี คือ การติดตั้งตัวเหนี่ยวนำ หรือ ดี. ซี โช๊ค ที่บัสแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง การประยุกต์ใช้วงจร Valley Eill ติดตั้งที่บัสแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง และ การประยุกต์ติดตั้งชอปเปอร์ไฟฟ้ากระแสตรง กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติเป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมรายการ การเสริมกำลังภายนอกด้วย CFRP สำหรับคานคอนกรีตอัดแรงที่มีช่องเปิดโดยจำลองด้วย STRUT AND TIE MODEL(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) พชร ช่วยบำรุงงานวิจัยนี้ศึกษาถึงการเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วย CFRP ในคานคอนกรีต Pretension ที่มีช่องเปิดวงกลมขนาดใหญ่โดยการทำทดสอบคานขนาดกว้าง 0.18 เมตร ลึก 0.40 เมตร ช่วงความยาว 3.80 เมตร แบบ Center Point Loading จำนวน 4 ชิ้น เป็นคานที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ 3 ชิ้น (do/h = 0.54) จากผลการทดสอบว่าคานอัดแรงที่มีช่องเปิดวงกลมขนาดใหญ่จะพังภายใต้แรงเฉืแนมีความสามารถในการรับน้ำหนักลดลง 36.27% เมื่อเทียบกับคานควบคุม ส่วน Strut and Tie Model เป็นวิธีที่แสดลักษณะการถ่ายแรงภายในคาน สามารถนำมาใช้ในการสร้างแบบจำลองการเสริมกำลังในคอนกรีตอัดแรงมีช่องเปิดขนาดใหญ่ได้ พบว่ามุมของท่อนดึงแนงทแยงที่ตัดผ่านรอยร้าวจากการวิบัติแบบเฉือนเท่ากับ 28 องศา สามารถถ่ายแรงผ่านช่องเปิดขนาดใหญ่ได้อย่างเหมาะสม และผลของการเสริมกำลังภายนอกเพื่อรับแรงเฉือนด้วย CFRP ด้วยมุมเอียง 28 องศา ในคานคอนกรีตอัดแรง ที่มีช่องเปิดและในคานที่มีช่องเปิดที่ซ่อมหลังจากวิบัติภายใต้แรงเฉือนพบว่าความสามารถในการรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ 47.68% และ 48.22%ตามลำดับเมื่อเทียบกับคานที่มีช่องเปิดที่ไม่เสริมกำลัง และยังสามารถเปลี่ยนลักษณะการวิบัติเป็นแบบดัดที่มีความเหนียวไม่น้อยกว่าคานควบคุมได้ นอกจากนี้งานวิจัยยังได้นำเสนอ สมการที่ใช้ในการ ทำนายกำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตอัดแรงที่มีช่องเปิดขนาดใหญ่ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 3.0%รายการ การเสริมกำลังอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยองค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ภูริพงษ์ พลพิมลพัฒน์งานวิจัยนี้เป็นการเสริมโครงสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวด้วยองค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ ในการศึกษานี้เลือกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อใช้เป็นอาคารต้นแบบ ในการประเมินกำลังโครงสร้างอาคาร ได้ทำการจำลองพฤติกรรมการรับแรงอินลาสติกของโครงสร้างแบบหน้าตัดไฟเบอร์ โดยใช้โปรแกรม PERFORM-3D และการวิเคราะห์โดยวิธีการผลักแบบสถิตย์ไม่เชิงเส้นแบบ 3 มิติ และด้วยวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวบริเวณพื้นที่จังหวัดแพร่ เพื่อประเมินระดับความเสียหายและรูปแบบความเสียหายของโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์พบว่า สำหรับโครงสร้างอาคารเดิม ผนังก่ออิฐโดยรอบอาคารและเสาคอนกรีตบริเวณขอบอาคาร เกิดการแตกร้าว โดยค่าความเครียดของคอนกรีตและเหล็กเสริมที่เสาบริเวณปลายบนและล่างที่จุดต่อเสาและคาน มีค่าเท่ากับ 1.56 ซึ่งสูงกว่าค่าตามมารตฐานคือ 1.0 หลังการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยวิธีองค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะบริเวณขอบอาคาร พบว่าค่าความเครียดของคอนกรีตและเหล็กเสริมที่เสาบริเวณปลายบนและล่างที่จุดต่อเสาและคาน มีค่าเท่ากับ 0.96 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานคือ 1.0 และค่าการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นอาคารมีค่าเท่ากับ 1.5% บริเวณเสาชั้นล่าง ซึ่งต่ำกว่าค่าที่ยอมให้ตามมาตรฐานคือ 2% ดังนั้นสามารถใช้วิธีการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยองค์อาคารรั้งยึดไร้การโก่งเดาะกับอาคารตัวอย่างได้รายการ การเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ศักดา ชมภูยันต์งานวิจัยนี้นำเสนอการเสริมกำลังด้วยวิธีเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีกและพฤติกรรมการรับแรงกระทำด้านข้างจากแรงแผ่นดินไหวของโครงข้อแข็งเสริมกำลัง (BF-SR) และโครงข้อแข็งที่ผนังก่อแบบมีช่องเปิดเสริมกำลัง (IFO-SR) ภายใต้การทดสอบด้วยวิธีการผลักแบบวัฎจักรในห้องปฎิบัติการและทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม RUAUMOKO ของโรงข้อแข็งและผนังก่อแบบมีช่องเปิดเดิม (IFO) และโครงข้อแข็งและผนังก่อแบบมีช่องเปิดเสริมกำลัง (IFO-SR) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลทดสอบและจากผลที่ได้ทั้งหมดยังทำการเปรียบเทียบกับสมการคำนวณที่นำเสนอทางทฤษฏ๊โดยโครงสร้างตัวอย่างอ้างอิงจากแบบอาคารเรียน 3 ชั้น ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบให้รองรับแรงกระทำด้านข้างจากแผ่นดินไหว การเปรียบเทียบผลคือ กำลังต้านทานแรงด้านข้าง ค่าความเหนียวโครงสร้าง ค่าการเสื่อมถอยของสติฟเนส และการสลายพลังงาน ผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างข้อแข็งเสริมกำลัง (BF-SR) มีกำลังต้านทานมากกว่าโครงข้อแข็งเดิม (BF) คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 62.83 โครงข้อแข็งที่มีผนังก่อแบบมีช่องเปิดเสริมกำลัง (IFO-SR) มีกำลังต้านทานมากกว่าโครงข้อแข็งที่มีผนังก่อแบบช่องเดิม (IFO) คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 46.17 แสดงให้เห็นว่าการเสริมกำลังด้วยวิธีเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีกมีผลต่อพฤติกรรมการรับแรงให้ดีขึ้นได้รายการ ผลกระทบของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาและการชาร์จรถไฟฟ้าต่อระบบจำหน่าย(Sripatum University, 2563) โชติวุฒิ ชนะบุญบทความนี้เป็นการนำเสนอผลกระทบของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาและการชาร์จรถไฟฟ้าต่อระบบจำหน่าย โดยนำข้อมูลโหลดที่พักอาศัยของวันทำงานและวันหยุด การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา และรูปแบบการชาร์จรถไฟฟ้ามาจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์หาผลกระทบของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาและการชาร์จรถไฟฟ้าต่อค่าระดับแรงดันไฟฟ้า โดยที่ระบบยังรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าที่บัสให้อยู่ในขอบเขตของแรงดันไฟฟ้า 0.95 ถึง 1.05 เปอร์ยูนิตรายการ ผลกระทบความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกรวมต่อก๊าซผิดพร่องในน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อิทธิพล อินทมาตย์ในงานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกรวมของแรงดันและกระแสต่อปริมาณก๊าซผิดพร่องที่เกิดขึ้นในน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า ด้วยวิธีการถดถอยแบบกำลังสองน้อยสุด โดยทำการตรวจวัดค่าความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกรวมของแรงดันและกระแสของหม้อแปลงไฟฟ้า และเก็บตัวอย่างน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าไปทำการทดสอบหาปริมาณก๊าซผิดพร่องที่เกิดขึ้นในน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ, R2 ระหว่างความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกรวมของกระแสโหลดกับปริมาณก๊าซผิดพร่องที่เกิดขึ้นในน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า มีค่าประมาณ 0.186 - 0.708 และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ,R2 ระหว่างความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกรวมของแรงดันกับปริมาณก๊าซผิดพร่องที่เกิดขึ้นในน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า มีค่าประมาณ 0.117 - 0.456 แสดงว่าค่าความผิดเพี้ยนฮาร์มอนิกรวมมีผลกระทบต่อปริมาณก๊าซผิดพร่องที่เกิดขึ้นและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซผิดพร่องขึ้นในน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า ดังนั้นการตรวจสอบสภาพทั่วไปของหม้อแปลงไฟฟ้าจากการทดสอบหาปริมาณก๊าซผิดพร่องที่เกิดขึ้นในน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า ถือว่าเป็นวิธีพื้นฐานที่ดีและสามารถบอกให้ทราบถึงความผิดปกติที่เริ่มก่อตัวขึ้นในหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องรายการ วิธีกำหนดเวลางานแบบลูปสำหรับโครงการก่อสร้างอาคารสูง(Sripatum University, 2563) เฉลิมพล พรมทองงานวิจัยนี้ได้นำเสนอการวางแผนกำหนดเวลางานแบบลูป สำหรับโครงการก่อสร้างอาคารสูง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการกำหนดเวลาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการทำงานของผู้รับเหมาก่อสร้างไทย โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์กิจกรรมวิกฤต จากวิธีสายงานวิกฤต ร่วมกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับค่าใช้จ่ายที่ต่ำสุด ในสภาวะที่มีกิจกรรมหลายกิจกรรม มีวิธีการดำเนินงานที่ต่างกัน และมีการใช้ทรัพยากรที่ต่างกัน