LIA-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
  • รายการ
    การใช้การสอนแบบบูรณาการและการสอนร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปี ที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-11-29) ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์; วิลาสินี ดาราฉาย; สุทธิชา เพชรวีระ
    งานวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้การสอนแบบบูรณาการและการสอน ร่วมกัน ที่มีต่อความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักศึกษา และ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อรูปแบบการสอนดังกล่าว กลุ่มตัวอยางที่นํามาใช้ในการวิจัยนี้ คือนักศึกษาชั้นปี ที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม จํานวน 157 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอยางแบบเจาะจง โดยเป็นผู้เข้าร่วมในการศึกษากึ่งทดลองในภาคการศึกษา 2/2563 เป็ นเวลา 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริ มาณด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนาได้จากแบบทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อวัดความสามารถทางด้านการสื่อสาร เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสอบถามปลายเปิ ด แสดงความคิดเห็นของนักศึกษาใน 3 ด้าน คือ ด้านผู้สอน ด้านการสอน และด้านทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียน นอกจากนี้ยังได้มีการวิเคราะห์และ อภิปรายการสอนแบบบูรณาการและการสอนร่วมกน จากการให้นักศึกษาบันทึกคลิปวิดีโอเป็นกลุ่มจากข้อคําถามปลายเปิด ผลการวิจัย พบว่านักศึกษามีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเพิ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคิดเห็นว่าได้พัฒนาทักษะการพูด คําศัพท์อย่างมาก การทํางานเป็นทีม และที่สําคัญคือนักศึกษารู้สึก พึงพอใจจากการที่ทีมอาจารย์ผู้สอนให้การดูแล ช่วยเหลือ ให้คําแนะนํา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยให้นักศึกษามีแรงกระตุ้น มีกำลังใจ และความกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมมากขึ้น วิจัยในครั้งนี้เสนอว่าควรจะมีการทําวิจัยเปรียบเทียบระหว่างการสอนแบบบูรณาการและการสอนนร่วมกันกับการสอนแบบปกติ เพื่อจะได้ทราบข้อดีและข้อเสียขอการสอนในแต่ละรูปแบบ
  • รายการ
    การสังเคราะห์รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ของศูนย์พัฒนาเด็ก สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถานศึกษาอุดมศึกษา
    (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย, 2563-08-13) สุบิน ยุระรัช; อรรณพ จีนะวัฒน์; วราภรณ์ ไทยมา; เกรียงไกร สัจจหฤทัย; ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์
    การวิจัยเรื่องนี้ออกแบบโดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อสังเคราะห์ผลการประเมินและความเห็นของผู้ประเมินเกี่ยวกับจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะในการพัฒนาจากรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ และ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้แทนสถานศึกษา จำนวน 123 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่าง คือ (1) รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ จำนวน 123 ฉบับ และ (2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้แทนสถานศึกษา จำนวน 12 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยมี 5 ฉบับ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมิน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการเก็บข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ศูนย์พัฒนาเด็ก มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดี สถานศึกษาขั้นพื้นฐานผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากทั้งในระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก สถานศึกษาอุดมศึกษา ในแต่ละประเด็นพิจารณามีผลประเมินตั้งแต่ระดับปรับปรุง พอใช้ ดี และดีมาก แต่ไม่มีระดับดีเยี่ยม ส่วนความคิดเห็นของผู้ประเมินสังเคราะห์ใน 3 ประเด็น คือ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา และข้อเสนอแนะในการพัฒนา (2) คุณภาพของรายงานการประเมินอยู่ในระดับได้มาตรฐานในทุกประเภทของสถานศึกษา ยกเว้นระดับอุดมศึกษาด้านความเป็นไปได้ผลการประเมินอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ This research was designed by using a mixed-methods research methodology. Its two main objectives were (1) to synthesize the results of a fourth round External Quality Assessment (EQA) and the assessors’ opinion regarding the strengths, the points that should be developed and recommendations for development, and (2) to evaluate the quality of the EQA reports. For quantitative method, the population was 123 representatives of the educational institutions. For qualitative method, the sample comprised (1) 123 EQA reports, and (2) key informants divided into two groups; 12 representatives of the educational institutions, and five experts. Five research instruments were applied. Quantitative data were collected by using a questionnaire and an assessment form and qualitative data were collected by using a document synthesis, interview, and site visit. For the quantitative data, descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean, and standard deviation were used. For the qualitative data, content analysis was used. The research findings were as follows: (1) child development centers have an overall assessment result of a good level, basic education institutions have the overall assessment results of a very good level, both in early childhood education and basic education, and the results of each consideration issue for higher education institutions are at the level of improvement, fair, good and very good, but excluding excellent. As for the opinions of the assessors, they were synthesized as 3 points comprising the strengths, the points that should be developed and recommendations for development, and (2) the quality of the EQA reports is standardized in all types of educational institutions except for the higher education, the assessment results of feasibility are at the pass level.
  • รายการ
    การแปลในยุคใหม่กับการปรับตัวของผู้เรียน ผู้สอน และนักแปล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12-20) บุญเลิศ วงศ์พรม; ถาวร ทิศทองคำ
    เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่เว้นแม้แต่วงการแปลที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์มากขึ้น เช่น การนำเอาอุปกรณ์ ซอฟแวร์ต่างๆ อย่างกูเกิ้ล ทรานสเลท (Google Translate) มาใช้ในการแปลภาษา แม้ว่าศักยภาพเบื้องต้นของการแปลโดยการใช้กูเกิ้ล ทรานสเลทจะสามารถแปลได้ในระดับคำ วลี และข้อความเป็นภาษาต่างๆได้มากกว่า 100 ภาษา แต่ผลที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปลประโยคความซ้อน อย่างไรก็ตาม หากดูภาพรวมโดยอ่านแบบสรุปความ ถือว่าผลการแปลอยู่ในระดับพอใช้ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อไป ในอนาคตกูเกิ้ล ทรานสเลทจะเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักแปล การใช้กูเกิ้ล ทรานสเลทเป็นเครื่องมือในการสอนแปล พบว่า ผู้เรียนใช้แปลในระดับประโยค และค่อยขัดเกลาสำนวนภาษาให้เข้ากับเนื้อหา จากนั้น ผู้สอนค่อยชี้ให้เห็นถึงการแปลที่ถูก-ผิด แปลได้ แปลดี และการแก้ไขให้ถูกต้องตามภาษาต้นฉบับ ซึ่งนับว่ากูเกิ้ล ทรานสเลท เป็นเครื่องมือในการสอนแปลที่มีประสิทธิภาพมาก บทความนี้ นำเสนอเกี่ยวกับการแปลในยุคใหม่ที่ผู้เรียน ผู้สอนและนักแปลต้องปรับตัวโดยเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง ความหมายและรูปแบบของการแปล พัฒนาการของการนำเอาซอฟแวร์เพื่อช่วยในการสอนแปล แนวทางการปรับรูปแบบการแปลให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป กูเกิ้ล ทรานสเลทและผลสัมฤทธิ์ของการประยุกต์ใช้ในการสอนแปล บทสรุป และข้อเสนอแนะ