ACC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 9 ของ 9
  • รายการ
    จรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
    (สำนักข่าวบางกอกทูเดย์, 2564-08-07) รองเอก วรรณพฤกษ์
    เนื่องจากวิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องข้อมูลทางการเงินของกิจการ นักบัญชีจะเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกรายการ สรุปข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของรายงานทางการเงินรวมไปถึงงานตรวจสอบและแสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงิน ผู้ใช้ข้อมูลมีหลากหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกองค์กรเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชีบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
  • รายการ
    แนวทางการจัดการความรู้
    (2562-05-01) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    -
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับดัชนีความเสี่ยง ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่ 9, 2561-10-18) วารี อินโต พรรณทิพย์ อย่างกลั่น และ วัชธนพงศ์ ยอดราช
    การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับดัชนีความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับดัชนีความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินประจำปี พ.ศ. 2555-2559 จากธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 11 ธนาคาร ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้กู้ยืมอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม อัตรากำไรสุทธิ อัตราการหมุนของสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น และดัชนีความเสี่ยงของธนาคาร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้กู้ยืม อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม อัตรากำไรสุทธิ อัตราการหมุนของสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กับดัชนีความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างงบกระแสเงินสดกับราคามูลค่าหลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 4 และ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1, 2562-06-27) วิรันดา อิสมาแอล พรรณทิพย์ อย่างกลั่น
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างงบกระแสเงินสดกับราคามูลค่าหลักทรัพย์ของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินเป็นตัวแปรอิสระ และราคามูลค่าหลักทรัพย์เป็น ตัวแปรตาม โดยทำการเก็บข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวน 41 บริษัท ในฐานข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET-SMART) ในช่วงปี พ.ศ.2556-2560 มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) เพื่อวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคามูลค่าหลักทรัพย์ ส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคามูลค่าหลักทรัพย์ แสดงให้เห็นว่าถ้ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานและกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนมีค่าเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ราคามูลค่าหลักทรัพย์สูงขึ้นไปด้วย แต่ถ้ากระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินสูงขึ้นจะส่งผลให้ราคามูลค่าหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยลดลง
  • รายการ
    หมายเหตุประกอบงบการเงินประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-09-24) รองเอก วรรณพฤกษ์
    มาตรฐานการบัญชีฉบบัที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ระบุว่างบการเงินที่สมบูรณ์ประกอบดว้ย 1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด 2. งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับงวด 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสำหรับงวด 4. งบกระแสเงินสดสำหรับงวด 5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6. ข้อมูลเปรียบเทียบของงวดก่อน 7. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดก่อน ( หากกิจการมีการนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง การปรับรายการย้อนหลังในงบการเงินหรือเมื่อกิจการมีการจัดประเภทรายการใหม่ในงบการเงิน) ผู้ใช้งบการเงินอาจสงสัยว่าในหมายเหตุประกอบงบการเงินประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง และจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินอย่างไร
  • รายการ
    ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้ ในสถาบันการศึกษา : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559-05) วิยะดา ศิริมาณนท์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารการศึกษา และพัฒนาความรู้ ซึ่งการประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการความรู้จะเป็นกลไกที่จะส่งผลให้สามารถทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ได้ อย่างไรก็ดี
  • รายการ
    ประโยชน์ของงบการเงิน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-10-08) รองเอก วรรณพฤกษ์
    ผลประกอบการจากการดำเนินธุรกิจมีผู้ให้ความสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ งบการเงินถือเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นจากผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับงวดบัญชี ผู้ประกอบการมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำงบการเงินที่สะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ
  • รายการ
    ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้ ในสถาบันการศึกษา : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559-08) วิยะดา ศิริมาณนท์
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค การจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารการศึกษา และพัฒนาความรู้ ซึ่งการประยุกต์ใช้แนวทางการจัดการความรู้จะเป็นกลไกที่จะส่งผลให้สามารถทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ได้ อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมากระบวนการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษา พบกับอุปสรรค และมีการพัฒนาที่ไม่ก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัถตุประสงค์ ที่ศึกษาหาปัจจัยที่เป็นตัวสนับสนุนการจัดการการศึกษาในสถาบันการศึกษาโดยใช้มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นกรณีศึกษา โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ
  • รายการ
    ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของบริษัทต่อการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการศึกษาเฉพาะกลุ่มธุรกิจหมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารกับหมวดอุตสาหกรรม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) สุกานดา ศรีบัวขาว
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปของบริษัทต่อการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยศึกษาเฉพาะกลุ่มธุรกิจหมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารกับหมวดอุตสาหกรรม ประชากร และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการศึกษาเฉพาะกลุ่มธุรกิจหมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารกับหมวดอุตสาหกรรม รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2558 จำนวน 128 บริษัท