CMU-06. ผลงานวิจัย

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 7 ของ 7
  • รายการ
    แนวทางการพัฒนาลวดลายกราฟิกผ้าหม้อห้อมร่วมสมัย (GRAPHIC DESIGN DEVELOPMENT GILDLINES FOR CONTEMPOLARY MOA-HOAM SILK FABRICS)
    (2561-06-30) นฤดล จิตสกูล
    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาลวดลายกราฟิกผ้าหม้อห้อมร่วมสมัย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ผ้าหม้อห้อม ให้คนรุ่นใหม่มีความตระหนัก หวงแหน และ ร่วมสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์จากผู้ผลิต นักออกแบบผลิตภัณฑ์ และนักออกแบบลวดลายผ้าหม้อห้อม ในเขตจังหวัดแพร่ จํานวน 7 คน และเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มลูกค้าที่เป็น ผู้บริโภคทั่วไป จํานวน 50 คน กลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นเจนเนอเรชั่นวาย จํานวน 150 คน รวม 207 คน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มผู้บริโภคทั่วไป และกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นเจนเนอเรชั่นวาย มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกแบบ ลวดลายกราฟิกผ้าหม้อห้อมร่วมสมัยที่เป็นลวดลายนามธรรมให้ความรู้สึกต่าง ๆ โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจใน ระดับมาก (X = 4.18) รองลงมาคือ ผ้าหม้อห้อมร่วมสมัยที่เป็นลวดลายแบบไทยประยุกต์ โดยเฉลี่ยมี ความพึงพอใจในระดับมาก (X = 3.85) และลวดลายที่เกิดจากเส้นที่ให้ความรู้สึกต่าง ๆ โดยเฉลี่ยมี ความพึงพอใจในระดับมาก (X = 3.80) ตามลําดับ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาลวดลายผ้าหม้อห้อม ร่วมสมัยและเพื่ออนุรักษ์สืบทอด ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าหม้อห้อมให้มีความร่วมสมัยขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาหม้อห้อมให้อยู่กับชุมชน เผยแพร่ในระดับประเทศและสากลต่อไป
  • รายการ
    การให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับพฤติกรรมการชมภาพยนตร์ของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ชาญวิทย พรหมพิทักษ์
    การวิจัยเรื่อง “การให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับพฤติกรรมการชม ภาพยนตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้บริการการชมภาพยนตร์ออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ 2) เพื่อศึกษาว่า Digital Disruption มีผลต่อพฤติกรรมการชมภาพยนตร์ของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และ 3) เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการชมภาพยนตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  • รายการ
    พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กของวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ศศิภัทร อัมพวรรณ
    การศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กของวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล” ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงสารวจ มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก 2.) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก จาแนกตามเพศ 3.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก จาแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จานวน 420 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา จากค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไคสแควร์ ค่าสถิติ t-test และวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
  • รายการ
    กลวิธีการเล่าเรื่องและการสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละครในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น
    (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555) นับทอง ทองใบ
    งานวิจัยนีมี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่องของการ์ตูนญี่ปุ่นและการ สร้างบุคลิกลักษณะของตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีศึกษาเนือหา หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย 6 เรื่อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้าน การเล่าเรื่อง การสร้างคาแร็คเตอร์การ์ตูน และนักวิชาการเกี่ยวกับการ์ตูน 12 คน โดยใช้แนวคิด เกี่ยวกับการ์ตูน การเล่าเรื่อง การสร้างตัวละคร รูปลักษณ์นิยม สุนทรียศาสตร์ และแนวคิดสังคม วัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นกรอบการวิจัย
  • รายการ
    การศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เรื่อง“สตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทย” พ.ศ. 2536 - 2552
    (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2554) เอกธิดา เสริมทอง
    การศึกษาเรื่อง “สถานภาพองค์ความรู้เรื่องสตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทยพ.ศ. 2536 – 2552” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เรื่องสตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทยตามทฤษฎีองค์ประกอบของการสื่อสารของ David K. Berlo และเพื่อเปรียบเทียบงานศึกษาสถานภาพองค์ความรู้เรื่องสตรีกับสื่อมวลชนในประเทศไทยในยุคแรก(พ.ศ. 2520-2535) เพื่อให้เห็นทิศทางการศึกษาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยกำหนดขอบเขตด้านระยะเวลาในการรวบรวมผลงานศึกษาที่เป็นวิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของนิสิต นักศึกษา อาจารย์ หรือนักวิจัยทั่วไป ทั้งจากสถาบันการศึกษา หน่วยงาน และองค์กร ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระหว่างพ.ศ. 2536 – 2552 และในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้บทบาทในทุกมิติของสตรีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ทั้งในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อมวลชน เนื้อหาสารที่เกี่ยวข้องกับสตรี ช่องทางการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับสตรี และสตรีในฐานะผู้รับสาร ตามทฤษฎีองค์ประกอบของการสื่อสารของ David K. Berlo
  • รายการ
    การรับรู้และการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) กับยุทธศาสตร์โอทอป เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558
    (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556) วรรณี งามขจรกุลกิจ
    การวิจัยเรื่องการรับรู้และการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น(OTOP) กับยุทธศาสตร์โอทอป เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ และสื่อในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ AEC นโยบายด้านยุทธศาสตร์โอทอปกับความพร้อมด้านศักยภาพและความต้องการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ OTOP เพื่อการเข้าสู่การค้าในเวที AEC จะเป็นไปในลักษณะใด การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสารวจด้วยแบบสอบถามกับผู้ประกอบการในงาน “OTOP CITY 2012 มหกรรมภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน 1 ทศวรรษ 1 ตาบล 1 ผลิตภัณฑ์ไทย”
  • รายการ
    ศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการสายสื่อสารมวลชนที่มีต่อบัณฑิตนิเทศศาสตร์
    (2555-11-19T02:11:54Z) เอกณรงค์ วรสีหะ
    การศึกษาเรื่อง “ความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการสายงานสื่อสารมวลชนที่มีต่อบัณฑิตนิเทศศาสตร์”มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้ประกอบการทางด้านสายงานนิเทศศสสตร์ที่มีต่อบัณฑิตนิเทศศาสตร์ 2.เพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการ กับ ความคาดหวัง ของผู้ประกอบการทางสายงานนิเทศาสตร์ระหว่างสายงานวิทยุโทรทัศน์ สายงานวิทยุกระจายเสียง สายงานสื่อสิ่งพิมพ์ สายงานการโฆษณา สายงานการประชาสัมพันธ์ สายงาน lntemet และนักวิชาการ....