ผลงานวิจัย

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
  • รายการ
    A New Earthquake Resistant Design Standard for Buildings in Thailand
    (2561-11-22) Nakhorn Poovarodom; Pennung Warnitchai; Teraphan Ornthammarath; Sutat Leelataviwat; Phaiboon Panyakapo; Amorn Pimanmas; Chatpan Chintanapakdee; Panitan Lukkunaprasit
    The first seismic regulation in Thailand was issued in 1997 and followed by the design standard which has been published since 2009. Recent understandings of regional seismic hazard and new findings from researches have identified some key amendments for the standard. This paper presents major revisions of the 2018 standard as following contents; updated probabilistic seismic hazard assessments, new design spectral acceleration for Bangkok and vicinity area considering deep basin effects, seismic detailing requirements for concrete moment frames, recommendations for RC frames with masonry infill walls, seismic load for foundation design, revision of seismic detailing requirements, modification of response spectrum analysis procedure and miscellaneous amendments.
  • รายการ
    การวิเคราะห์กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างที่มีผนังก่ออิฐแบบมีช่องเปิดบางส่วนเสริมกำลังด้วยเฟอร์โรซีเมนต์และตะแกรงเหล็กฉีก
    (2561) ศักดา ชมภูยันต์; ไพบูลย์ ปัญญาคะโป
    บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงอาคารเรียนที่มีการก่อผนังเพียงบางส่วน ซึ่งมีการติดตั้งหน้าต่างขนาดกว้าง และมีการเสริมกำลังเสา คานและผนังก่ออิฐด้วยเฟอร์โรซีเมนต์เสริมตะแกรงเหล็กฉีก โดยเสนอแบบจำลองค้ำยันเทียบเท่าเพื่อการคำนวณกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงอาคารที่มีผนังก่ออิฐแบบมีช่องเปิดบางส่วน โครงสร้างอาคารตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์จำลองจากโครงอาคารชั้นล่างเพียงช่วงเดียว ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปของอาคารเรียนตามแบบมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการขนาดความสูง 3 ชั้น และวิเคราะห์ด้วยวิธีการผลักอาคารแบบวัฏจักร ด้วยรูปแบบการเคลื่อนที่เช่นเดียวกับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยศึกษาขนาดของช่องเปิดร้อยละ40 ของพื้นที่ผนังก่ออิฐ ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่ากำลังต้านทาน ค่าความเหนียว และค่าสติฟเนสของโครงสร้างเสริมกำลังเทียบกับโครงสร้างเดิมมีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 47.37%,31.51% และ 103.61% ตามลำดับโครงอาคารผนังก่ออิฐบางส่วนที่มีการเสริมกำลัง มีกำลังต้านทานแรงกระทำด้านข้างใกล้เคียงกับแบบจำลองที่นำเสนอ นอกจากนี้ ยังพบว่า ผนังส่วนบนมีค่าแรงต้านทานสูงกว่าผนังส่วนล่าง เนื่องจากแรงกระทำทางด้านข้างมีการถ่ายแรงเข้าสู่ผนังส่วนบนมากกว่าผนังส่วนล่าง การวิบัติของแผ่นผนังส่วนบนจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าแผ่นผนังส่วนล่าง
  • รายการ
    ผลกระทบที่เกิดจากแรงแผ่นดินไหวและแรงลมต่อแผ่นพื้นไร้คาน คอนกรีตอัดแรงในประเทศไทย
    (2555-08-16T04:43:10Z) ฉัตร สุจินดา
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทดลองวิเคราะห์และออกแบบระบบโครงสร้างแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง-เสา-กำแพงรับแรงเฉือน เพื่อใช้รับแรงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง แรงลม (มยผ. 1311-50) และแรงแผ่นดินไหว (มยผ. 1302-52) โดยไม่ใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นคานเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าและสเปคตรัมการตอบสนอง และเปรียบเทียบผลของการวิเคราะห์ออกแบบโดยเน้นเฉพาะผลกระทบของแรงด้านข้าง ที่มีต่อปริมาณเหล็กเสริมข้ออ้อยในส่วนของแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง จากการศึกษาอาคารแปลนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีจำนวน 6 ช่วงสแปนทั้งสองทิศทาง มี ความสูง 7,14, 21 และ 28 ชั้นและมีความหนาของแผ่นพื้นคงที่พบว่าอาคารสูง 21 และ 28 ชั้นต้องใช้เหล็กเสริมปริมาณมากมายจนไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ อัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณาแรงลมตาม มยผ. 1311-50 และแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียวคือ 1.02, 1.72 และ 4.55 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ อัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณาทั้งแรงลมตาม มยผ. 1311-50, แรงแผ่นดินไหวตาม มยผ. 1302-52 ที่วิเคราะห์ด้วยวิธี แรงสถิตเทียบและแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว 2.65, 48.30 และ 140.00 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ และสุดท้ายปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณาทั้งแรงลมตาม มยผ. 1311-50 และแรงแผ่นดินไหวตาม มยผ. 1302-52 ที่วิเคราะห์ด้วยวิธีสเปคตรัม การตอบสนองและแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว 2.01, 30.27 และ 71.76 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ